สวัสดีค่ะท่านผู้อ่าน

          วารสาร HR Intelligence ฉบับนี้เป็นวารสารปีที่ 14 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2562)  จัดทำขึ้นเพื่อเป็นเวทีเปิดทางวิชาการให้ผู้สนใจทั้งผู้ที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ นักบริหารที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับทรัพยากรมนุษย์ในองค์การและภาคส่วนต่าง ๆ ได้เผยแพร่ความคิด แง่มุมและความรู้ทางวิชาการ งานวิจัยและผลงานสร้างสรรค์อันเป็นประโยชน์  ในเล่มจะประกอบด้วยคอลัมน์ และบทความวิจัยด้านทรัพยากรมนุษย์ ในมิติต่าง ๆ ที่หลากหลาย ภายใต้การการันตีคุณภาพของการเป็นวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI  กลุ่มที่ 1   

          ในฉบับนี้มีงานวิจัยด้านทรัพยากรมนุษย์ 4 เรื่อง งานวิจัยเรื่องแรกคือ การผนึกแรงจูงใจภายในและภายนอกเพื่อส่งเสริมความสำเร็จโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การวิจัยด้วยกรณีศึกษาบริษัทที่มุ่งเน้นเทคโนโลยี ใช้พื้นฐานทฤษฎีการผนึกแรงจูงใจของ Amabile (1993) เพื่ออธิบายบทบาทการผนึกแรงจูงใจภายในและภายนอกของทีมในแต่ละช่วงจนโครงประสบผลสำเร็จ งานวิจัยเรื่องที่สอง แนวโน้มในการพัฒนาระบบนักบริหารระดับสูงในภาครัฐของไทยในอีก 10 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2561- 2570) โดยใช้เทคนิคการวิจัย Ethnographic Delphi Future Research งานวิจัยเรื่องที่สามคือ ความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางจิตวิทยา ความพึงพอใจในการทำงาน กับผลการปฏิบัติงาน โดยมีความผูกพันต่อองค์การเป็นตัวแปรกำกับ งานวิจัยเรื่องสุดท้ายคือ จิตวิญญาณในสถานที่ทำงาน สติ ความยึดมั่นผูกพันในงาน และสมรรถนะหลักของผู้บริหารระดับต้น ในกลุ่มธุรกิจโทรคมนาคมแห่งหนึ่ง

          นอกจากนี้ยังมี บทความวิชาการ 3 เรื่อง เรื่องแรกคือ การประยุกต์ใช้การออกแบบนวัตกรรมด้วยกระดาษแผ่นเดียวสำหรับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์: คืออะไร และ ใช้อย่างไร? เครื่องมือในการออกแบบนวัตกรรมด้วยกระดาษแผ่นเดียว (Lean Innovation Canvas)  มาใช้ในการบริหารด้านต่าง ๆ ในองค์การและบริบทในประเทศไทย เรื่องที่สองคือ การวิจัยสถาบัน: เครื่องมือในการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์การ เรื่องสุดท้ายคือ 20 ปี ของงานที่มีคุณค่า และการอภิบาลแรงงานในห่วงโซ่อุปทานโลก

          ทางวารสารขอขอบคุณผู้ส่งบทความทุกท่านและยินดีเป็นอย่างยิ่งหากมีผู้สนใจเขียนและส่งบทความด้านทรัพยากรมนุษย์ในแง่มุมที่แตกต่างออกไป  อันเป็นการสะท้อนภาพการพัฒนาองค์ความรู้และแนวปฏิบัติด้านทรัพยากรมนุษย์ในภาคส่วนและองค์การต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาวิจัยในระดับมหภาค (Macro) หรือจุลภาค (Micro) ทั้งนี้การศึกษามิได้จำกัดสาขาวิชา แต่เป็นการเปิดกว้างในลักษณะสหวิทยาการก็จะช่วยทำให้วงการด้านทรัพยากรมนุษย์พัฒนาไปควบคู่กับศาสตร์อื่นๆ ซึ่งจะทำให้เกิดนวัตกรรมและแนวคิดใหม่ๆ ที่จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้      

          ในท้ายที่สุดนี้ กองบรรณาธิการ หวังว่าวารสารฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านและหากมีข้อเสนอแนะใดในการปรับปรุงให้วารสารมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ทางกองบรรณาธิการขอน้อมรับไว้ด้วยความยินดียิ่ง

ผศ.ดร.แก้วขวัญ ตั้งติพงศ์กูล

บรรณาธิการ

เผยแพร่แล้ว: 2019-10-31

การวิจัยสถาบัน: เครื่องมือในการปรับปรุงประสิทธิภาพองค์การ

จำเนียร จวงตระกูล, ชัชพล กุลโพธิสุวรรณ, อังคณา กันธิยะ, แสวง ครูบา, วิรุฬห์ ถูกจิตต์, รุจน์ อัจฉริยาภรณ์

100-121