https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/issue/feed วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม 2024-12-28T00:00:00+07:00 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประภาส แก้วเกตุพงษ์ prapakae@kku.ac.th Open Journal Systems <p>วารสารสาร ภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม เป็นวารสารวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ส่งเสริมและเผยแพร่การศึกษาค้นคว้าและวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ซึ่งเน้นเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ ภาษา ศาสนา และวัฒธรรม และ 2) เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดทางวิชาการรวมทั้งการเผยแพร่ผลงานวิชาการแก่นักวิจัย นักวิชาการ คณาจารย์ และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ วารสารมีกำหนดออกปีละ 2 ฉบับ (ราย 6 เดือน) ตีพิมพ์ทั้งแบบรูปเล่มและแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เผยแพร่ผ่านระบบฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย (Thai Journals Online - ThaiJO)</p> <p>บทความทุกเรื่องที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้นั้นจะต้องผ่านการพิจารณาคุณภาพใน 2 ขั้นตอน กล่าวคือ ขั้นตอนแรก เป็นการพิจารณาเบื้องต้นจากบรรณาธิการ หากได้รับความเห็นชอบจากบรรณาธิการแล้ว จะส่งไปพิจารณาในขั้นตอนที่สอง<strong><u>โดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องจำนวน 3 ท่าน (ต่อ 1 บทความ)</u></strong> ทั้งนี้ ทางวารสารฯ จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์จากผู้นิพนธ์บทความซึ่งไม่สามารถเรียกเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวคืนไม่ว่ากรณีใด ๆ</p> <p>บทความที่ส่งมารับการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารภาษา ศาสนา และวัฒธรรม ต้องมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ใน<strong><u>ด้านภาษา ภาษาศาสตร์ คติชนวิทยา วรรณกรรม ปรัชญา ศาสนา วัฒนธรรม และประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง</u></strong> <strong><u>โดยเปิดรับบทความวิจัย บทความวิชาการ และบทความปริทัศน์ รวมทั้งบทวิจารณ์หนังสือ </u></strong><strong><u>(book review)</u></strong> ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ บทความต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น และผู้นิพนธ์บทความต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อขอรับการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม อย่างเคร่งครัด รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารฯ</p> <p> อนึ่ง ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความ ไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น</p> https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/276423 วรรณกรรมเชิงนิเวศในมหาชาติ ฉบับสำนวนท้องถิ่นอีสาน 2024-05-09T14:00:44+07:00 ขนิษฐา สีทาหล่อน khanitta.nine@gmail.com สุพรรษา ศรีแสง supansa.srisang2544@gmail.com ชาญยุทธ สอนจันทร์ chanyuth_s@hotmail.co.th <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีคิดเชิงนิเวศในมหาชาติ ฉบับสำนวนท้องถิ่นอีสาน โดยวิธีการดำเนินการวิจัยเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจงจากการศึกษาตัวบทเอกสารสื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือมหาชาติสำนวนอีสาน ฉบับหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์เฉลิมพระเกียรติ &nbsp;พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชในมหามงคลสมัยรัชมังคลาภิเษก พุทธศักราช 2531 