ความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัวกับสุขภาพจิตของวัยรุ่นไทย

Main Article Content

พรทิพย์ ช่วยเพล
อภิษฎาข์ ศรีเครือดง

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัวที่มีต่อสุขภาพจิตของวัยรุ่นไทย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ข้อมูลที่ใช้ศึกษาเป็นข้อมูลทุติยภูมิจากการสำรวจสภาวะทางสังคม วัฒนธรรมและสุขภาพจิต (ความสุข) คนไทย พ.ศ. 2557 ดำเนินการสำรวจโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นวัยรุ่นที่มีอายุระหว่าง 15–24 ปี จำนวน 3,840 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ


         ผลการวิจัยพบว่า วัยรุ่นไทยมีคะแนนสุขภาพจิตเฉลี่ยอยู่ที่ 33.27 คะแนน ความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัวที่มีผลต่อสุขภาพจิตของวัยรุ่นในเชิงบวก ได้แก่ ด้านการใช้เวลาทำกิจกรรมร่วมกันนอกบ้านกับสมาชิกครอบครัวอย่างมีความสุข ด้านการพูดคุยปรึกษาหารือหรือตัดสินใจร่วมกันด้วยเหตุผลในเรื่องสำคัญของครอบครัว ด้านการแสดงออกถึงความรัก ความเข้าใจ เอื้ออาทรเอาใจใส่กับสมาชิกในครอบครัว  ด้านการทำหน้าที่ตามบทบาท หรือความรับผิดชอบของตนเองในครอบครัว และด้านการเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวตามลำดับ ส่วนด้านความรู้สึกขัดแย้งไม่พอใจ ไม่ชอบใจ ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาของครอบครัว พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงลบกับระดับสุขภาพจิต นอกจากนี้ยังพบว่า เพศ ระดับการศึกษา ลักษณะของครอบครัว และระดับสุขภาพกาย มีผลต่อระดับสุขภาพจิตของวัยรุ่นไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่น p ≤ 0.05 ในการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัวส่งผลต่อระดับสุขภาพจิตของวัยรุ่น จึงมีข้อเสนอแนะว่าควรมีการสนับสนุนให้ครอบครัวทำกิจกรรม

Article Details

How to Cite
พรทิพย์ ช่วยเพล, & อภิษฎาข์ ศรีเครือดง. (2019). ความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัวกับสุขภาพจิตของวัยรุ่นไทย. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 1(3), 207–220. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/art/article/view/243244
บท
บทความวิจัย