การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและกรอบคิดติดยึดเติบโตของนักเรียนประถมศึกษาที่บกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้ตามศักยภาพสมองร่วมกับหลักการพัฒนากรอบคิดติดยึดเติบโต
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้ตามศักยภาพสมองร่วมกับหลักการพัฒนากรอบคิดติดยึดเติบโต, หลักการพัฒนากรอบคิดติดยึดเติบโต , กรอบคิดติดยึดเติบโต , ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์บทคัดย่อ
นักเรียนประถมศึกษาที่บกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์มักมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ต่ำจึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนากรอบคิดติดยึดเติบโต เพื่อให้เกิดความคิดที่ไม่ยอมจำนนต่ออุปสรรคจนก้าวข้ามความล้มเหลวไปสู่ความสำเร็จในการเรียนคณิตศาสตร์ การวิจัยนี้จึงจัดการเรียนรู้ตามศักยภาพสมองร่วมกับหลักการพัฒนากรอบคิดติดยึดเติบโตเพื่อพัฒนานักเรียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและกรอบคิดติดยึดเติบโตของนักเรียนประถมศึกษาที่บกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้ตามศักยภาพสมองร่วมกับหลักการพัฒนากรอบคิดติดยึดเติบโต 2) ศึกษาผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ และ 3) ศึกษาผลการพัฒนากรอบคิดติดยึดเติบโตของนักเรียนประถมศึกษาที่บกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้ตามศักยภาพสมองร่วมกับหลักการพัฒนากรอบคิดติดยึดเติบโต ผู้เข้าร่วมวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ จำนวน 5 คน ใช้รูปแบบการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามศักยภาพสมองร่วมกับหลักการพัฒนากรอบคิดติดยึดเติบโต จำนวน 12 แผน แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบฝึกหัด สมุดบันทึกสาระสำคัญ และแบบวัดกรอบคิดติดยึดเติบโต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวทางในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และกรอบคิดติดยึดเติบโตของนักเรียนประถมศึกษาที่บกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้ตามศักยภาพสมองร่วมกับหลักการพัฒนากรอบคิดติดยึดเติบโต ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 เตรียมสมอง พัฒนากรอบคิด ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาสมองผ่านประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรม ขั้นตอนที่ 3 เรียนรู้เนื้อหา พัฒนาความรู้คณิตศาสตร์ ขั้นตอนที่ 4 ฝึกปฏิบัติ พัฒนาความสามารถ และขั้นตอนที่ 5 ประยุกต์ใช้ความรู้คณิตศาสตร์ในสถานการณ์ใหม่ 2. นักเรียนประถมศึกษาที่บกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ มีพัฒนาการของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ดีขึ้นอย่างเป็นลำดับ 3. นักเรียนประถมศึกษาที่บกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ มีพัฒนาการของกรอบคิดติดยึดเติบโตดีขึ้นอย่างเป็นลำดับ และหลังจัดกิจกรรมการเรียนรู้ครบทุกวงจรปฏิบัติการนักเรียนทุกคนมีกรอบคิดติดยึดเติบโต
Downloads
References
Anderman, E.M., Eccles, J.S., Yoon, K.S., Roeser, R., Wigfield, A. & Blumenfeld, P. (2001). Learning to value mathematics and reading: Relations to mastery and performance-oriented instructional practices. Contemporary Educational Psychology, 26(1), 76-95. https://doi.org/10.1006/ceps.1999.1043
Arayawinyu, P. (2006). Research to develop innovations for children with learning disabilities in mathematics. Wankaew.
Boaler, J. (2016). Mathematical mindsets: Unleashing students' potential through creative math, inspiring messages and innovative teaching. Jossey-Bass.
Changwadsuk, O. (2011). The development of learning achievement in mathematics on variation word problems of first - year low achievers in vocational certificate program through remedial mathematics activity packages [Master’s thesis, Srinakharinwirot University]. Srinakharinwirot University Institutional Repository (SWU IR). https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/757
Dweck, C.S. (2006). Mindset: The new psychology of success. Random House.
Dweck, C.S. (2012). Mindset: How you can fulfill your potential. Constable and Robinson.
ElAdl, A. M. (2020). Effectiveness of a Brain-Based learning theory in developing mathematical skills and scientific thinking among students with learning disabilities in Oman. Psycho-Educational Research Reviews, 9(2), 67-74.
Jansrisukot, J. (2017). Learning management for children with learning disabilities. Education, Udon Thani Rajabhat University.
Kaemanee, T. (2020). The art of teaching: Knowledge for the effective teaching and learning. Chulalongkorn University.
Kolb, A.Y. & Kolb, D.A. (2009). The learning way: Meta-cognitive aspects of experiential learning. Simulation & Gaming, 40(3), 297-327. https://doi.org/10.1177/1046878108325713
Kolb, D. A. (1984). Experiential learning: Experience as the source of learning and development. Pretice-Hall.
Morgenroth, T., Ryan, M. K., & Peters, K. (2015). The motivational theory of role modeling: How role models influence role aspirants’ goals. Review of General Psychology, 19(4), 465-483. https://doi.org/10.1037/gpr0000059
Paunesku, D. (2013). Scaled-up social psychology: Intervening wisely and broadly in education. [Doctoral dissertation, Stanford university]. Stanford. https://web.stanford.edu/~paunesku/paunesku_2013.pdf
Rangsan, S. (2018). Development of an educational intervention prototype to enhance growth mindset and numeracy skills for elementary students who are at risk of mathematics. [Doctoral dissertation, Chulalongkorn University]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). http://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/73263/1/Edu_6083359727_San%20Ra.pdf
Royal Institute. (2012). Education dictionary Royal Institute edition. Aroonprinting.
Sarkhan, N. (2022). Teaching the children with learning disabilities. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(2), 413.
Sriram, R. (2013). Rethinking intelligence: The role of mindset in promoting success for academically high-risk students. Journal of College Student Retention: Research, Theory & Practice, 15(4), 515-536. https://doi.org/10.2190/CS.15.4.c
Thamrongsottisakul, S. (2017). The development of reading instructional model based on the concepts of brain-based learning and multisensory for students with reading disabilities in primary school. Special needs student potential development center of Tha-it school, Uttaradit, Thailand.
Wongchotikul, S., Chaturanon, W. & Bumrerraj, S. (2017). The development of mathematics teaching model on the Brain-Based learning for elementary students. Journal of Graduate School Sakon Nakhon Rajabhat University, 14(65), 193-198.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสถาบันราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