The Semantics Relationship of Noun and Verb Pairs in Tai Phuan

ความสัมพันธ์ทางความหมายของคู่คำนาม-กริยาในภาษาไทพวน

Authors

  • Usana Aree Eastern Languages Department, Faculty of Liberal Arts Rajamangala University of Technology Thanyaburi, Thailand

Keywords:

ความหมาย, คำนาม, คำกริยา, ภาษาไทพวน, ทฤษฎีต้นแบบ, Semantic, Noun, Verb, Tai Phuan, Prototype Theory

Abstract

          In this research, the common properties of the categories of Tai Phuan words, which are both nouns and verbs from the Tai Phuan dictionary are investigated to analyze the semantic relationship of noun-verb pairs. The concept of categorization according to the prototype theory was used.

          The research results show that the vocabulary of noun-verb pairs from Tai Phuan dictionary consists of 73 words. They were divided into 2 groups: 1) noun-verb pairs that have no semantic properties are related to each other and include a total of 47 words, accounting for 64.38%. 2) noun-verb pairs that have semantic properties are related, totaling 26 words, which corresponds to 36.62%. Divided into words with relative semantic properties, 7 words. Partially related semantic terms, 14 words. Moreover, a group of lexical pairs that have no semantic properties but are related, 5 words. It can be analyzed that there are 23 prototypical verbs and 3 prototypical nouns.

 

บทคัดย่อ

            งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาคุณสมบัติร่วมของหมวดหมู่ของคำศัพท์ภาษาไทพวนที่ทำหน้าที่เป็นทั้งคำนามและคำกริยาจากพจนานุกรมภาษาไทพวน ฉบับเฉลิมฉลอง 90 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พุทธศักราช 2557 เพื่อวิเคราะห์ความเชื่อมโยงทางความหมายของคู่คำนาม-กริยา โดยใช้กรอบแนวคิดเรื่องการจัดประเภท (categorization) ตามทฤษฎีต้นแบบ (prototype theory)

          ผลการศึกษาพบว่าคำศัพท์ที่เป็นคู่คำนาม-กริยาจากพจนานุกรมภาษาไทพวนมีจำนวนทั้งสิ้น 73 คำ พบกลุ่มคำพ้องที่ไม่ปรากฏคุณสมบัติร่วมของหมวดหมู่ระหว่างคำนามและคำกริยา จำนวน 47 คำ คิดเป็นร้อยละ 64.38 และพบกลุ่มที่ปรากฏคุณสมบัติร่วมของหมวดหมู่ระหว่างคำนามและคำกริยา จำนวน 26 คำ คิดเป็นร้อยละ 36.62 ซึ่งสามารถจำแนกได้เป็นกลุ่มคู่คำศัพท์ที่มีคุณสมบัติทางความหมายร่วมกัน จำนวน 7 คำ กลุ่มคู่คำศัพท์ที่มีคุณสมบัติทางความหมายร่วมกันบางส่วน จำนวน 14 คำ และกลุ่มคู่คำศัพท์ที่ไม่มีคุณสมบัติทางความหมายร่วมกันแต่มีความเชื่อมโยงกัน จำนวน 5 คำ โดยสามารถวิเคราะห์ได้ว่ามีคำกริยาเป็นต้นแบบ จำนวน 23 คำ และมีคำนามเป็นต้นแบบ จำนวน 3 คำ

References

โกสินทร์ ปัญญาอธิสิน. (2552). คำเรียกการทำอาหารในภาษาไทยถิ่นเหนือ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

จตุพร โดมไพรวัลย์. (2555). การเปรียบเทียบระบบคำเรียกญาติในภาษาไทยและภาษาเมี่ยน (เย้า) (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

จิตรนันท์ กลิ่นน้อย. (2558). การศึกษาคำศัพท์การเตรียมอาหารตามทฤษฎีต้นแบบ. ใน พัฒน์ศิณ สำเริงรัมย์ (บ.ก.). การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “สร้างสรรค์และพัฒนา เพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน” ครั้งที่ 2 (น. 344-352). นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.

บัณศิกาญจ ตั้งภากรณ์. (2561). การประยุกต์ความรู้ทางอรรถศาสตร์ปริชานกับการสอนคำหลายความหมายในภาษาจีนสำหรับผู้เรียนชาวไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 31(1), 74-87.

