การพัฒนาทักษะการแต่งคำประพันธ์ประเภทโคลงสี่สุภาพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้รูปแบบ 4MAT ร่วมกับ STAD

ผู้แต่ง

  • ธีรพงษ์ มั่นศรี สาขาภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

การพัฒนาทักษะ, การแต่งคำประพันธ์, โคลงสี่สุภาพ, การจัดการเรียนรู้, รูปแบบ 4MAT, การจัดการเรียนรู้รูปแบบ STAD

บทคัดย่อ

             การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1. เปรียบเทียบทักษะการแต่งคำประพันธ์ประเภทโคลงสี่สุภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้รูปแบบ 4MAT ร่วมกับ STAD 2. เปรียบเทียบทักษะการแต่งคำประพันธ์ประเภทโคลงสี่สุภาพด้วยการจัดการเรียนรู้รูปแบบ 4MAT ร่วมกับ STAD กับเกณฑ์ร้อยละ 70 3. ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่องการแต่งคำประพันธ์ประเภทโคลงสี่สุภาพด้วยการจัดการเรียนรู้รูปแบบ 4MAT ร่วมกับ STAD กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านวังศาล จำนวน 12 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การแต่งคำประพันธ์ประเภทโคลงสี่สุภาพด้วยการจัดการเรียนรู้รูปแบบ 4MAT ร่วมกับ STAD 2) แบบทดสอบวัดทักษะการแต่งคำประพันธ์ประเภทโคลงสี่สุภาพ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบ 4MAT ร่วมกับ STAD

             ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การแต่งคำประพันธ์ประเภทโคลงสี่สุภาพด้วยการจัดการเรียนรู้รูปแบบ 4MAT ร่วมกับ STAD มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) การทดสอบหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 23.08 คิดเป็นร้อยละ 76.93 และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนมีคะแนนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การแต่งคำประพันธ์ประเภทโคลงสี่สุภาพด้วยการจัดการเรียนรู้รูปแบบ 4MAT ร่วมกับ STAD พบว่า ภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.63 S.D. = 0.67)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กัลยา หวังปัญญา. (2551). การพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปวิชาภาษาไทย เรื่องโคลงสี่สุภาพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์ กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการมัธยมศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.

กิริยา ปี่ทอง. (2552). การเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านและความรับผิดชอบในการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนรู้แบบร่วมมือตามวิธี STAD กับที่เรียนรู้แบบ 4MAT (วิทยานิพนธ์ปริญญาการครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการเรียนรู้). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. พระนครศรีอยุธยา.

คมคาย ศุขศิริ. (2553). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการแต่งบทร้อยกรองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างกลุ่มที่จัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้กับแบบผังกราฟิก (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการเรียนรู้). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. พระนครศรีอยุธยา.

นันทนา ไชยแสง. (2553). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบ 4MAT กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การแต่งกลอนสุภาพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.

นิศรา วงษ์สุบรรณ์ (2553). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการแต่งร้อยกรองประเภทโคลงสี่สุภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้รูปแบบ 4MAT กับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบปกติ (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนภาษาไทย). มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2566). ระบบประกาศและรายงานผล. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). สืบค้น 21 มีนาคม 2567, จาก http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/MainSch/MainSch.aspx?mi=1

สุทิน สุขเจริญ. (2554). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คำประพันธ์ร้อยกรองประเภทกาพย์ วิชาภาษาไทยพื้นฐาน สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. สารคาม.

สุพาพร แซ่ฮึง, วรรณา บัวเกิด และศุภวรรณ์ เล็กวิไล. (2562). ผลการใช้การจัดการเรียนรู้ 4 MAT เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสร้างสรรค์และเจตคติต่อการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กรุงเทพมหานคร. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 12(1), 178 – 188.

สุรวุฒิ พันทวีศักดิ์. (2561). การพัฒนาทักษะการแต่งคำประพันธ์ประเภทฉันท์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้รูปแบบ 4MAT ร่วมกับแบบฝึก (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนภาษาไทย). มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ.

หกพจน์รัตณ์ เพ็งคำ และดุจเดือน ไชยพิชิต. (2564). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกดด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับผังมโนทัศน์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. Journal of RoiKaensarn Academi มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 7(3), 88 – 107.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-12