การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาจีนของนักศึกษามหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะการเขียนภาษาจีนของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ได้ลงทะเบียนเรียนวิชาการภาษาจีนในชีวิตประจำวัน และ ภาษาจีนเบื้องต้น ของภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2565 เป็นนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด ได้แก่ แผนการเรียนรู้ภาษาจีน หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง คำที่ใช้ในภาษาจีน เพื่อใช้ประกอบการพัฒนาทักษะการเขียนภาษาจีนโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก และแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะการเขียนภาษาจีนของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่า t-test (Dependent) จากผลการศึกษา พบว่า ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะการเขียนภาษาจีนของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก พบว่า ผลการทดสอบก่อนเรียนนักศึกษา มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 19.48 คะแนน และหลังเรียน 26.18 คะแนน และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า นักเรียนมีพัฒนาการด้านทักษะการเขียนภาษาจีนที่ดีขึ้นเนื่องจากคะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมวิชาการ. (2548). วิธีการและเครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร:กระทรวงศึกษาธิการ.
กมล โพธิเย็น. (2564). Active Learning: การจัดการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 19(1), 11-28.
กรกนก สอนจันทร์ และ มณฑา จำปาเหลือง. (2564). การจัดการความรู้ด้านการสอนภาษาจีนในการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาจีนของนักเรียนโรงเรียนหนองรีประชานิมิต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กาญจนบุรี, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 11(3), 113-119.
กัญญา ทองแห้ว. (2564). การพัฒนาการจำอักษรจีนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการเขียนอักษรจีนโครงสร้างอักษรเดี่ยวของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีนมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. วารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 5(1), 117-126.
จุราภรณ์ ปฐมวงษ์. (2565). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดสนทนาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. Journal of Modern Learning Development, 7(4), 143-159.
ชลาลัย อานามวัฒน์. (2556). การบริหารการเรียนการสอนภาษาจีนของโรงเรียนเอกชนสอนภาษาจีน คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ณัฐวดี สิทธิรัตน์ และ จงกล แก่นเพิ่ม. (2560). การพัฒนาเลิร์นนิ่งออบเจ็กต์บนแท็บเล็ตเรื่อง คำศัพท์ ภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนชุมชนบ้านคลองเคียน. วารสาร วิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 14(1), 124-132.
ฐนัส มานุวงศ์. (2562). การจัดการเรียนการสอนเชิงรุกเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนนายร้อยตามแนวคิดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน.วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, 6(1), 232-263.
เดชดนัย จุ้ยชุม, เกษรา บ่าวแช่มช้อย และ ศิริกัญญา แก่นทอง. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องทักษะการคิดของนักศึกษาในรายวิชาทักษะการคิด (Thinking Skills) รหัสวิชา 11-024-112 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ด้วยการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning). วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(3), 47-57.
ทิพย์ฆัมพร เกษโกมล. (2554). การสร้างแบบวัดจิตลักษณะพฤติกรรมแบบมาตรประมาณค่า. วารสาร พยาบาลตำรวจ, 3(1), 1-11.
นารีนารถ กลิ่นหอม. (2561). การศึกษาการประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้แบบการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในชั้นเรียนรายวิชาภาษาจีนของโรงเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาในจังหวัดขอนแก่น. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 41(3), 91-103.
ปรียา สมพืช. (2559). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนด้วยกรณีศึกษา. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(2), 260-270.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 (14 สิงหาคม 2545). ราชกิจจานุเษกษา. เล่มที่ 116 ตอนที่ 74 ก หน้า 1-23.
ฟาตีฮะห์ อุตส่าห์ราชการ. (2558). รูปแบบการเรียนการสอน Active Learning เพื่อพัฒนาแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์ เรื่องคลื่นไหวสะเทือน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ยุวดี อยู่สบาย, ศิรินยา พิพัฒน์ศรีสวัสดิ์ และ จิตรา จันทราเกตุรวิ. (2563). การพัฒนาชุดการเรียนรู้ฝึกทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ โดยการจัดการเรียนการสอนเชิงรุก สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 16(4),133-141.
วรพงศ์ ไชยฤกษ์. (2558). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยร่วมสมัยและการรู้สารสนเทศของนักศึกษาที่ได้รับการสอนโดยการใช้เทคนิคการสอนแบบการเรียนรู้เชิงรุก. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้, 1(1), 77-95.
วรารัตน์ อนุสัตย์ และ จำเนียร พลหาญ. (2561). ยุทธศาสตร์การจัดการเรียนการสอนภาษาจีนที่มี ประสิทธิผลของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 14(1), 65-74.
วารินท์พร ฟันเฟื่องฟู. (2562). การจัดการเรียนรู้ Active Learning ให้สำเร็จ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(1), 135-145.
สำนักยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย. (2553). ยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักยุทธศาสตร์อุดมศึกษาต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
ศารทูล อารีวรวิทย์กุล. (2551). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 1 ที่ได้จากการเรียนรู้แบบบูรณาการและจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครนายก: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อุไรวรรณ ชัยชนะวิโรจน และ ชญาภา วันทุม. (2560). การทดสอบความตรงตามเนื้อหาของเครื่องมือวิจัย. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 11(2), 105-111.
卢福波. (1998). 对外汉语教学实用语法. (第3次印刷). 北京:北京语言文化大学出版社.
杨寄洲. (2008). 汉语教程第一册 上 (修订本). 北京:北京语言大学出版社.
杨寄洲. (2007). 汉语教程第一册下 (修订本). 北京:北京语言大学出版社.