About the Journal
Focus and Scope
- ขอบเขตวารสาร
วารสารสาร ภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม เป็นวารสารวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ส่งเสริมและเผยแพร่การศึกษาค้นคว้าและวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ซึ่งเน้นเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ ภาษา ศาสนา และวัฒธรรม และ 2) เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดทางวิชาการรวมทั้งการเผยแพร่ผลงานวิชาการแก่นักวิจัย นักวิชาการ คณาจารย์ และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ วารสารมีกำหนดออกปีละ 2 ฉบับ (ราย 6 เดือน) ตีพิมพ์ทั้งแบบรูปเล่มและแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เผยแพร่ผ่านระบบฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย (Thai Journals Online - ThaiJO)
บทความทุกเรื่องที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้นั้นจะต้องผ่านการพิจารณาคุณภาพใน 2 ขั้นตอน กล่าวคือ ขั้นตอนแรก เป็นการพิจารณาเบื้องต้นจากบรรณาธิการ หากได้รับความเห็นชอบจากบรรณาธิการแล้ว จะส่งไปพิจารณาในขั้นตอนที่สองโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องจำนวน 3 ท่าน (ต่อ 1 บทความ) ทั้งนี้ ทางวารสารฯ จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์จากผู้นิพนธ์บทความซึ่งไม่สามารถเรียกเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวคืนไม่ว่ากรณีใด ๆ
บทความที่ส่งมารับการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารภาษา ศาสนา และวัฒธรรม ต้องมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในด้านภาษา ภาษาศาสตร์ คติชนวิทยา วรรณกรรม ปรัชญา ศาสนา วัฒนธรรม และประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเปิดรับบทความวิจัย และบทความวิชาการ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ บทความต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น และผู้นิพนธ์บทความต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อขอรับการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม อย่างเคร่งครัด รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารฯ
อนึ่ง ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความ ไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ประเภทบทความที่ตีพิมพ์
โดยเปิดรับบทความวิจัย และบทความวิชาการ
- หลักเกณฑ์การรับบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์
- บทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม จะต้องอยู่ในรูปแบบของบทความวิจัย และบทความวิชาการ
2. บทความต้องไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อน รวมถึงไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
- รูปแบบการพิมพ์บทความเป็น Microsoft Word (.doc, .docx เท่านั้น)
- ระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่วารสารกำหนด
1) ใช้รูปแบบ the American Psychological Association (7th edition)
2) การอ้างอิงทั้งเอกสารให้ใช้ภาษาอังกฤษ และอ้างอิงจากจากต้นฉบับ
3) การเขียนรายการอ้างอิงตามรูปแบบภาษาอังกฤษเท่านั้น ให้ผู้เขียนแปลเอกสารอ้างอิงภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษด้วยเรียงตามตัวอักษรตามหลักบรรณานุกรมปกติ และเติมคำว่า “[in Thai]”
- บทความต้องได้รับความยินยอมจากผู้นิพนธ์ทุกคน
6. บทความไม่ได้คัดลอกผลงานผู้อื่น (plagiarism) โดยใช้โปรแกรมตรวจสอบที่เชื่อถือได้ เพื่อให้แน่ใจว่าบทความที่ส่งมายังวารสารไม่มีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น โดยต้องแนบหลักฐานการตรวจสอบความคล้ายคลึงกันของผลงานเขียนทางวิชาการที่มีค่าไม่เกินร้อยละ 20 มาพร้อมกับบทความ
Peer Review Process
หลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพบทความ
- ประเภทบทความที่รับพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม ประกอบด้วย บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทความปริทัศน์ รวมทั้งบทวิจารณ์หนังสือ (book review)
- บทความทุกบทความที่จะได้รับการตีพิมพ์จะต้องได้รับการพิจารณากลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับบทความ อย่างน้อย 3 ท่าน (ต่อ 1 บทความ) โดยผู้ประเมินจะไม่ทราบว่าผู้นิพนธ์บทความเป็นผู้ใดเช่นเดียวกับผู้นิพนธ์บทความไม่ทราบว่าผู้ประเมินเป็นผู้ใด (Anonymous Reviewer/Anonymous Author)
- กองบรรณาธิการจะแจ้งผลการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ พร้อมข้อพิจารณาในการแก้ไข (ถ้ามี) ภายในระยะเวลาประมาณ 2-3 เดือน
- บทความที่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จะได้รับการพิจารณาความถูกต้องตามหลักวิชาการในขั้นตอนสุดท้ายจากกองบรรณาธิการ
5. ผู้นิพนธ์จะได้รับหนังสือตอบรับการตีพิมพ์บทความในวารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม เมื่อการตัดสินความถูกต้องตามหลักวิชาการจากกองบรรณาธิการ เป็นที่สิ้นสุด
Publication Frequency
วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม กำหนดออกวารสารปีละ 2 ฉบับ (ราย 6 เดือน) ดังนั้
ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม –มิถุนายน ของทุกปี
ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม –ธันวาคม ของทุกปี
Publication Bi-annual (January-June, July-December)
Open Access Policy
This journal provides immediate open access to its content on the principle that making research freely available to the public supports a greater global exchange of knowledge.