ความสัมพันธ์ทางความหมายของคู่คำนาม-กริยาในภาษาไทพวน

ความสัมพันธ์ทางความหมายของคู่คำนาม-กริยาในภาษาไทพวน

ผู้แต่ง

  • อุษณา อารี สาขาภาษาตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

ความหมาย, คำนาม, คำกริยา, ภาษาไทพวน

บทคัดย่อ

             งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาคุณสมบัติร่วมของหมวดหมู่ของคำศัพท์ภาษาไทพวนที่ทำหน้าที่เป็นทั้งคำนามและคำกริยาจากพจนานุกรมภาษาไทพวน เพื่อวิเคราะห์ความเชื่อมโยงทางความหมายของคู่คำนาม-กริยา โดยใช้กรอบแนวคิดเรื่องการจัดหมวดหมู่ (categorization) ตามทฤษฎีต้นแบบ (prototype theory) ของ เอลินอร์ รอช (Rosch, 1978)

             ผลการศึกษาพบว่า คำศัพท์ที่เป็นคู่คำนาม-กริยาจากพจนานุกรมภาษาไทพวนมีจำนวนทั้งสิ้น 73 คำ แบ่งเป็นกลุ่มที่มีคุณสมบัติร่วมของหมวดหมู่ของคู่คำนาม-กริยา จำนวน 20 คำ คิดเป็นร้อยละ 27.40 และกลุ่มที่ไม่มีคุณสมบัติร่วมของหมวดหมู่ของคู่คำนาม-กริยา จำนวน 53 คำ คิดเป็นร้อยละ 72.60 โดยกลุ่มที่มีคุณสมบัติร่วมของหมวดหมู่ของคู่คำนาม-กริยานั้น สามารถนำมาวิเคราะห์ความเป็นสมาชิกของหมวดหมู่ต่าง ๆ ได้แก่ การทอผ้า การเพาะปลูก สีสันลวดลาย การขับถ่าย การรับน้ำหนัก การประกอบอาหาร ความเจ็บป่วย รอยตำหนิ การทำนา การตีเหล็ก การพูด การรักษาโรค การประกอบอาหาร วัสดุทรงกลม การดูแลต้นไม้ การรวมกลุ่ม การคัดแยก พื้นผิว การเก็บเกี่ยว

References

โกสินทร์ ปัญญาอธิสิน. (2552). คำเรียกการทำอาหารในภาษาไทยถิ่นเหนือ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

จตุพร โดมไพรวัลย์. (2555). การเปรียบเทียบระบบคำเรียกญาติในภาษาไทยและภาษาเมี่ยน (เย้า) (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

จิตรนันท์ กลิ่นน้อย. (2558). การศึกษาคำศัพท์การเตรียมอาหารตามทฤษฎีต้นแบบ. ใน พัฒน์ศิณ สำเริงรัมย์ (บ.ก.). การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “สร้างสรรค์และพัฒนา เพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน” ครั้งที่ 2 (น. 344-352). นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.

บัณศิกาญจ ตั้งภากรณ์. (2561). การประยุกต์ความรู้ทางอรรถศาสตร์ปริชานกับการสอนคำหลายความหมายในภาษาจีนสำหรับผู้เรียนชาวไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 31(1), 74-87.

พิจิตรา พาณิชย์กุล. (2547). การศึกษาชื่อและระบบการทอซิ่นมัดหมี่ดั้งเดิมของคนไทพวน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ตามแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

เพ็ญประภา สิงห์สวัสดิ์. (2561). สถานภาพการศึกษาภาษาพวน. วารสารช่อพะยอม. 29(1), 475-486.

มนสิการ เฮงสุวรรณ. (2550). คำเรียกประเภทผีของคนไทยในชุมชนวัดสวนแก้ว ต.บางเลน อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี : การศึกษาแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

ยุพิน เข็มมุกด์. (2558). พจนานุกรมภาษาไทยพวน (พิมพ์ครั้งที่ 1). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2553). พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ประยุกต์) ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

สุพัตรา จิรนันทนาภรณ์. (2536). รายงานการวิจัยเรื่องวงจรศัพท์ในวัฒนธรรมการทอผ้าของไทยพวน. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุวัฒนา เลี่ยมประวัติ. (2536). การจัดกลุ่มภาษาพวนโดยใช้เสียงวรรณยุกต์. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 15(2), 69-83.

สุวัฒนา เลี่ยมประวัติ. (2551). การศึกษาภาษาถิ่น : ภาษาตระกูลไท. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อัญชลี วงศ์วัฒนา. (2563). คลังศัพท์ : หน่วยคำ คำ และหมวดคำ. ใน เอกสารประกอบการสอนบรรยายรายวิชาวากยสัมพันธ์ รายวิชาหัวข้อคัดสรรทางวจีวิภาคและวากยสัมพันธ์. พิษณุโลก: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อัญชลี วงศ์วัฒนา, อรทัย ชินอัครพงศ์ และ อัจฉรา อึ้งตระกูล. (2560). โครงการภูมิปัญญาทางภาษาและการสืบสานภาษากลุ่มชาติพันธุ์ไทภาคเหนือตอนล่าง: กระบวนทัศน์ใหม่ในการศึกษาภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่น. (รายงานการวิจัย). พิษณุโลก: ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อัญชลี สิงห์น้อย. (2551). คำกริยาประสมในภาษาไทย: หมวดหมู่ที่ปรับเปลี่ยน ทับซ้อน และสับสน. วารสารภาษาและวัฒนธรรม. 27(2), 23-40.

อัญชลี สิงห์น้อย วงศ์วัฒนา. (2555). ชุดกริยาในภาษาไทย: กริยาเรียงหรืออื่นใด?. วารสารภาษาและวัฒนธรรม. 31(2), 35-66.

อัญชลี สิงห์น้อย วงศ์วัฒนา. (2556). หน่วยสร้างกรรมวาจกในภาษาไทย: การวิเคราะห์ในแนวไวยากรณ์หน้าที่นิยมแบบลักษณ์ภาษา. วารสารภาษาและภาษาศาสตร์. 31(2), 1-34.

อัญชลี สิงห์น้อย วงศ์วัฒนา. (2557). คำเรียกชื่อพืชแบบพื้นบ้านไทย: การศึกษาเชิงภาษาศาสตร์พฤกษศาสตร์ชาติพันธุ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัญชลี สิงห์น้อย วงศ์วัฒนา. (2559). การบ่งกลุ่มนามในภาษาไทย. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 22(2), 115-147.

อัญชลี สิงห์น้อย วงศ์วัฒนา. (2561). การประสมสร้างคำในภาษาไทใหญ่: ไวยากรณ์ การสื่อสาร และการกลายเป็นคำไวยากรณ์. ใน ชฎา คชแสงสันต์, ชิตณรงค์ ศิริสถิตย์กุล, สิริพร สมบูรณ์บูรณะ และสมรักษ์ ชัยสิงห์กานานนท์ (บ.ก.). การประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วิจัย” ครั้งที่ 10 (น. 1-12). นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-26