การวิเคราะห์และเปรียบเทียบข้อผิดพลาดการใช้คำภาษาจีนที่มีความหมายตรงกับคำว่า “ประมาณ”ในภาษาไทย กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

Main Article Content

พรเพ็ญ จุไรยานนท์
ฐณัฐา ลาภเลิศ

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห์และเปรียบเทียบข้อผิดพลาดในการใช้คำในภาษาจีนที่มีความหมายตรงกับคำว่าประมาณในภาษาไทย”นี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ 1. เพื่อวิเคราะห์ลักษณะการใช้คำกริยาวิเศษณ์แสดงน้ำเสียง语气副词(Yǔqì fùcí) ที่มีความหมายเชิง “ประมาณ” ในภาษาจีนของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 2. เพื่อเปรียบเทียบคำกริยาวิเศษณ์ที่มีความหมายเชิง “ประมาณ” ในภาษาไทยและภาษาจีน กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ปีการศึกษา 1/2563 จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบทดสอบเรื่องการใช้คำในภาษาจีนที่มีความหมายตรงกับคำว่า “ประมาณ” ในภาษาไทย


สาเหตุในการใช้ผิดพลาดส่วนใหญ่มาจากความผิดพลาดที่ไม่เข้าใจในไวยากรณ์ภาษาจีนกลางของคำว่า “大概(dàgài)、左右(zuǒyòu)、前后(qiánhòu) 、大约(dàyuē)และ差不多 (chàbùduō)”จึงส่งผลทำให้เลือกใช้ไม่ถูกต้อง ดังนั้นควรจะเรียนรู้หลักไวยากรณ์ภาษาจีนกลาง เพื่อที่จะช่วยในการหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดดังกล่าวได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Population Reference Bureau. 2013 World Population Data Sheet. Washington DC: Centennial Group; 2013

Internet World Stats Usage and Population Statistics. Case Study: Top Ten Languages in the Internet 2013- in millions of users. [Internet]. 2013 [cited 2020 September 18]. Available from http://www.internetworldstats.com/stats7.htm.

Humphrey Tonkin. Language and The United Nations: A Preliminary Review. Léger 2011; 1(1): 2-5.

กระทรวงศึกษาธิการ. นโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาจีน. ประกาศ.2557.

杨寄洲และ贾永芬.《1700 对近义词语用法对比》การเปรียบเทียบการใช้คำพ้องความหมาย 1700 คำ . 北京.北京语言大学出版社 ; 2550

ดารณี มณีลาภ. การศึกษาข้อผิดพลาดในการใช้ภาษาจีนของนิสิตเอกภาษาจีน มหาวิทยาลัยบูรพา. [อินเตอร์เน็ต]. ชลบุรี: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา; 2555[เข้าถึงเมื่อ 21 สิงหาคม 2563]เข้าถึงได้จาก: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1294

จุฬาลักษณ์ โพธิ์พา. การศึกษาปัญหาการใช้คำกริยาวิเศษณ์คำว่า“又”และ “再” ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. [อินเตอร์เน็ต]. อุบลราชธานี: คณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี; 2555[เข้าถึงเมื่อ 21 สิงหาคม 2563] เข้าถึงได้จาก: http://ubulachinese.blogspot.com/2012/03/4.html

ทิฆัมพร ออมสิน. (2558). การศึกษาการใช้คำกริยาภาษาจีนที่มีความหมายใกล้เคียงกันของนักศึกษาไทย.[อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; [เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม 2563] เข้าถึงได้จาก: https://www.car.chula.ac.th/display7.php?bib=b2140145

ศุภชัย แจ้งใจ. การวิเคราะห์ความแตกต่างของคำพ้องความภาษาจีน สำหรับผู้เรียนชาวไทย. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 2552;15(6):1032.