ศักยภาพของชุมชนเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดอุทัยธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจต้นทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน จังหวัดอุทัยธานี 2) เพื่อประเมินศักยภาพของชุมชนในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดอุทัยธานี 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์จังหวัดอุทัยธานี งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยการประเมินศักยภาพชุมชน และ
การสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ หน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคเอกชน รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลจากแนวคิด ทฤษฎี เอกสาร บทความวิชาการ และงานวิจัยด้านการท่องเที่ยว
ผลการวิจัยพบว่า ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
โดยภาพรวมทั้งหมด 3 แห่ง สามารถจำแนกแหล่งท่องเที่ยวตามระดับศักยภาพได้ 2 กลุ่ม ได้แก่ แหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพสูงมากมี 1 แห่ง คือ บ้านท่าโพ อำเภอหนองขาหย่าง และแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพสูง มี 2 แห่ง คือ บ้านสะนำ อำเภอบ้านไร่ และบ้านโรงน้ำแข็ง อำเภอเมือง ตามลำดับ การศึกษาครั้งนี้นำเสนอกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์รูปแบบพื้นฐานของการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ โดยพิจารณาจากจุดเด่นของแหล่งท่องเที่ยวและศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวที่จะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ รวมทั้งเครือข่ายความเชื่อมโยงของการท่องเที่ยวในพื้นที่ สามารถกำหนดเค้าโครงของกิจกรรมที่สามารถสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่แตกต่างกันได้ 3 กิจกรรม ได้แก่ 1. เรียนรู้วิถีสะแกกรัง ผ่านสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ บ้านโรงน้ำแข็ง อำเภอเมือง 2. เรียนรู้เพลงพื้นบ้าน สืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น บ้านท่าโพ อำเภอหนองขาหย่าง และ 3. เรียนรู้วิถีชีวิตชาติพันธุ์ลาวครั่งผ่านอาหารและงานฝีมือ บ้านสะนำ อำเภอบ้านไร่
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2562, 30 กันยายน). วัฒนธรรม คุณค่าสู่มูลค่า http://article.culture.go.th /index.php/template-features/13720190702061435
กุลวดี ละม้ายจีน. (2564). การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่เมืองรองชุมชนซะซอม ตำบลนาโพธิ์กลาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 12(1), 76–86. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/humanjubru/article/view/245204
ดรรชนี เอมพันธุ์, พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์, วันชัย อรุณประภารัตน์, สุชาย วรชนะนันท์, และภาสินี วรชนะนันท์. (2562). คู่มือการประเมินขีดความสามารถรองรับการท่องเที่ยวพื้นที่หมู่เกาะลันตา จังหวัดกระบี่. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.).
ธนกฤต ภัทร์ธราธร และเกรียงศักดิ์ สร้อยสุวรรณ. (2565). รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนฐานทุนทางวัฒนธรรม กรณีศึกษาไทดำ บ้านนาป่าหนาด จังหวัดเลย. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 22(3), 141-157. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/dhammathas/article/view/254963
นนทวรรณ ส่งเสริม. (2562). แนวทางการมีส่วนร่วมโดยชุมชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: พื้นที่ศึกษาในประเทศไทย. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 13(1), 1–26. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/journaldtc/article/view/241000
นุชประวีณ์ ลิขิตศรัณย์. (2562). ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดพิจิตร. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 14(1), 28-41. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/tourismtaat/article/view/175024
