A โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุอิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ต่อการสื่อสารภายในองค์การ วัฒนธรรมองค์การ และผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ในโรงงานอตสาหกรรมการผลิตของประเทศญี่ปุ่นในประเทศไทย

Main Article Content

ธีระยุทธ เมฆประสาท

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสารภายในองค์การได้แก่ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมองค์การได้แก่ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และการสื่อสารภายในองค์การ (3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ได้แก่ การสื่อสารภายในองค์การ และวัฒนธรรมองค์การ และ (4) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของตัวแบบจำลองเชิงสาเหตุ ของตัวแปรกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การวิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศญี่ปุ่นที่ตั้ง อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออกของประเทศไทย จำนวน 343 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าความถี่ การหาค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย การหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า แบบจำลองสมการโครงสร้างมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี โดยมีค่าไค-สแควร์ (2) เท่ากับ 8.285 ที่องศาอิศระ (df ) เท่ากับ 11 มีค่าไค-สแควร์สัมพันธ์ (2/df) เท่ากับ 0.761 ค่าความน่าจะเป็น (p-value) เท่ากับ 0.688 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.997 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้ (AGFI) เท่ากับ 0.965 ดัชนีค่าความคาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.000 นอกจากนี้ยังพบว่า (1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีอิทธิพลทางบวกต่อการสื่อสารภายในองค์การ (2) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลทางบวกต่อวัฒนธรรมองค์การ (3) การสื่อสารภายในองค์การ มีอิทธิพลทางบวกต่อวัฒนธรรมองค์การ (4) การสื่อสารภายในองค์การมีอิทธิพลทางบวกต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน และ (5) วัฒนธรรมองค์การมีอิทธิพลทางบวกต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน


คำสำคัญ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การสื่อสารภายในองค์การ วัฒนธรรมองค์การ ผลการปฏิบัติงานของพนักงาน

Article Details

How to Cite
เมฆประสาท ธ. (2022). A โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุอิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ต่อการสื่อสารภายในองค์การ วัฒนธรรมองค์การ และผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ในโรงงานอตสาหกรรมการผลิตของประเทศญี่ปุ่นในประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 11(3), 26–33. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/ajpbru/article/view/252093
บท
Articles

References

-