ปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับปัจจัยการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร 2) ระดับกระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร และ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลในประเทศไทย การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่ง จำนวน 392 คน โดยใช้การเทียบสัดส่วนและใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยวิธีการทางสถิติโดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัจจัยการบริหารของผู้บริหารโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ภาวะผู้นำของผู้บริหาร ธรรมาภิบาลและการมีส่วนร่วม การสร้างจิตพิสัย และการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ตามลำดับ 2) ระดับกระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมาก ไปหาน้อย ได้แก่ การกำหนดกลยุทธ์ การกำหนดทิศทางขององค์กร การปฏิบัติตามกลยุทธ์ การควบคุมและประเมินผลกลยุทธ์ และการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ตามลำดับ และ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร (Y) ได้แก่ ภาวะผู้นำของผู้บริหาร (X5) นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา (X4) ธรรมาภิบาลและการมีส่วนร่วม (X3) การสร้างจิตพิสัย (X2) และการจัดการทรัพยากรมนุษย์ (X1) โดยได้ค่าประสิทธิภาพในการทำนายที่ปรับแล้วร้อยละ 89.80 และสมการถดถอยในรูปคะแนนดิบ คือ tot = 1.458 + 0.422(X5) + 0.354(X4) + 0.218(X3) + 0.185(X2) + 0.138(X1)
Article Details
References
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2562). พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์รับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ และดรุณี ปัญจรัตนากร. (2563). รูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนวิทยาศาสตร์สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. การประชุมสถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา (สคบศ. วิชาการ) ครั้งที่ 1, จังหวัดนครปฐม. 28-29.
พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ, สำเริง อ่อนสัมพันธุ์, สุริยะ วชิรวงศ์ไพศาล, ดรุณี ปัญจรัตนากร, ฤทธิเดช พรหมดี และ เชิดศักดิ์ ศุภโสภณ. (2564). องค์กรแห่งนวัตกรรมทางการศึกษายุคไทยแลนด์ 4.0. การประชุมวิชาการระดับชาติ พะเยาวิจัย ครั้งที่ 10 มหาวิทยาลัยพะเยา. 3513-3528.
Beckers, R., Voordt, D.v.d. and Dewulf, G. (2015). Management Strategies for Aligning Higher Education Accommodation with the User Needs. Journal of Corporate Real Estate, 17(2), 80-97.
Eacott, S. (2008). Strategy in Educational Leadership: in Search of Unity. Journal of Educational Administration, 46(3), 353-375.
Edwards, S. and Ashida, A. (2021). Higher Education in Japan: Internationalization, the Sustainable Development Goals and Survivability. International Journal of Comparative Education and Development, 23(2), 104-119.
Fumasoli, T., Barbato, G. and Turri, M. (2020). The Determinants of University Strategic Positioning: a Reappraisal of the Organisation. Higher Education, 80, 305–334.
Hladchenko, M. (2015). Balanced Scorecard – a Strategic Management System of the Higher Education Institution. International Journal of Educational Management, 29(2), 167-176.
Laudon K.C., and Laudon, J. P. (2019). Management Information Systems. (14th ed). New York: Pearson Education Indochina.
Mahat, M. and Goedegebuure, L. (2016). Strategic Positioning in Higher Education: Reshaping Perspectives", Theory and Method in Higher Education Research (Theory and Method in Higher Education Research, (Vol. 2), Emerald Group Publishing Limited. 223-244.
Mushketova, N., Bydanova, E. and Rouet, G. (2018). National Strategy for Promotion of Russian Universities in the World Market of Education Services. International Journal of Educational Management, 32(1), 46-56.
Sababi Pour Asl, G. and Bafandeh Zendeh, A. (2014). Strategic Plan Compilation Using System Dynamics Modeling: Case Study of a University. Education, Business and Society: Contemporary Middle Eastern Issues, 7(4), 277-292.
Sajwani, Z.S., Hazzam, J., Lahrech, A. and Alnuaimi, M. (2021). A Strategy Tripod Perspective on Merger Effectiveness in the Higher Education Industry: the Mediating Role of Future Foresight. International Journal of Educational Management, 35(5), 925-942.
Sengupta, E., Blessinger, P. and Makhanya, M.S. (2020). Developing and Supporting Multiculturalism and Leadership Development: International Perspectives on Humanizing Higher Education. Innovations in Higher Education Teaching and Learning, 30, 3-13.
Soewarno, N. and Tjahjadi, B. (2020). Mediating Effect of Strategy on Competitive Pressure, Stakeholder Pressure and Strategic Performance Management (SPM): Evidence from HEIs in Indonesia. Benchmarking: An International Journal, 27(6), 1743-1764.
Suherlan, H. (2017). Strategic Alliances in Institutions of Higher Education: a Case Study of Bandung and Bali Institutes of Tourism in Indonesia. International Journal of Tourism Cities, 3(2), 158-183.
Sundgren, M. and Jaldemark, J. (2020). Visualizing Online Collaborative Writing Strategies in Higher Education Group Assignments. International Journal of Information and Learning Technology, 37(5): 351-373.
Wilkins, S. (2020). The Positioning and Competitive Strategies of Higher Education Institutions in the United Arab Emirates. International Journal of Educational Management, 34(1), 139-153.