มาเป็นข้อมูลในการศึกษาแบบพรรณนาวิเคราะห์</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการศึกษาพบว่า <strong>1. วิธีคิดว่าด้วยจักรวาลทัศน์เชิงนิเวศ</strong> ประกอบด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสวรรค์ และความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับนรก <strong>2. วิธีคิดว่าด้วยคติความเชื่อเชิงนิเวศ</strong> ประกอบด้วย คติความเชื่อเกี่ยวกับกรรม คติความเชื่อเกี่ยวกับ เรื่องสังสารวัฏ คติความเชื่อเกี่ยวกับการให้ทาน และคติความเชื่อเกี่ยวกับสัญญะความอุดมสมบูรณ์&nbsp; <strong>3. วิธีคิดว่าด้วยธรรมชาติเชิงนิเวศ </strong>ประกอบด้วย ธรรมชาติทางกายภาพ ธรรมชาติทางชีวภาพ</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/277595 การศึกษาการใช้ภาพพจน์ในนวนิยายจีน เรื่อง “กุหลาบแดงกับกุหลาบขาว” 2024-07-30T10:26:33+07:00 อภิญญา จอมพิจิตร chomphichit@gmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ภาพพจน์ในนวนิยายจีนเรื่อง “กุหลาบแดงกับกุหลาบขาว”(《红玫瑰与白玫瑰》)ซึ่งเป็นวรรณกรรมจีนสมัยใหม่ที่มีชื่อเสียง ประพันธ์โดย จาง อ้ายหลิง มีวิธีดำเนินการวิจัยคือการรวบรวมข้อมูลที่ปรากฏในนวนิยายจีนเรื่อง “กุหลาบแดงกับกุหลาบขาว” และวิเคราะห์ข้อมูลภายใต้กรอบแนวคิดของดวงใจ ไทยอุบุญ ที่แบ่งภาพพจน์ที่ใช้บ่อยออกเป็น 14 ชนิด จากนั้นนำเสนอผลการศึกษาวิเคราะห์ในรูปแบบการบรรยาย</p> <p> จากการศึกษาพบว่า ภาพพจน์ที่นำมาใช้ในนวนิยายจีนเรื่อง “กุหลาบแดงกับกุหลาบขาว” แบ่งเป็น 7 ชนิด ได้แก่ 1. อุปมา เป็นการเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นภาพชัดเจน 2. อุปลักษณ์ เป็นการเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นรายละเอียดหรือลักษณะเด่น 3. อติพจน์ เป็นการกล่าวเกินจริง 4. ปฏิวาทะ เป็นการนำคำที่มีความหมายขัดแย้งมาใช้ร่วมกัน 5. สัทพจน์ เป็นการเลียนเสียงที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ 6. ปฏิปุจฉา เป็นการใช้คำถามโดยไม่ได้คาดหวังคำตอบ และ 7. อุทาหรณ์ เป็นการเปรียบเทียบที่มักจะใช้คำพังเพย สุภาษิต และสำนวนในการเปรียบเทียบ</p> <p> The study found that figures of speech in the Chinese novel “Hongmeigui Yu Baimeigui” were categorized into ten types. (1) The simile was a figure of speech in which two things are compared in a way that indicates that a comparison is being made. (2) The metaphor was a comparison to reveal more detail and dominant features. (3) Hyperbole was a purposeful exaggeration. (4) An oxymoron was a combination of contradictory or incongruous words. (5) Onomatopoeia was a sound created by a living being, a non-living object. (6) A rhetorical question was a question that makes a point instead of seeking an answer. (7) Repetition was a word or phrase used multiple times in a text. (8) Comparison was a word to compare similarities and differences. (9) Meiosis was used to minimize the importance of something and (10) Analogy was a comparison by using proverbs and idioms.</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/274882 กลวิธีในการแปลตัวบทวรรณกรรมไทยเป็นภาษาจีน : กรณีศึกษา การแปลเรื่องสั้นชื่อโลกของแพรว 2024-05-17T09:17:37+07:00 อรอนงค์ อินสอาด ionano@kku.ac.th <p>งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการแปลตัวบทประเภทวรรณกรรมของไทยเป็นภาษาจีนทั้งในระดับคำ และข้อความตามหลักการและทฤษฎีการแปล จากกรณีศึกษาการแปลตัวบทวรรณกรรม ประเภทเรื่องสั้น เรื่องโลกของแพรว ผู้แต่ง สิริมา อภิจาริน ผลการวิจัยคือ 1) การแปลให้บทแปลเสมอกับต้นฉบับอย่างสมบูรณ์ 