การพัฒนาความสามารถในการออกแบบนวัตกรรม โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงออกแบบของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาพิเศษ ระดับปริญญาบัณฑิต
คำสำคัญ:
นวัตกรรมการศึกษา, การศึกษาพิเศษ, แนวคิดเชิงออกแบบบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนาความสามารถในการออกแบบนวัตกรรม โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงออกแบบของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาพิเศษ ระดับปริญญาบัณฑิต วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ คือ (1) เพื่อพัฒนาความสามารถในการออกแบบนวัตกรรม โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงออกแบบของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาพิเศษ ระดับปริญญาบัณฑิต (2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาพิเศษ ระดับปริญญาบัณฑิตจากการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงออกแบบ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาวิชาชีพครู ระดับปริญญาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวน 9 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) แบบแผน การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Design) การดำเนินการทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนเรียนและหลังเรียน (The One Group Pretest-Posttest Design) ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการประเมินความสามารถในการออกแบบนวัตกรรม โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงออกแบบของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาพิเศษ ระดับปริญญาบัณฑิต มีค่าเฉลี่ยร้อยละรวมทั้งหมด เท่ากับ ร้อยละ 88.15 ซึ่งผ่านเกณฑ์ตามสมมติฐานที่กำหนดไว้ (2) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาพิเศษ ระดับปริญญาบัณฑิตจากการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงออกแบบ โดยมีผลรวมรายด้าน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านที่ 1 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.55 ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่ 2 สื่อการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.51 ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านที่ 3 การวัดและประเมินผลมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.56 ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งมีค่าเฉลี่ยรวมทั้ง 3 ด้าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.51 ความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด ซึ่งผ่านเกณฑ์ตามสมมติฐานที่กำหนดไว้
Downloads
References
Brown, T. (2009). Design Thinking. Harvard Business Review. (2), 84-95.
Buasonte, R. (2019). Innovation Research and Development. Printing House of Chulalongkorn University.
Chittep, P. (2021). The Development of Social Innovation Creative Ability in Geography using Design Thinking Learning Process for Mathayom-Five Students [Master’s Thesis, Silpakorn University]. Graduate School, Silpakorn University. https://sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/26492?attempt=2&
Dewey, J. (1963). Experience and education. Macmillan Publishing Company.
Komonmarn, C. (2018). Social Innovation For Health Driving Through Child and Youth Participation. Journal of Social Work. 26(1), 120-145.
National Education Act B.E. 2542. (1999). Government Gazette. No.116 Section 74A. page 1-23.
Office of the Education Council, Ministry of Education. (2017). National education plan B.E. 2560-2579. Office of the Education Council.
Office of the National Economic and Social Development Council. (2017). National Economic and Social Development Plan No. 12 B.E. 2560-2564 (2017-2021.). Office of the National Economic and Social Development Council, Office of the Prime Minister Bangkok, Thailand.
Seidel, V. P., & Fixson, S. K. (2013). Adopting Design Thinking in Novice Multidisciplinary Teams: The Application and Limits of Design Methods and Reflexive Practices. Journal of Product Innovation Management, 30(1), 19-33.
Waichompu, N., & Jussapalo, C. (2017). Challenges of Nursing Instructors: Blended Learning. EAU HERITAGE JOURNAL SCIENCE AND TECHNOLOGY. 11(1), 15-29.
Waitayasin, P. (2019). Education 4.0: "Changing" The Learner to Innovator, Creating New Innovation Education. Education and Communication Technology Journal, 14(17), 37-51.
Ware, C. (2008). Visual Thinking: for Design. Morgan Kaufmann.
Yenawine, P. (2013). Visual Thinking Strategies: Using Art to Deepen Learning Across School Disciplines. Harvard Education Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสถาบันราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