การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผสมผสานเทคโนโลยีตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์และ การเรียนรู้แบบผสมผสานสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี

Main Article Content

พีชาณิกา เพชรสังข์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างความสามารถในออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผสมผสานเทคโนโลยีโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์และการเรียนรู้แบบผสมผสานสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีและ 2) ประเมินคุณภาพของหลักสูตรเสริมสร้างความสามารถในออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผสมผสานเทคโนโลยีโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์และการเรียนรู้แบบผสมผสานสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ซึ่งเป็นการวิจัยและพัฒนา  มีระยะเวลาในการทดลองใช้หลักสูตรที่พัฒนาขึ้น 6 สัปดาห์ ซึ่งมีนักศึกษากลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2564 สาขาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบ แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินการนำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้ และแบบประเมินการวิเคราะห์และปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ โดยการหาค่าความถี่ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที


 


ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 


  1. หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบซึ่งประกอบด้วย 1) หลักการของหลักสูตร 2) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 3) เนื้อหาสาระ 4) แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ 5) แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้

  2. นักศึกษากลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผสมผสานเทคโนโลยีหลังใช้หลักสูตรสูงกว่าก่อนใช้หลักสูตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  3. นักศึกษามีพัฒนาการสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในการประเมินครั้งที่ 3 นักศึกษามีความสามารถอยู่ในคุณภาพระดับพอใช้จำนวน 2 คน ระดับดีจำนวน 13 คน และระดับดีมากจำนวน 20 คน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สมจิต จันทร์ฉาย. การออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครปฐม: เพชรเกษฒพริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด; 2557.

กระทรวงศึกษาธิการ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาต พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว; 2542.

กระทรวงศึกษาธิการ. ศธ.จี้ครูปรับบทบาทใหม่ทันกับเทคโนโลยีสอนเด็ก. [อินเตอร์เน็ต]. 2556[เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม 2564].

เขาถึงไดจาก: http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=34113&Key=hotnews

North Central Regional Educational Laboratory & Metiri Group. [Internet]. 2003[cite 2021 November 10]. Available from: http://www.ncrel.org/engauge/skills/skills.htm

Smith, P. L. & Ragan, T. J. Instructional design (3rd ed.). New Jersey: John Wiley & Sons; 2005.

ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 20. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2559.

ภูษิมา ภิญโญสินวัฒน์. จัดการเรียนการสอนอย่างไรในสถานการณ์โควิด-19: จากบทเรียนต่างประเทศสู่การจัดการเรียนรู้ของไทย. [อินเทอร์เน็ต]. 2563[เข้าถึงเมื่อ 13 ธันวาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://tdri.or.th/2020/05/examples-of-teaching-and-learning-in-covid-19-pandemic/

เกรียง ฐิติจำเริญพร. การพัฒนากระบวนการนำครูใหม่เข้าสู่วิชาชีพ โดยใช้แนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกันเป็นฐานร่วมกับการเป็นพี่เลี้ยง เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอน[วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2560.

Tyler, R. W. Evaluation acting program. Boston Allin and Bacon; 1986.

นรรัชต์ ฝันเชียร. การสร้างประสบการณ์การทำงานสำหรับผู้เรียน. [อินเตอร์เน็ต]. 2563[เข้าถึงเมื่อ 19 ธันวาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.trueplookpanya.com/education/content/80922/-teaartedu-teaart-

จงกลวรรณ มุสิกทอง. Clinical Teaching: Feedback (การให้ข้อมูลย้อนกลับ). [อินเตอร์เน็ต]. 2556[เข้าถึงเมื่อ 19 ธันวาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ns.mahidol.ac.th/english/th/departments/MN/th/km/56/km_feedback.html

ชลิดา ชาญวิจิตร และ ธีระวัฒน์ จันทึก. การให้ข้อมูลป้อนกลับที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานในสายการผลิต. Veridian E-Journal, Silpakorn University 2561; 1: 290 - 302.

ฐิติวัสส์ สุขป้อม, ณัฏฐกรณ์ ปะพาน, ปิยาภรณ์ เตชะเรืองรอง และอุดม ตะหน่อง. ครูกับเทคโนโลยีการสอนในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม 2563; 2: 1 – 17.

Kurt Lewin. Field Theory in Social Science: Selected Theoretical Papers; 1951.

บุญล้อม ด้วงวิเศษ และ มนสิช สิทธิสมบูรณ์. การพัฒนารูปแบบการสอนแบบเน้นประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตสำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2560; 23: 67 – 84.

วัชรีย์ ร่วมคิด. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการออกแบบย้อนกลับและการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์

เพื่อเสริมสร้างความสามารถของครูอนุบาลในการออกแบบและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน[วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.

จินตวีร์ คล้ายสังข์. ผลของการเรียนแบบผสมผสานที่ใช้คอร์สแวร์ในรูปแบบที่ต่างกันที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้และความพึงพอใจของผู้เรียนระดับปริญญาบัณฑิตที่มีระดับความสามารถทางการเรียนรู้ต่างกันในรายวิชาโปรแกรมการเรียนการสอนผ่านเว็บขั้นนำ[รายงานการวิจัย]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.

Kaufman, J. The first 20 hours: How to learn anything... fast!. 1st ed. Penguin; 2013.