การประเมินความต้องการจำเป็นของครูในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ฐานสมรรถนะของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

ผู้แต่ง

  • โสภณ ชัยวัฒนกุลวานิช คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  • จงกล บัวแก้ว คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

คำสำคัญ:

การประเมินความต้องการจำเป็น , การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ , นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของครูในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ฐานสมรรถนะของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน และ2) เสนอแนวทางในการพัฒนาความสามารถของครูด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ฐานสมรรถนะของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน  กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนโสตศึกษา จำนวน 273 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้การวิจัย คือ แบบสอบถามความต้องการจำเป็นการวัดและแระเมินผลการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ และแบบสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาความสามารถด้านการวัดและประเมินผลฐานสมรรถนะ ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน PNIModified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นของครูในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ฐานสมรรถนะของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินสูงที่สุดคือ ด้านทักษะ (PNIModified = 0.22) รองลงมาคือ ด้านความรู้ (PNIModified = 0.20) และด้านคุณลักษณะ (PNIModified = 0.16) ตามลำดับ และ 2) แนวทางการพัฒนาความสามารถของครูด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ สรุปได้  7 แนวทาง แบ่งเป็นด้านความรู้ จำนวน 3 แนวทางคือ การกำหนดนโยบายหรือแนวปฏิบัติที่ชัดเจนเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ การจัดทำแผนหรือโครงการเพื่อพัฒนาความรู้ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ และการจัดทำระบบสนับสนุนการเรียนรู้ของครูด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ ด้านทักษะ จำนวน 2 แนวทางคือ การกำหนดแนวปฏิบัติและต้นแบบสำหรับการวัดและประเมินผลการเรียนฐานสมรรถนะของสถานศึกษา และการจัดทีมผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา การลงมือปฏิบัติและการติดตามผลการปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนฐานสมรรถนะ และ ด้านคุณลักษณะ จำนวน 2 แนวทาง คือ การกำหนดนโยบายหรือแนวปฏิบัติในการคัดเลือกครูที่มีความรู้ ความสามารถและพร้อมการเป็นครูการศึกษาพิเศษ และการเสริมแรงทางบวกให้กับครูเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

Downloads

References

Buakaew, J. & Chaiwatthanakunwanich, S. (2022). Operation Guidelines for the Formative Assessment of 21th Century Skills for Hearing Impaired Students: School for the Deaf, Southern Thailand. Journal of Institute of Trainer Monk Development, 5(3), 89-101.

Chaiwatthanakunwanich, S. (2015). Guidelines for organizing non-formal education for students with Hearing impairment. Songkhla Rajabhat University.

Chanprasart, C. (2017). The needs assessment for developing competencies of education measurement and evaluation of teachers in schools under the foundation of Church of Christ in Thailand [Unpublished Master of Education thesis]. Silpakorn University.

Kamket, W. (2012). Research methodology in behavioral sciences. (3rd ed.). Chulalongkorn University Press.

Kongsuwan, S. & Ruachai, B. (2020). Teaching and Learning for the Deaf in Thailand: Problems, Models and Bilinggual Teaching Methods. Mangrai Saan Journal, 8(1), 1-14.

Office of the Education Council. (2017). Education in Thailand. OEC.

Office of the Secretariat of the Education Council. (2019). Guidelines for developing student competency at the basic educational level. 21 CENTURY CO., LTD.

Phrompitukth, S., Piromjitpong, S., & Pornjaroen, I. (2016). Condition and needs in the development of online training courses for enhancing teachers’ performance on student learning outcome measurement and evaluation. Journal of Education: Faculty of Education Srinakharinwirot University, 17(1), 79-87.

Seehamongkon, Y. (2021). Development of teacher competency program in the 21st century learning assessment and evaluation for educational institutes under the northeast vocational education institution. NRRU community Research Journal, 15(4), 169-181.

Tabtim, J. (2022). The development measurement and evaluation of mathematic teachers in Uttaradit secondary school under the Secondary educational service area office Phitsanulok Uttaradit [Unpublished Master of Education thesis]. Naresuan University.

Wongwanich, S. (2019). Needs assessment research. Chulalongkorn University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-25

How to Cite

ชัยวัฒนกุลวานิช โ. ., & บัวแก้ว จ. . (2024). การประเมินความต้องการจำเป็นของครูในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ฐานสมรรถนะของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน. วารสารสถาบันราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ, 20(2), 44–59. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RSjournal/article/view/277810