พิจิตรา พาณิชย์กุล. (2547). การศึกษาชื่อและระบบการทอซิ่นมัดหมี่ดั้งเดิมของคนไทพวน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ตามแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

เพ็ญประภา สิงห์สวัสดิ์. (2561). สถานภาพการศึกษาภาษาพวน. วารสารช่อพะยอม. 29(1), 475-486.

มนสิการ เฮงสุวรรณ. (2550). คำเรียกประเภทผีของคนไทยในชุมชนวัดสวนแก้ว ต.บางเลน อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี : การศึกษาแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

ยุพิน เข็มมุกด์. (2558). พจนานุกรมภาษาไทยพวน (พิมพ์ครั้งที่ 1). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2553). พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ประยุกต์) ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

สุพัตรา จิรนันทนาภรณ์. (2536). รายงานการวิจัยเรื่องวงจรศัพท์ในวัฒนธรรมการทอผ้าของไทยพวน. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุวัฒนา เลี่ยมประวัติ. (2536). การจัดกลุ่มภาษาพวนโดยใช้เสียงวรรณยุกต์. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 15(2), 69-83.

สุวัฒนา เลี่ยมประวัติ. (2551). การศึกษาภาษาถิ่น : ภาษาตระกูลไท. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อัญชลี วงศ์วัฒนา. (2563). คลังศัพท์ : หน่วยคำ คำ และหมวดคำ. ใน เอกสารประกอบการสอนบรรยายรายวิชาวากยสัมพันธ์ รายวิชาหัวข้อคัดสรรทางวจีวิภาคและวากยสัมพันธ์. พิษณุโลก: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อัญชลี วงศ์วัฒนา, อรทัย ชินอัครพงศ์ และ อัจฉรา อึ้งตระกูล. (2560). โครงการภูมิปัญญาทางภาษาและการสืบสานภาษากลุ่มชาติพันธุ์ไทภาคเหนือตอนล่าง: กระบวนทัศน์ใหม่ในการศึกษาภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่น. (รายงานการวิจัย). พิษณุโลก: ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อัญชลี สิงห์น้อย. (2551). คำกริยาประสมในภาษาไทย: หมวดหมู่ที่ปรับเปลี่ยน ทับซ้อน และสับสน. วารสารภาษาและวัฒนธรรม. 27(2), 23-40.

อัญชลี สิงห์น้อย วงศ์วัฒนา. (2555). ชุดกริยาในภาษาไทย: กริยาเรียงหรืออื่นใด?. วารสารภาษาและวัฒนธรรม. 31(2), 35-66.

อัญชลี สิงห์น้อย วงศ์วัฒนา. (2556). หน่วยสร้างกรรมวาจกในภาษาไทย: การวิเคราะห์ในแนวไวยากรณ์หน้าที่นิยมแบบลักษณ์ภาษา. วารสารภาษาและภาษาศาสตร์. 31(2), 1-34.

อัญชลี สิงห์น้อย วงศ์วัฒนา. (2557). คำเรียกชื่อพืชแบบพื้นบ้านไทย: การศึกษาเชิงภาษาศาสตร์พฤกษศาสตร์ชาติพันธุ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัญชลี สิงห์น้อย วงศ์วัฒนา. (2559). การบ่งกลุ่มนามในภาษาไทย. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 22(2), 115-147.

อัญชลี สิงห์น้อย วงศ์วัฒนา. (2561). การประสมสร้างคำในภาษาไทใหญ่: ไวยากรณ์ การสื่อสาร และการกลายเป็นคำไวยากรณ์. ใน ชฎา คชแสงสันต์, ชิตณรงค์ ศิริสถิตย์กุล, สิริพร สมบูรณ์บูรณะ และสมรักษ์ ชัยสิงห์กานานนท์ (บ.ก.). การประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วิจัย” ครั้งที่ 10 (น. 1-12). นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

Downloads

Published

2022-06-26

How to Cite

Aree, U. (2022). The Semantics Relationship of Noun and Verb Pairs in Tai Phuan: ความสัมพันธ์ทางความหมายของคู่คำนาม-กริยาในภาษาไทพวน. JOURNAL OF LANGUAGE, RELIGION AND CULTURE, 11(1), 50–78. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/255419

Issue

Section

บทความวิจัย