2) การแปลโดยเลือกคำที่เหมาะสมมากที่สุดจากคำแวดล้อม 3) การแปลโดยเลือกคำที่เหมาะสมที่สุดจากสถานการณ์ในตัวบท 4) การแปลแบบการปรับชนิดของคำให้สอดคล้องกับไวยากรณ์ในประโยค 5) การแปลแบบปรับโครงสร้างประโยคและไวยากรณ์ตามแบบแผนของภาษาฉบับแปล 6) การแปลขยายข้อความเพื่อความเข้าใจของผู้อ่าน 7) การแปลหดแคบข้อความเพื่อลดความซ้ำซ้อน 8) การกระชับข้อความให้หดแคบเข้าและยังมีความหมายเดิม 9) การจัดเรียงประโยคใหม่เพื่อให้ได้ความหมายครบถ้วน และถูกต้องตามระเบียบภาษาฉบับแปล</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/275442 อุปลักษณ์ผู้หญิงในตำนานสร้างโลกของกลุ่มชนชาติไทและชนชาติจ้วง 2024-05-09T11:49:55+07:00 เหอ ลี่เผิง 65810075@go.buu.ac.th เทพพร มังธาน Mungthanee@yahoo.com <p>อุปลักษณ์ผู้หญิงในตำนานสร้างโลกของกลุ่มชนชาติไทและชนชาติจ้วง เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และวิเคราะห์อุปลักษณ์ผู้หญิงในตำนานสร้างโลกของกลุ่มชนชาติไทและชนชาติจ้วงจำนวน 12 สำนวน ได้แก่ สำนวนกลุ่มชาติไทซึงประกอบด้วยไทยวน 1 สำนวน ไทยภาคอีสาน 2 สำนวน ไท สปป.ลาว 1 สำนวน ไทประเทศเมียนมา 1 สำนวน ไทใหญ่สิบสองปันนายูนนานประเทศจีน 1 สำนวน และสำนวนของชนชาติจ้วง 6 สำนวน โดยใช้ทฤษฎีสตรีนิยมนิเวศ</p> <p>ผลการศึกษาอุปลักษณ์ผู้หญิงพบว่า ตำนานสร้างโลกที่มีผู้หญิงสร้างโลกของชนชาติไทได้อุปลักษณ์ผู้หญิงทั้งหมด 7 ประการ ได้แก่ สัตว์ ภูเขา แผ่นดิน สิ่งเหนือธรรมชาติ ธาตุดิน น้ำ และแสง ตำนานสร้างโลกที่มีผู้หญิงสร้างโลกของชนชาติจ้วงได้อุปลักษณ์ผู้หญิงทั้งหมด 6 ประการ ได้แก่ ดอกไม้สีแดง มะเฟือง สิ่งเหนือธรรมชาติ ดินหรือพื้นดิน แสงพระจันทร์ และถ้ำหิน ผลการวิเคราะห์อุปลักษณ์ผู้หญิงเชิงสตรีนิยมนิเวศของชนชาติไทคือ สะท้อนผู้หญิงชนชาติไทกับธรรมชาติว่ามีความใกล้ชิดกัน และสะท้อนการแปรเปลี่ยนทางสังคมของสถานะผู้หญิง ซึ่งมีทั้งผู้หญิงที่ต่ำด้อยกว่าผู้ชาย หญิงชายเสมอภาคกัน และผู้หญิงอยู่ตำแหน่งรอง นอกจากนี้ยังสร้างภาพลักษณ์ให้หญิงชนชาติไทเป็นผู้ที่มีีความอดทน เสียสละ กล้าหาญ ฉลาดเฉลียว ผลการวิเคราะห์อุปลักษณ์ผู้หญิงเชิงสตรีนิยมนิเวศของชนชาติจ้วงคือ ผู้หญิงชนชาติจ้วงกับธรรมชาติมีความเป็นหนึ่งเดียวกัน ธรรมชาติกับมนุษย์สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และสะท้อนให้เห็นถึงสถานะผู้หญิงชนชาติจ้วงที่ผลัดเปลี่ยน ซึ่งเสื่อมถอยจากสูงส่งมาสูู่่ตำแหน่งรองของผู้ชาย แล้วกลายเป็นชายหญิงเสมอภาค และสร้างภาพลักษณ์ให้ผู้หญิงชนชาติจ้วงมีความเมตตา เสียสละ กล้าหาญ ฉลาดเฉลียว ขยันหมั่นเพียร และอ่อนโยน</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/279024 องค์ประกอบและโครงสร้างการตั้งชื่ออาหารภาษาไทยและอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมด้านอาหารของคนไทยเชื้อสายจีนฮากกา อำเภอเบตง จังหวัดยะลา 2024-07-24T15:19:05+07:00 มัสวิณี สาและ masvinee.s@gmail.com วรนาถ แซ่เซ่น masvinee.s@gmail.com อาทิตยา สมโลก masvinee.s@gmail.com กฤษดี พ่วงรอด masvinee.s@gmail.com ศุภาวิณี กิติวินิต masvinee.s@gmail.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและโครงสร้างการตั้งชื่ออาหารจีนฮากกาของคนไทยเชื้อสายจีนฮากกา อำเภอเบตง จังหวัดยะลาที่เป็นภาษาไทย 2) เพื่อสังเคราะห์อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมด้านอาหารของคนไทยเชื้อสายจีนฮากกา อำเภอเบตง จังหวัดยะลา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงเนื้อหา (content analysis)ที่ใช้การสนทนากลุ่ม และสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้กระบวนการงานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม งานวิจัยนี้ได้ดำเนินการในพื้นที่ศึกษาหลัก 2 