ความเป็นมาของวารสาร

            ด้วยสถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นสถาบันวิจัย ฝึกอบรมและให้บริการวิชาการ เพื่อตอบสนองวิสัยทัศน์และพันธกิจของสถาบันฯ กิจกรรมบริการวิชาการแก่สังคมเป็นกิจกรรมที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่สถาบันฯ ได้ดำเนินการเป็นประจำทุกๆ ปี ขณะนี้สถาบันฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า การจัดทำวารสารทางวิชาการ เป็นแหล่งรวบรวมผลงานทางวิชาการที่สำคัญของสถาบันฯ เนื่องจากเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ความรู้ ความคิดที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้า วิจัยตลอดจนความเคลื่อนไหวในแง่มุมต่างๆ ในด้านทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้เป็นหนังสือวิชาการและเปิดโอกาสให้ นิสิต นักศึกษา นักวิชาการ รวมทั้งนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ ตลอดจนผู้สนใจทั่วไปทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่งบทความวิชาการและบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวงกว้าง ทั้งเป็นการส่งเสริมและพัฒนาความรู้ทางวิชาการในสาขาการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตลอดจนยกระดับให้เป็นวารสารระดับชาติ 
          สถาบันฯ จึงได้จัดทำโครงการ “โครงการจัดทำวารสารวิชาการของสถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ (HR intelligence)” โดยได้จัดรวบรวมผลงานทางวิชาการ บทความ และบทความจากงานวิจัย ในประเด็นต่างๆ ที่น่าสนใจและ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทั้งนี้ยังเป็นการพัฒนาและสร้างเสริมศักยภาพในเชิงวิชาการด้านการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไป

วัตถุประสงค์

          1 เพื่อเป็นสื่อกลางสำหรับเผยแพร่ผลงานและบทความทางวิชาการให้แก่นักวิจัยของสถาบันฯ และนักวิชาการ นิสิตนักศึกษา ตลอดจนผู้สนใจทั่วไปได้เผยแพร่ผลงานวิชาการ
          2 เพื่อประชาสัมพันธ์ผลงานวิชาการของสถาบันฯ 

ชื่อวารสาร : Journal of HR intelligence : HRi

 เลขมาตรฐานสาขาประจำวารสาร (International Standard Serial Number – ISSN)  คือ 2673-057X

แจ้งประชาสัมพันธ์

2019-05-24

วารสาร HR intelligence ขอแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูลวารสารเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร ISSN

หมายเลขเดิม คือ ISSN 1905-5986 

เปลี่ยนหมายเลขใหม่ คือ ISSN 2673-057X

ตั้งแต่วารสารปีที่ 14 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป

ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 (2020): (กรกฎาคม - ธันวาคม 2563)

สวัสดีท่านผู้อ่านและผู้ติดตามวารสาร HR Intelligence

 

วารสาร HR Intelligence ฉบับนี้เป็นวารสารปีที่ 15 ฉบับที่  2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2563) บทความวิจัยและบทความวิชาการด้านทรัพยากรมนุษย์ในวารสารมีความหลากหลายในเชิงของประเด็นในด้านการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ทั้งในระบบราชการและในระบบเอกชน ประกอบด้วย บทความวิจัย จำนวน 3 เรื่อง  เรื่องแรก คือ ภาวะผู้นำที่แท้จริง จิตวิญญาณในสถานที่ทำงาน การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและความยึดมั่นผูกพันของเจ้าหน้าที่ตำรวจตำแหน่งสารวัตรในสังกัดกองบัญชาการแห่งหนึ่งในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่องที่สอง คือ กระบวนการสะสมทุนเศรษฐกิจของครัวเรือนที่มีการย้ายถิ่นไปทำงานต่างประเทศจากรุ่นสู่รุ่น และเรื่องที่สาม คือ ระดับความตั้งใจลาออกของกลุ่มกำลังคนคุณภาพในระบบราชการไทย และบทความวิชาการ 1 เรื่อง คือ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ : เครื่องมือสำคัญในการพัฒนาองค์การ

 

ทั้งนี้ บทความวิจัย และบทความวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร HR Intelligence ได้ผ่านกระบวนกลั่นกรองทางวิชาการที่ได้มาตรฐาน และมีระบบการบริหารจัดการวารสารที่ออกอย่างต่อเนื่องตามเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งทางกองบรรณาธิการวารสารขอขอบคุณผู้ส่งบทความทุกท่าน และยินดีเป็นอย่างยิ่งหากมีผู้สนใจเขียนและส่งบทความด้านทรัพยากรมนุษย์ในแง่มุมที่หลากหลาย ที่เป็นการสะท้อนภาพการทำงานที่แท้จริงของงานบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรที่มีแนวปฏิบัติที่แตกต่างกัน ทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์การในลักษณะอื่น ๆ  และงานด้านทรัพยากรมนุษย์ที่มีความท้าทายจากสถานการณ์ภายนอกต่าง ๆ เช่น การเกิดการระบาดของโควิด 19 การเปลี่ยนแปลงเชิงภูมิรัฐศาสตร์อันส่งผลต่อเศรษฐกิจและการทำงาน รวมถึงการขยายพรมแดนแห่งความรู้ในการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์แบบสหวิทยาการ คือ มีความเกี่ยวข้องกับศาสตร์อื่น ๆ ทำให้เกิดนวัตกรรมเชิงกระบวนการ องค์ความรู้ใหม่ ๆ ตลอดจนแนวปฏิบัติที่เป็นต้นแบบหรือมาตรฐานด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์

 

ในท้ายที่สุดนี้ กองบรรณาธิการ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าวารสารฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน หากท่านมีข้อเสนอแนะใดในการปรับปรุงให้วารสารมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ทางกองบรรณาธิการขอน้อมรับไว้ด้วยความยินดียิ่ง

 

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศุภชัย ศรีสุชาติ

บรรณาธิการ

เผยแพร่แล้ว: 2020-12-21

การวิจัยเชิงปฏิบัติการ: เครื่องมือสำคัญในการพัฒนาองค์การ

จำเนียร จวงตระกูล, ชัชพล กุลโพธิสุวรรณ, วิบูลย์ พุทธวงศ์, ณพนัฐ กีฬาแปง, พิราวรรณ์ สำเภาลอย, พิชชาพร สุมนะ

64-88

ดูทุกฉบับ

Indexed in