ปิ่นฤทัย คงทอง, กรกนก ยศเมฆ, กิ่งกมล สิขิวัฒน์, ฐิติวรรณ เมืองประเทศ, นุชนาถ ชัยสวัสดิ์, มณฑาฑิพย์ รอดจันทร์, เสาวณี ห่อช่วย, และนนทกาล ยาวาระยะ. (2566). การพัฒนาโปรแกรมและกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ บ้านห้วยทรัพย์ ตำบลลีเล็ด อำเภอพุนพิน จังหวัด
สุราษฎร์ธานี. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 10(1), 176-204. https://so05.tci-thaijo.org/ index.php/srj/article/view/250023
ภูริวัจน์ เดชอุ่ม. (2556). การพัฒนาการท่องเทียวเชิงสร้างสรรค์: กรอบแนวคิดสู่แนวทางปฏิบัติสำหรับประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 33(2), 331-366. https://so05.tci-thaijo.org/index.php /sujthai/article/view/15130
ยุทธพงษ์ ลีลากิจไพศาล, ขจีนุช เชาวนปรีชา, จิรัฐ ชวนชม, ธนัญภัสร์ ศรีเนธิยวศิน, สฤษดิ์ ศรีโยธิน, พิมพ์มาดา วิชาศิลป์, และพรเพ็ญ ไตรพงษ์. (2567). การเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรในลักษณะแหล่งเรียนรู้ในจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารศิลปการจัดการ, 8(1), 401–417. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jam/article/view/266828
รัตติยา พรมกัลป์, พระเทพปริยัติเมธี, และนัยนา เกิดวิชัย. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 21(1), 13–28. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/200146
รุ่งทิวา ท่าน้ำ และอธิป จันทร์สุริย์. (2563). แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีถิ่นบนฐานแนวคิดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก. วารสารทีทัศน์วัฒนธรรม, 19(2), 90-111. https://culture.bsru.ac.th/%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b8%97%e0%b8%b1%e0%b8%a8%e0%b8%99%e0%b9%8c-19-%e0%b8%89%e0%b8%9a%e0%b8%b1%e0%b8%9a-2/
สนธิญา สุวรรณราช, เกศณีย์ สัตตรัตนขจร, อนุรักษ์ อาทิตย์กวิน, พิรภพ จันทร์แสนตอ. (2566).
การจัดการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์เพื่อการอนุรักษ์และสืบสานวิถีชีวิตชุมชน บ้านทุ่งม่านเหนือ ตำบลบ้านเป้า อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 17(1), 32–47. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/journaldtc/article/view/267014
เสาวรจนีย์ เสาเกลียว, ศรีปริญญา ธูปกระจ่าง และเสาวภาคย์ กระจ่างยุทธ. (2565). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มเสน่ห์วิถีชุมชน จังหวัดปทุมธานี. วารสารรัชต์ภาคย์, 16(48), 263–282. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RJPJ/article/view/258107
สำนักงานจังหวัดอุทัยธานี. (2566, 19 ธันวาคม). แผนพัฒนาจังหวัดอุทัยธานี พ.ศ.2566 – 2570. https://www.uthaithani.go.th/knowlage/planUthai66-70final.pdf
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2566, 20 ธันวาคม). แผนพัฒนาสถิติระดับจังหวัดอุทัยธานี (พ.ศ.2566 – 2570). https://province.nso.go.th/uthai/images/plan-2566-2570.pdf
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564, 10 พฤศจิกายน). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ.2566-2570. https://www.nesdc.go.th/download/ Plan13/Doc/Plan13_Final.pdf
องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุทัยธานี. (2566, 9 กันยายน). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566 – 2570) ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอุทัยธานี. https://www.uthaipao.go.th/home/wp-content/uploads/2021/12/local-development-plan-2566-2570.pdf
Richards, G. (2011). Creativity and Tourism: The State of the Art. Annals of Tourism Research, 38(4), 1225-1253. https://doi.org/10.1016/j.annals.2011.07.008
Richards, G., & Raymond, C. (2000). Creative Tourism. ATLAS News, 23(8), 16-20. https://research.tilburguniversity.edu/en/publications/creative-tourism
Tan. S. K., Kung, S. F., and Luh, D. B. (2013). A Model of creative example in creative tourism. Annals of Tourism Research, 41, 153-174. https://doi.org/10.1016/j.annals.2012.12.002