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านจาเราะปะไต และ หมู่ที่2 บ้านบ่อน้ำร้อน ตำบลตาเนาะแมเราะ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา โดยเก็บข้อมูลจากประชากรหลักจำนวน 20 คนที่คัดเลือกมาจากกลุ่มตัวอย่างหลัก 2 กลุ่มใหญ่ คือ 1) กลุ่มตัวแทนภาคีเครือข่าย และ 2) กลุ่มตัวแทนชาวไทยเชื้อสายจีนฮากกา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบและโครงสร้างการตั้งชื่ออาหารจีนฮากกาของคนไทยเชื้อสายจีนฮากกา อำเภอเบตง จังหวัดยะลาในพื้นที่ศึกษาที่เป็นภาษาไทย พบว่ามี 6 องค์ประกอบ คือ 1ส่วนประกอบของอาหาร 2 วิธีการประกอบอาหาร 3 ลักษณะของอาหาร 4 ประเภทอาหาร 5 ชาติพันธุ์ 6 ภาชนะ และมี 27 โครงสร้าง ซึ่งโครงสร้างที่มีการใช้มากที่สุด คือ ส่วนประกอบของอาหาร + วิธีการประกอบอาหาร + ส่วนประกอบของอาหาร 2) อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมด้านอาหารของคนไทยเชื้อสายจีนฮากกา อำเภอเบตง จังหวัดยะลา สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) อัตลักษณ์ด้านอาหารท้องถิ่น พบว่า อาหารที่แสดงถึงอัตลักษณ์ความเป็นจีนฮากกาเบตง ได้แก่ ลูกชิ้นฮากกา ไก่ต้มเหล้า หมูน้ำแดง ลูกชิ้นมะละกอ เคาหยกหม่อยช้อย เต้าหู้ยัดไส้ นอกจากนี้ยังพบว่ามีการกล่าวถึงเมนูอาหารหวาน คือ เฉาก๊วย และขนมด่าง และ 2) อัตลักษณ์ด้านอาหารที่ใช้ประกอบพิธีกรรม การทำพิธีประเพณีไหว้เจ้าที่สวน การไหว้บรรพบุรุษ อัตลักษณ์ที่สำคัญด้านอาหารที่จะต้องมีในวันไหว้บรรพบุรุษทุกๆปี ต้องมีของเซ่นไหว้ คือ หมู แพะทั้งตัว ผลไม้ห้าชนิด ขนม โดยมีความเชื่อว่า พวกหมูย่างเมื่อย่างเสร็จแล้วเป็นสีทอง แทนสัญลักษณ์ของ ทอง และแพะเป็นสีขาว แทนสัญลักษณ์ของ เงินที่เอาไว้ไหว้บรรพบุรุษ ผลไม้จะ ต้องมีห้าชนิด เนื่องจากเชื่อว่าห้าจะเป็นสิริมงคล โครงการนี้ทำให้คนไทยเชื้อสายฮากกามีความภูมิใจ เห็นคุณค่า รักและหวงแหนภูมิปัญญาของตนเองและประชาชนทั่วไปมีความรู้และเข้าใจอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวไทยเชื้อสายจีนฮากกาสามารถเข้าถึงวัฒนธรรมอาหารของคนไทยเชื้อสายจีนฮากกา อำเภอเบตง จังหวัดยะลาได้มากยิ่งขึ้น</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/273121 ผี/รัฐ/ทุน: ศาสนาผีในมิติทางการเมืองไทย 2024-05-09T16:23:15+07:00 จิตติมา ชามะสนธิ์ chaiwat.m@arts.tu.ac.th ชัยวัฒน์ มีสันฐาน chaiwat.m@arts.tu.ac.th <p>บทความนี้ต้องการศึกษาศาสนาผีในมิติทางการเมืองไทย โดยมองไปที่ความสัมพันธ์ระหว่าง ผี รัฐ และทุนที่สอดประสานรวมกันเป็นเนื้อเดียวและนำสู่พฤติกรรมทางการเมืองของผู้คน โดยเริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์ที่ทางของศาสนาผีที่ไม่เคยหายไปจากรัฐไทย อันมีความเกี่ยวพันกับการเมืองมาตั้งแต่ประวัติศาสตร์ของนางนาคสู่การบวชนาค ต่อมาเมื่อศาสนาพุทธและพราหมณ์เข้ามามีอิทธิพล ผีก็ได้มีการปรับตัวจนผสานกลมกลืนไปกับศาสนาใหม่ เกิดเป็นศาสนาไทยคือ “ผี-พราหมณ์-พุทธ” ผีได้ถูกใช้ในฐานะเครื่องมือทางการเมืองในรัฐสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการอ้างความชอบธรรมด้วยพระสยามเทวาธิราชของชนชั้นปกครอง หรือการโต้กลับด้วยหมุดจากคณะราษฎรของมวลชนที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย นอกจากนี้ตัวบทความยังมุ่งศึกษาถึงศรัทธาที่ไม่เคยถูกตั้งคำถามอันนำสู่พฤติกรรมที่ช่วยหนุนนำอำนาจของชนชั้นปกครองในยุคที่ผีอยู่คู่กับทุน ปิดท้ายด้วยปรัชญาว่าด้วยเรื่องผี ๆ เพื่อตรวจสอบความคิดว่าแม้นิยามความศักดิ์สิทธิ์ของผีจะเป็นการช่วงชิงของขั้วอำนาจต่างอุดมการณ์ แต่เรื่องผี ๆ ก็ยังสำคัญต่อการศึกษาเป็นอย่างมาก เพราะผีคือสิ่งที่ขับเคลื่อนความเป็นไปทุกอย่างของสังคมทุนนิยมเจ้า และมันก็ไม่เคยว่างขาดจากเรื่องการเมือง</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม