ผลของโปรแกรมฝึกอบรมผู้ปกครองที่มีต่อความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแล เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

ผู้แต่ง

  • พิชาภรณ์ ก้อนแก้ว สาขาจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว โครงการร่วมคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พัชรินทร์ เสรี สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
  • คมสันต์ เกียรติรุ่งฤทธิ์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สิรินัดดา ปัญญาภาส คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

โปรแกรมฝึกอบรมผู้ปกครอง, เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้, ความรู้, ทัศนคติ, การดูแลเด็ก

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมผู้ปกครองของเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้ปกครองในการดูแลเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมฝึกอบรมผู้ปกครอง 3) เพื่อเปรียบเทียบระดับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้ปกครองในการดูแลเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ของผู้ปกครองที่เข้าร่วมโปรแกรมและไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรมอบรมผู้ปกครอง 4) เปรียบเทียบระดับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการดูแลของผู้ปกครองหลังเข้าร่วมโปรแกรม 1 เดือน และ 3 เดือน เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง โดยมีรูปแบบการวิจัยแบบวัดผลการทดลองก่อนและหลังโดยมีกลุ่มควบคุม (Pretest Posttest Control Group Design)  กลุ่มตัวอย่างคือกลุ่มผู้ปกครองเด็กอายุ 6-12 ปี ที่เข้ารับบริการกลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ตั้งแต่1 มกราคม-31 ธันวาคม 2561 คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ได้กลุ่มทดลอง 8 คน และกลุ่มควบคุม 11 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) โปรแกรมฝึกอบรมผู้ปกครองที่ได้มีการประยุกต์เนื้อหาบางส่วนมาจากโปรแกรมฝึกอบรมผู้ปกครองของภาควิชาจิตเวชศาสตร์ สาขาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล 2) แบบสอบถามความรู้ของผู้ปกครองเกี่ยวกับภาวะการเรียนรู้บกพร่องสำหรับผู้ปกครอง 3)แบบสอบถามทัศนคติของผู้ปกครอง 4) แบบประเมินพฤติกรรมของผู้ปกครองในการดูแลเด็กฉบับผู้ปกครอง 5) แบบประเมินพฤติกรรมของผู้ปกครองในการดูแลเด็กฉบับเด็ก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบ The Wilcoxon Matched Pairs Signed-Ranks Test และสถิติทดสอบ The Mann-Whitney U Test ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้หลังการเข้าร่วมโปรแกรมสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนคะแนนทัศนคติ และ พฤติกรรมในการดูแลเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า คะแนนความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมในการดูแลเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อติดตามคะแนนความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมของกลุ่มทดลอง 1 เดือน และ 3 เดือน พบว่าคะแนนไม่แตกต่างกัน แสดงถึงความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลเด็กไม่มีการเปลี่ยนแปลง

Downloads

References

Chanpairote, N. (2016). The effectiveness of using parent management training program on caregivers of children aged 4-6 years old. Retrieved from https://dric.nrct.go.th/Search/ ShowFulltext/1/295422

Choomchuay, J. (2002). Parent training programs. In Piyasin, W., & Katumarn, P., (Eds.) Textbook of Psychology (pp. 425-427). Beyond interprise Publisher.

Costin, J., & Chambers, SM. (2007). Parent management training as a treatment for children with oppositional defiant disorder referred to a mental health clinic. Clinical Child Psychology and Psychiatry. 12(4), 511-524.

Department of Mental Health, Ministry of Public Health. (2001). Training (4th ed.). Wongkamol Publisher.

Epstein, M. H., Polloway, E. A, Foley, R. M, & Patton, J. R. (1993). Home work : A comparison of teachers’ and parents’ perceptions of the problems experienced by students identified as having behavioral disorders, learning disabilities, or no disabilities. Remedial & Special Education. 14(5), 40-50.

Kaeokangwan, S. (2013). Attention deficit disorder with hyperactivity child, exceptional psychology, child. (6th ed.). Mohchaoban Publishing.

Kayama, M., & Haight, W. (2014). Disability and stigma : How japanese educators help parent accept their children’s difference. Social Work, 59(1), 24-33.

Makbunsri, T. (2006). Efficacy of parent management training program for ADHD. (Master’s thesis). Retrieved from http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13899

Pornnoppadol, C. (2015). Specific learning disorder. In Sitdhiraksa, N., Wannasewok, K., Wannarit, K., Pukrittakayamee, P., Apinuntavech, S. and Katumarn, P., (Eds.) Siriraj Psychiatry DSM-5 (pp. 507-515). Prayurasard Publisher.

Pornnoppadol, C., Rohitsuk, W., Hasdinra, M., Yasintron, N., & Vasupanrajit, A. (2015). Parent training management program. Ruenkaewprinting.

Punyapas, S., Techapoonpon, K., Tarugsa, J., & Seree, P. (2015). Knowledge and attitude about learning disorders among parents. The Psychiatric Association of Thailand, 60(3). 158-168.

Sofronoff, K., & Farbotko, M. (2002). The effectiveness of parent management training to increase self-efficacy in parent of children with Asperger syndrome. Sage journal. National Autistic Society. 6(3), 271-286.

Soongprasit, M. (2015). Specific learning disorder. In Lotrakul, M., & Sukanich, P., (Eds) Ramathibodi Psychiatry DSM-5 (pp. 515-521). Department of Psychiatry. Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital.

Tews, L., & Merali, N. (2008). Help chinese parents understand and support children with learning disabilities. Professional Psychology. Research and Practice. 39(2), 137-144.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28

How to Cite

ก้อนแก้ว พ. ., เสรี พ., เกียรติรุ่งฤทธิ์ ค. ., & ปัญญาภาส ส. . (2020). ผลของโปรแกรมฝึกอบรมผู้ปกครองที่มีต่อความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแล เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้. วารสารสถาบันราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ, 16(2), 51–64. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RSjournal/article/view/249047