การเปรียบเทียบความสามารถในการฟัง-พูดภาษาอังกฤษ และความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับเทคนิคการตอบสนองด้วยท่าทาง (TPR) กับวิธีการจัดการเรียนรู้ตามปกติ

Main Article Content

วิภาดา ยี่สุ่นแย้ม
รุ่งฟ้า กิติญาณุสันต์
สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการฟัง-พูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับเทคนิคการตอบสนองด้วยท่าทาง (TPR) ก่อนและหลังเรียน 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการฟัง-พูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ตามปกติ ก่อนและหลังเรียน 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการฟัง-พูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างวิธีการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับเทคนิคการตอบสนองด้วยท่าทาง (TPR) กับวิธีการจัดการเรียนรู้ตามปกติ และ 4) เพื่อศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังจากใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับเทคนิคการตอบสนองด้วยท่าทาง (TPR) กับวิธีการจัดการเรียนรู้ตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดราษฎร์สโมสร จำนวน 20 คน เป็นกลุ่มทดลอง และโรงเรียนนาป่ามโนรถ จำนวน 20 คน เป็นกลุ่มควบคุม ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับเทคนิคการตอบสนองด้วยท่าทาง (TPR) จำนวน 6 แผน และแผนการจัดการเรียนรู้ตามปกติ จำนวน 6 แผน 2) แบบวัดความสามารถในการฟัง-พูดภาษาอังกฤษ ก่อนและหลังเรียน เป็นแบบทดสอบปรนัย จำนวน 20 ข้อ และแบบทดสอบอัตนัย จำนวน 10 ข้อ รูปแบบการวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) ดำเนินการทดลองแบบ Pretest-Posttest Control Group Design และมีการทดสอบซ้ำหลังเรียน 2 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการฟัง-พูดภาษาอังกฤษ โดยใช้สูตรการทดสอบค่าที (T-Test for Dependent) การทดสอบค่าที (T-Test for Independent) และ One Way Repeated Measure ANOVA


ผลการวิจัยพบว่า


  1. 1. ความสามารถในการฟัง-พูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับวิธีการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับเทคนิคการตอบสนองด้วยท่าทาง (TPR) มีค่าเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  2. 2. ความสามารถในการฟัง-พูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับวิธีการจัดการเรียนรู้ตามปกติ มีค่าเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  3. 3. ความสามารถในการฟัง-พูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับวิธีการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับเทคนิคการตอบสนองด้วยท่าทาง (TPR) มีค่าเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่ากับวิธีการจัดการเรียนรู้ตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  4. 4. ความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยวิธีการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับเทคนิคการตอบสนองด้วยท่าทาง (TPR) คิดเป็น ร้อยละ 97.52 โดยมีความสามารถในการฟัง-พูดภาษาอังกฤษ หลังเรียน กับหลังเรียน 2 สัปดาห์ ไม่แตกต่างกัน และ ความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยวิธีการจัดการเรียนรู้ตามปกติ คิดเป็นร้อยละ 82.95 โดยมีความสามารถในการฟัง-พูดภาษาอังกฤษ หลังเรียน 2 สัปดาห์ต่ำกว่าหลังเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
วิภาดา ยี่สุ่นแย้ม, รุ่งฟ้า กิติญาณุสันต์, & สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์. (2020). การเปรียบเทียบความสามารถในการฟัง-พูดภาษาอังกฤษ และความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับเทคนิคการตอบสนองด้วยท่าทาง (TPR) กับวิธีการจัดการเรียนรู้ตามปกติ. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 2(2), 403–414. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/art/article/view/246899
บท
บทความวิจัย