การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ประกอบมัลติมีเดีย รายวิชาการร้อยมาลัย สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ศึกษา คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

Main Article Content

จักรพันธ์ รูปงาม
วิสุทธิ์ แซ่แต้

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้  ประกอบสื่อมัลติมีเดีย รายวิชาการร้อยมาลัย  ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานการร้อยมาลัยของนักศึกษา หลังการจัดการเรียนรู้  ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ประกอบสื่อมัลติมีเดีย รายวิชาการร้อยมาลัย  โดยให้นักศึกษา จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80  มีคะแนนตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป  และ  3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษา  ที่มีต่อการเรียนโดยการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบสื่อมัลติมีเดีย รายวิชาการร้อยมาลัย  กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้  ได้แก่  นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาคหกรรมศาสตร์ศึกษา   คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ที่ลงทะเบียนรายวิชาการร้อยมาลัย จำนวนทั้งสิ้น 29 คน  ซึ่งเรียนในภาคการเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563  ด้วยการสุ่มแบบกลุ่ม  (Cluster Random Sampling) ดำเนินการวิจัยโดยใช้รูปแบบวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังทดลอง  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6  แผน จำนวน  24  ชั่วโมง 2)  แบบประเมินทักษะการปฏิบัติงานการร้อยมาลัย  และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษา  ที่มีต่อการเรียนโดยการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบสื่อมัลติมีเดีย รายวิชาการร้อยมาลัย  เป็นมาตราส่วนประมาณค่า  5  ระดับ จำนวน 15 ข้อ เครื่องมือทั้งหมดได้ผ่านการตรวจจากผู้เชี่ยวชาญและปรับปรุงแก้ไข  เพื่อใช้เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย  ค่าร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  สามารถสรุปได้ ดังนี้


                       ผลการวิจัย พบว่า  1)  แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบสื่อมัลติมีเดีย รายวิชาการร้อยมาลัย  มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 โดยมีประสิทธิภาพเท่ากับ 96.23/93.08 2)  ผลการพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานการร้อยมาลัยของนักศึกษา โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบสื่อมัลติมีเดีย รายวิชาการร้อยมาลัย  พบว่านักศึกษาจำนวนทั้งหมด 29 คน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80  มีจำนวน  29  คน  คิดเป็นร้อยละ 100.00  มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ  55.85  จากคะแนนเต็ม 60 คะแนน  คิดเป็นร้อยละ 90.47 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และ 3)  ความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาคหกรรมศาสตร์ศึกษา ที่มีต่อการเรียนโดยการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบสื่อมัลติมีเดีย  รายวิชาการร้อยมาลัย  มีระดับความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค; 2560.

กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน.พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2553.

เจมส์ เบลลันกา. ทักษะแห่งอนาคตใหม่ การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. (วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง, แปล). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ผลิตผลการพิมพ์; 2554.

วิจารณ์ พานิช. วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์; 2555.

ไพฑูรย์ พิมดี และคณะ. การพัฒนาการศึกษาภายใต้กรอบประเทศไทย 4.0 สูศตวรรษที่ 21. วารสารครุศาสตรอุตสาหกรรม, 16(2), 199 –206; 2560.

ปัญญา สังข์ภิรมย์ และสุคนธ์ สินธพานนท์. สุดยอดวิธีการสอนการงานอาชีพและเทคโนโลยีนำไปสู่การจัด การเรียนรู้ของครูยุคใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์; 2550.

เดชา จันทคัต. เอกสารประกอบการสอน วิชา 0506716 สัมมนาหลักสูตรและการสอนการงานอาชีพและเทคโนโลยี. มหาสารคาม: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2551.

Mertler, Craig A. Action research : improving school and empowering educator. 5th ed. United States of America. SAGE Publications, Inc.; 2017.

มาเรียม นิลพันธุ์. วิธีวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 6. นครปฐม: ศูนย์วิจัยและพัฒนาทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2558.

มุกดา อามาตย์. การพัฒนาสื่อการสอนมัลติมีเดีย วิชาพื้นฐานงานประดิษฐ์ เรื่องดอกไม้ประดิษฐ์ สำหรับนักเรียนสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาคหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร; 2562.

อนุพงษ์ ภูสีเขียว. การพัฒนาสื่อการสอนมัลติมีเตียการปักลายตอกไม้บนผลิตภัณฑ์เข็มกลัดติดเสื้อสุภาพสตรีสำหรับนักเรียน วิทยาลัยสารพัดช่างนครหลวง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาคหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร; 2563.

ณัฐกร สงคราม. การออกแบบและพัฒนามัลติมิเดียเพื่อการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.

ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 19. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.

พรชัย โสภาบุตร. การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียประกอบการสอน รายวิชา ง30275 งานจัดดอกไม้เชิงพาณิชย์ หน่วยที่ 6 เรื่องการจัดดอกไม้เบื้องต้นสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนไชยฉิมพลีวิทยาคม จังหวัดกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาคหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร; 2562.

ทิพภาภรณ์ ทนงค์. การพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย เรื่องการเย็บตะเข็บผ้าพื้นฐาน วิชาการงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม). [วิทยานิพนธ์ปริญญาคหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร; 2562.

ศศิณิส์ภา พัชรธนโรจน์, พิมพ์ชนก สุวรรณศรี, และศิริกรณ์ กันขัติ์. การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียด้านการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง โคมไฟ 700 ปี อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2563;1:116-145.