การศึกษาความสัมพันธ์ของการรับรู้กฎหมายการบังคับหรือปล่อยอากาศยาน ซึ่งไม่มีนักบินที่น้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัม ก่อนทำการบิน และระหว่างทำการบิน ที่ส่งผลต่อแนวโน้มการปฏิบัติตามของผู้บังคับในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) เงื่อนไขกฎหมายการบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน ที่น้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัมฯ
(2) การรับรู้กฎหมายการบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินที่น้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัมฯ (3)
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาเงื่อนไขกฎหมายการบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน ที่น้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัมฯ (2) การรับรู้กฎหมายการบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินที่น้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัมฯ (3) เงื่อนไขการปฏิบัติตามของผู้บังคับในประเทศไทย (4) ความสัมพันธ์การรับรู้กฎหมายการบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน ที่น้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัมฯ ซึ่งจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และการรับรู้และเงื่อนไขกฎหมายการบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินที่น้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัม ที่มีผลต่อแนวโน้มการปฏิบัติตามของผู้บังคับในประเทศไทย ข้อมูลจากประชากรที่ปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินในประเทศไทย 384 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างรับรู้เงื่อนไขกฎหมายอยู่ระดับมาก มีการรับรู้กฎหมายอยู่ระดับปานกลาง ด้านเงื่อนไขของการปฏิบัติตามอยู่ระดับมาก โดยปัจจัยส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์กับการรับรู้กฎหมายการบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน ที่น้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัม โดยที่เงื่อนไขและการรับรู้กฎหมายการบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน ที่น้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัม ไม่มีผลต่อแนวโน้มการปฏิบัติตามของผู้บังคับในประเทศไทย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้ยังไม่เคยลงตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
บทความที่ลงพิมพ์เป็นข้อคิดเห็น/แนวคิด/ทัศนคติของผู้เขียนเท่านั้น หากเกิดผลทางกฎหมายใดๆที่อาจ
เกิดขึ้นจากบทความนี้ ผู้เขียนจะเป็นผู้รับผิดชอบ และบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารเท่านั้น
References
Cochran, WG. Sampling techniques. New York: John Wiley & Sons; 1953.
สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย. กฎหมายน่ารู้เกี่ยวกับ Unmanned Aerial Vehicle (UAV). [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 18 เมษายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://www.caat.or.th/th/archives/31657.
สร้อยตระกูล (ติวยานนท์) อรรถมานะ. พฤติกรรมองค์การ : ทฤษฎีและการประยุกต์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2541.
The Civil Aviation Authority of Thailand. Laws of Attraction about Unmanned Aerial Vehicle (UAV). [Internet]. 2014 [cited 2021 April 22]. Available from: https://www.caat.or.th/
Alavosius, M, Herbst , S, Dagen, J, Rafacz , S. Beyond the Skinner Box”: Expanding Behavior Systems Analyses. Journal of Organizational Behavior Management, 2014; 4. [Internet]. 2014 [cited 2021 April 22]. Available from: https://doi.org/10.1080/01608061.2014.973633
ทิวาวรรณ ปิ่นสุวรรณ. การรับรู้การเปลี่ยนแปลงองค์การกับขวัญในการปฏิบัติงานและผลการปฏิบัติงานของ พนักงาน:
ศึกษาเฉพาะกรณีพนักงานของ บริษัท บางซื่อโรงสีไฟเจียเม้ง จำกัด. [สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ; 2550.
ณัฐยา จันทร์คง. การรับรู้สิทธิแรงงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2551 ของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐ. [สารนิพนธ์พัฒนาแรงงานและสวัสดิการมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2553.
Schermerhorn, JR., Hunt, JG., Richard, ON. Managing organizational behavior. New York: John Wiley; 1982.
เนตรนภา ชินะสกุลชัย. พฤติกรรมการใช้กับการรับรู้คุณค่าตราสินค้าโทรศัพท์มือถือยี่ห้อไอโฟน ของผู้บริโภค
ในเขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย; 2553.
ณัฐฏมน เผ่าพันธุ์ และธันยพร ตีรณานุวัตร. การรับรู้และทัศนคติของผู้ใช้บริการสายการบินภายในกรุงเทพมหานครที่มีต่อข่าวสารการตรวจสอบมาตรฐานการบินของไทยขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต; 2558.
สุชีรา พระมาลา, กัลยกร ศรีภักดี, มนไท ประมูลจักโก. การรับรู้และความเข้าใจต่อการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550ของผู้ใช้บริการร้านอินเตอร์เน็ต กรณีศึกษา: อำเภอเมืองอุบลราชธานี. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “สร้างสรรค์และพัฒนา เพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน” ครั้งที่ 2; 18-19 มิถุนายน 2558 ณ วิทยาลัยนครราชสีมา อําเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา: 2558. 651-658.
เอกรินทร์ จงเสรีเจริญ. การรับรู้ของข้าราชการทหารต่อพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.2457 กรณีศึกษา กองพันทหารราบในกอพลทหารราบที่ 9. [วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558.