การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
  • The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, or RTF document file format.
  • Where available, URLs for the references have been provided.
  • The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines. https://drive.google.com/drive/folders/1EQuaazOoEYd6XweSOz-WkCrWQ8RQyTlv

คำแนะนำผู้แต่ง

คำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความ


1. ใช้กระดาษขนาด A4 พิมพ์ห่างจากขอบกระดาษ 1 นิ้ว ทั้งสี่ด้าน พิมพ์หน้าเดียว ใส่เลขหน้าที่มุมบนขวา จำนวนหน้าของเนื้อหารวมตารางและรูปภาพไม่ต่ำกว่า 10 หน้า แต่ไม่ควรเกิน 15 หน้า


2. ส่วนต้นของบทความ ประกอบด้วย

1) ชื่อเรื่องใช้ตัวหนา ใช้อักษร TH SarabunPSK ขนาด 20 พ้อยท์
2) ชื่อผู้เขียน ใช้อักษร TH SarabunPSK ขนาด 18 พ้อยท์
3) หน่วยงานที่สังกัด (ถ้ามี) และ e-mail address ใช้อักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 พ้อยท์ โดยระบุทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษไว้ที่ส่วนต้นของบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ


3. ตัวอักษรในบทความ
3.1 สำหรับบทความที่เป็นภาษาไทย ใช้อักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 พ้อยท์ ระยะห่าง 1 บรรทัด ตลอดบทความ ตัวเลขให้ใช้เลขอารบิค และศัพท์ที่เป็นภาษาอังกฤษและบทคัดย่อภาษาอังกฤษ ใช้อักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 พ้อยท์เช่นเดียวกัน
3.2 สำหรับบทความที่เป็นภาษาอังกฤษล้วน ใช้อักษร Times New Roman ขนาด 12 ระยะห่าง 1 บรรทัด ตลอดบทความ และตัวเลขให้ใช้เลขอารบิค


4. ส่วนของบทความ
4.1 ส่วนของบทคัดย่อภาษาไทย ประกอบด้วยคำว่า “บทคัดย่อ” ชิดซ้ายหน้ากระดาษตัวหนา และเนื้อหาของบทคัดย่อความยาวประมาณ 250 คำ หรือไม่เกินครึ่งหน้ากระดาษ และคำสำคัญภาษาไทย 3-5 คำ
4.2 ส่วนของบทคัดย่อภาษาอังกฤษ ประกอบด้วยคำว่า “Abstract” ชิดซ้ายหน้ากระดาษตัวหนา และเนื้อหาของบทคัดย่อภาษาอังกฤษ ความยาวประมาณ 250 คำ หรือไม่เกินครึ่งหน้ากระดาษ และคำสำคัญภาษาอังกฤษ 3-5 คำ โดยบทคัดย่อภาษาอังกฤษควรมีเนื้อหาตรงกับบทคัดย่อภาษาไทย


5. ส่วนของเนื้อหา


5.1 สำหรับบทความวิจัย ประกอบด้วยหัวข้อหลักต่อไปนี้
1) ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (Background and Significance of the Study)
2) วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Purpose of the Study)
3) นิยามศัพท์ (Definition of Terms)
4) กรอบแนวคิดในการวิจัย (Research Conceptual Framework)
5) วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methodology) ประกอบด้วย ประชากร กลุ่มตัวอย่างหรือผู้เข้าร่วมวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและการพัฒนาเครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล
6) ผลการวิจัย (Results)
7) อภิปรายผลการวิจัย (Discussion)
8) ข้อเสนอแนะ (Recommendation)
9) กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgment) (ถ้ามี)
10) เอกสารอ้างอิง (References)


5.2 สำหรับบทความวิชาการ ประกอบด้วยหัวข้อหลักต่อไปนี้
1) บทนำ (Introduction)
2) เนื้อเรื่อง (Body) โดยอาจแบ่งเป็นประเด็นหรือหัวข้อย่อยตามความเหมาะสม
3) บทสรุป (Conclusion)
4) กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgment) (ถ้ามี)
5) เอกสารอ้างอิง (References)


6. การอ้างอิงในเนื้อหาและรายการอ้างอิงท้ายบทความเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด โดยใช้การอ้างอิงรูปแบบ APA 7th Edition (American Psychological Association style 7th Edition)


7. กรณีที่มีตาราง กำหนดหมายเลขตารางและชื่อตารางไว้ด้านบนตารางชิดขอบซ้าย และให้มีเฉพาะเส้นตารางแนวนอนเท่านั้น


8. กรณีที่มีภาพ กำหนดหมายเลขภาพและชื่อภาพไว้ใต้ภาพ โดยจัดภาพกึ่งกลางหน้ากระดาษ


9. บทความที่จะส่งเพื่อพิจารณาตีพิมพ์จะต้องไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่าง
การเสนอเพื่อพิจารณาเผยแพร่


10. ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ และตาราง ที่ตีพิมพ์ในวารสาร เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความแต่เพียงผู้เดียว มิใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารสถาบันราชสุดา กองจัดการ และสถาบันราชสุดา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล


11. การตรวจแก้ไขต้นฉบับ บรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขและตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลังตามความเหมาะสม

 

ข้อกำหนดการตีพิมพ์

1. ประเภทบทความที่ได้รับการตีพิมพ์
1.1 บทความวิจัย
1.2 บทความวิชาการ


2. ขอบเขตเนื้อหาบทความ


บทความที่จะนำมาตีพิมพ์ในวารสารนี้ ต้องเป็นบทความที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการส่งเสริม ฟื้นฟู บำบัด รักษา การให้การศึกษา การฝึกอาชีพ หรือการวิจัยในบุคคลกลุ่มต่าง ๆ ดังรายละเอียดต่อไปนี้


2.1 คนพิการ 9 ประเภท ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2552 ได้แก่


2.1.1 บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น
- คนตาบอด
- คนตาบอดบางส่วน หรือคนที่มีการเห็นเลือนราง


2.1.2 บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
- คนหูหนวก
- คนหูตึง


2.1.3 บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา


2.1.4 บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
- บกพร่องทางระบบประสาท
- บกพร่องทางกล้ามเนื้อและกระดูก
- ไม่สมประกอบมาแต่กำเนิด
- สภาพความบกพร่องทางร่างกาย และสุขภาพอื่น ๆ เช่น ผู้ป่วยโรคต่าง ๆ


2.1.5 บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้


2.1.6 บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา


2.1.7 บุคคลที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมหรืออารมณ์


2.1.8 บุคคลออทิสติก


2.1.9 บุคคลพิการซ้อน


2.2 บุคคลกลุ่มอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้แก่


2.2.1 ผู้สูงอายุที่มีปัญหาทางสุขภาพ


2.2.2 ผู้ด้อยโอกาส/ผู้ถูกทอดทิ้ง


2.2.3 ผู้ถูกทารุณกรรม


2.2.4 ทารกคลอดก่อนกำหนด

 

การพิจารณาตีพิมพ์

1. บทความทุกเรื่องจะได้รับการพิจารณาจากกองบรรณาธิการวารสาร ในประเด็นความสอดคล้องกับเป้าหมายของวารสาร สาขาวิชา ความถูกต้องของรูปแบบ และการใช้ถ้อยคำ

2. บทความที่ผ่านการพิจารณาจากกองบรรณาธิการวารสาร จะถูกส่งไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ (Reviewer) ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับบทความจำนวนอย่างน้อย 3 คนเพื่อทำการประเมินและให้ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ

3. กองจัดการวารสาร ทำการรวบรวมผลการประเมิน ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของกองบรรณาธิการและของผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ และจัดส่งให้เจ้าของบทความพิจารณาปรับแก้

4. เจ้าของบทความพิจารณาปรับแก้ตามความเหมาะสม และส่งฉบับแก้ไขให้กองบรรณาธิการ

5. กองบรรณาธิการดำเนินการตรวจสอบการปรับแก้ หากเห็นสมควรรับไว้ตีพิมพ์ จะจัดลำดับการตีพิมพ์และแจ้งให้เจ้าของบทความรับทราบ หากเห็นว่าไม่สมควร จะแจ้งเจ้าของบทความพร้อมเหตุผลประกอบต่อไป

 

การส่งบทความ (เอกสาร download) ส่งได้ตลอดปี ตามวิธีต่อไปนี้  

1. จัดทำบทความต้นฉบับตามคำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความ คำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความ_วารสารสถาบันราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ

2. กรอกแบบฟอร์มเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ แบบเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ (ใหม่)_วารสารสถาบันราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ

โดยผู้เขียนบทความจะต้องชำระค่าธรรมเนียมตีพิมพ์บทความเพื่อพิจารณาบทความสำหรับการตีพิมพ์ในวารสารสถาบันราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ รายละเอียดดังนี้  Publication Fee

3. ส่งแบบเสนอบทความตีพิมพ์และไฟล์บทความอิเล็กทรอนิกส์ต้นฉบับในรูปแบบ doc/docx และ pdf file ได้ที่ Make a Submission

นโยบายส่วนบุคคล

ชื่อ-นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ และอีเมลของเจ้าของบทความที่ระบุใน Website วารสาร หรือแบบเสนอการตีพิมพ์บทความนี้จะใช้เฉพาะวัตถุประสงค์การตีพิมพ์ในวารสารนี้เท่านั้น และจะไม่เผยแพร่เพื่อวัตถุประสงค์อื่น หรือเผยแพร่แก่บุคคลอื่น