สภาพปัจจุบัน และแนวทางการส่งเสริมความสามารถด้านการวิจัยของครูโรงเรียนโสตศึกษา ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • ศรีสุดา พัฒจันทร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ประเสริฐ เรือนนะการ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

สภาพปัจจุบัน, แนวทางการส่งเสริมความสามารถด้านการวิจัย, ครูโรงเรียนโสตศึกษา

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของความสามารถด้านการวิจัยของครูโรงเรียนโสตศึกษาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 2) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมความสามารถด้านการวิจัยของครู การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานวิธี (Mixed Method Research) ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ตัวอย่าง คือ ครูผู้สอน จำนวน 142 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบทดสอบความรู้ด้านการวิจัย แบบสอบถามสภาพปัจจุบันความสามารถของการวิจัยของครู และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแนวทางการส่งเสริมความสามารถด้านการวิจัยของครู วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. สภาพปัจจุบันของความสามารถด้านการวิจัย พบว่า ความสามารถด้านการวิจัยของครูด้านความรู้เท่ากับร้อยละ 42.70 ของคะแนนเต็ม ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่ผู้วิจัยกำหนดไว้ร้อยละ 60 โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 21.35 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 7.07 ความสามารถด้านการวิจัยของครูด้านทักษะอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.32 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .609 และความสามารถด้านการวิจัยของครูด้านคุณลักษณะอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.96 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .73 2. แนวทางการส่งเสริมความสามารถด้านการวิจัยของครูประกอบด้วย 2 หลักการ คือ 1. หลักการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมความสามารถของการวิจัยสำหรับครู ซึ่งประกอบด้วย 7 แนวทาง คือ (1) สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับสถาบันอุดมศึกษา (2) สร้างทีมงานและระบบพี่เลี้ยงด้านการวิจัยสำหรับครูทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน (3) สร้างกลยุทธ์ให้ครูเกิดแรงจูงใจในการทำวิจัย (4) นำหลักการบริหาร 5W2H เพื่อวางแผนพัฒนาความสามารถด้านการวิจัยของครู (5) จัดทำหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นด้านการวิจัย (6) เชิญวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยมาให้ความรู้กับครู และ (7) จัดตั้งคลินิกวิจัยให้คำปรึกษาด้านการวิจัยสำหรับครูแบบ Online และ 2. หลักการพัฒนาความสามารถของการวิจัยสำหรับครู ซึ่งประกอบด้วย 5 แนวทาง คือ (1) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการโดยเน้นการลงมือปฏิบัติจริง (2) นำกระบวนการ PLC (Professional Learning Community) มาขับเคลื่อนการผลิตผลงานวิจัยของครู (3) จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ด้านการวิจัยสำหรับครู (4) การให้คำปรึกษาด้านการวิจัยโดยมีที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญด้านการวิจัย และ (5) นิเทศ ติดตาม และประเมินผลงานวิจัยของครูโดยระบบการนิเทศการวิจัยภายในโรงเรียน

Downloads

References

Aksornchuen, T. (2013). Strategic Management in Deaf School of Thailand in the Next Decade. (Doctoral dissertation). Silpakorn University, Bangkok, Thailand.

Anekpunyakul, P. (2010). Research development: A Possible Approach. Journal of Yala Rajabhat University, 5(1), 63-68.

Chaiwatthanakunwanit, S. (2013). Development of An Alternative Educational Provision model to Improve Quality of Life of Children with Special Needs : A Case Study of Hearing Impaired Children. (Doctoral dissertation). Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand.

Creswell. (2007). Mixed Methods Research. London; United Kingdom Press.

Department of Empowerment of Persons with Disabilities. (2018). Report of the situation of the disabled people in Thailand 2019. Bangkok, Ministry of Social Development and Human Security Press.

Department of Empowerment of Persons with Disabilities. (2020). Report of the situation of the disabled people in Thailand 2020. Bangkok, Ministry of Social Development and Human Security Press.

Ghulam, Abid, & Misbah Malik. (2016). Instructional Practices used by Special Education Teachers in Classrooms of Young Children with Deafness. Bulletin of Education and Research, 38(1), 89-100.

Karen, S., & Cynthia, J. (2018). Deaf Education Teacher Preparation : A Phenomenological Case Study of a Graduate Program with a Comprehensive Philosophy. American Annals of the Deaf, 162(5), 388-418.

Kelly, & Dianne. (2014). Research Competencies in Counseling: A Delphi Study. Journal of Counseling & Development, 9(2), 447-458.

Kongnual, P. (2014). The Development of An Evaluation Model for the Research Competency of Teachers. (Doctoral dissertation). Ramkhamhaeng University, Bangkok, Thailand.

Koonkaew, A. (2012). Research for development of learning to academic works for academic promotion. Chulalongkorn University Press.

Ministry of Education. (2018). Educational Management Plan for People with Disabilities Issue 3 (2017-2021). Ministry of Education Press.

Patjan, S., Ruannakarn, P., & Phusee-orn, S. (2019). The Current States, Strengths, Weaknesses, Opportunities, and Threats of Learning and Teaching of Roi-Et School for the Deaf. Journal of Ratchasuda College for research and Development of Persons with Disabilities, 15(2), 53-54.

Paul, S., Mary, T., & Bonnie, B. (2010). Special Education Teacher Education Research: Current Status & Future Directions. Teacher Education and Special Education, 33(1), 8-24.

Phengphae, S. (2010). Studies on Development Model of higher Education Delivery for Disabled Students in Thailand. (Doctoral Dissertation). National Institute of Development Administration, Bangkok, Thailand.

Research Center at NIDA. (2017). Researcher Professional Qualification: RPQTHAILAND. Retrieved from https:// rpqthailand.com

Ruannakarn, P. (2018). Developing Teachers Research Potentials in Kra-bark Wittayakhan School Mahassarakham Province. Journal of Education, 12(3), 300-306.

Ruyam Kucuksuleymanoglu. (2011). Burnout syndrome levels of teachers in special education schools in Turkey. International Journal of Special education, 26(1), 55-63.

Srisa-ard, B., Seehamongkon, Y., Phusee-orn, S., Sawangboon, T. , Erawan, W., Ruannakarn, P. & Wara-Asawapati Srisa-ard, O. (2015). Basic Research in Education. Mahasarakham, Takkasila Press.

The National Deaf Children’s Society. (2004). Deaf friendly teaching. London: The National deaf Children’s Society. Retrieved from https://pisan2012.wordpress.com

Yamtim, V. (2017). Guidelines of Teacher Research Capacity Building in Science Teacher Network Professional Community. Journal of Education and Human development Sciences, 1(1), 66-67.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28

How to Cite

พัฒจันทร์ ศ. ., & เรือนนะการ ป. . (2020). สภาพปัจจุบัน และแนวทางการส่งเสริมความสามารถด้านการวิจัยของครูโรงเรียนโสตศึกษา ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารสถาบันราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ, 16(2), 97–111. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RSjournal/article/view/249050