Publication Ethics

จริยธรรมในการตีพิมพ์ผลงานวิชาการ (Publication Ethics)

บทบาทหน้าที่ของผู้นิพนธ์

          1.1) ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
          1.2) ผู้นิพนธ์ต้องรายงานขอเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูล หรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
          1.3) ผู้นิพนธ์ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่นและผลงานของตนเอง หากมีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานของตัวเอง รวมทั้งจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ
          1.4) ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าบทความไม่ได้คัดลอกผลงานผู้อื่น (plagiarism) โดยใช้โปรแกรมตรวจสอบที่เชื่อถือได้ เพื่อให้แน่ใจว่าบทความที่ส่งมายังวารสารไม่มีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น โดยต้องแนบหลักฐานการตรวจสอบความคล้ายคลึงกันของผลงานเขียนทางวิชาการที่มีค่าไม่เกินร้อยละ 20 มาพร้อมกับบทความ
          1.5) ในกรณีที่เป็นบทความวิจัย และงานวิจัยดังกล่าวเก็บข้อมูลจากบุคคลหรือกลุ่มคนเปราะบาง (เช่น ผู้ที่มีอายุต่ำว่า 18 ปีบริบูรณ์ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย ผู้ยากไร้ คนไร้บ้าน ผู้ต้องขัง เป็นต้น) ซึ่งอาจไม่สามารถตัดสินใจเข้าร่วมการวิจัยด้วยตนเองอย่างเป็นอิสระ หรืออาจถูกชักจูง โน้มน้าว หรือชี้นำเข้าร่วมการวิจัยด้วยความเกรงใจ ความบกพร่องในการรับรู้ ตลอดจนความด้อยในสถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ ผู้นิพนธ์ต้องส่งหลักฐานว่างานวิจัยดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณารับรองโดยคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มาพร้อมกับบทความ
          1.6) ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความวิจัยให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน “คำแนะนำผู้นิพนธ์”
          1.7) ผู้นิพนธ์ที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคน ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
         1.8) ผู้นิพนธ์ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการวิจัยนี้ (ถ้ามี)
         1.9) ผู้นิพนธ์ต้องตรวจสอบว่าเนื้อหาในบทความไม่ได้ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือสร้างความเสื่อมเสียให้กับบุคคล องค์กร สถาบัน ชุมชน และสังคม

 


บทบาทหน้าที่ของบรรณาธิการวารสาร

          2.1) บรรณาธิการวารสารมีหน้าที่พิจารณาคุณภาพของบทความในทุกขั้นตอนเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารตามที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องในระดับสากล
          2.2) บรรณาธิการจะไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์ และผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
          2.3) บรรณาธิการจะคัดเลือกบทความมาตีพิมพ์หลังจากผ่านกระบวนการประเมินบทความแล้ว โดยพิจารณาจากความสำคัญ ความใหม่ ความชัดเจน และความสอดคล้องของเนื้อหากับนโยบายของวารสารเป็นสำคัญ
          2.4) บรรณาธิการไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ ผู้ประเมิน และทีมผู้บริหาร
          2.5) หากตรวจพบการคัดลอกผลงานของผู้อื่น ในกระบวนการประเมินบทความ บรรณาธิการจะหยุดกระบวนการประเมิน และติดต่อผู้นิพนธ์ทันทีเพื่อขอคำชี้แจง เพื่อประกอบการ “ตอบรับ” หรือ “ปฏิเสธ” การตีพิมพ์บทความนั้น

 


บทบาทหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ

         3.1) ผู้ประเมินบทความ ต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลบางส่วนหรือทุกส่วนของบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาแก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ (confidentiality)
         3.2) หลังจากได้รับบทความจากบรรณาธิการวารสาร และผู้ประเมินบทความตระหนักว่าตนเองอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ (เช่น เป็นผู้ร่วมโครงการ หรือรู้จักผู้นิพนธ์เป็นการส่วนตัว หรือเหตุผลอื่นๆ) ทำให้ไม่สามารถให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอย่างอิสระได้ ผู้ประเมินบทความควรแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบและปฏิเสธการประเมินบทความนั้นๆ
        3.3) ผู้ประเมินบทความควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาความสำคัญของเนื้อหาในบทความที่จะมีต่อสาขาวิชานั้นๆ คุณภาพของการวิเคราะห์ และความเข้มข้นของผลงาน ไม่ควรใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความวิจัย
       3.4) หากมีส่วนใดของบทความที่มีความเหมือนหรือซ้ำซ้อนกับผลงานเรื่องอื่น ๆ ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบ