การพัฒนาความสามารถในการสื่อสารโดยใช้ระบบแลกเปลี่ยนรูปภาพของนักเรียนออทิสติก ที่มีความบกพร่องในช่องปากเนื่องจากอุบัติเหตุ
คำสำคัญ:
ความสามารถในการสื่อสาร, ระบบแลกเปลี่ยนรูปภาพ, นักเรียนออทิสติกที่มีความบกพร่องในช่องปากเนื่องจากอุบัติเหตุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการสื่อสารโดยใช้ระบบแลกเปลี่ยนรูปภาพของนักเรียนออทิสติกที่มีความบกพร่องในช่องปากเนื่องจากอุบัติเหตุ กลุ่มเป้าหมายครั้งนี้ คือ นักเรียนออทิสติกที่มีความบกพร่องในช่องปากเนื่องจากอุบัติเหตุถูกสุนัขพันธุ์ร็อตไวเลอร์ขยุ้มกัดใบหน้าจนเสียโฉมและปากแหว่ง เพศชาย อายุ 5 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ระบบแลกเปลี่ยนรูปภาพ 2) บัตรรูปภาพ 3) แบบประเมินพัฒนาการทางการสื่อสาร การดำเนินการวิจัยมี 3 ระยะ คือ 1. การแลกเปลี่ยนภาพ 2. การเพิ่มระยะห่าง 3. การแยกแยะภาพ การแสดงผลการวิจัยโดยใช้กราฟ วิเคราะห์ข้อมูลและเปรียบเทียบค่าร้อยละความก้าวหน้าทางการสื่อสาร และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีความสามารถในการสื่อสารก่อนการฝึกคิดเป็นร้อยละ 0 หลังจากได้รับการสอนโดยใช้ระบบแลกเปลี่ยนรูปภาพ นักเรียนสามารถสื่อสารในระยะที่ 1 การแลกเปลี่ยนภาพ คิดเป็นร้อยละ 75 ระยะที่ 2 การเพิ่มระยะห่าง คิดเป็นร้อยละ 70 และระยะที่ 3 การแยกแยะภาพ คิดเป็นร้อยละ 80 รวมเวลาในการสอน 15 ครั้ง ความสามารถในการสื่อสารของเด็กออทิสติกหลังการสอนโดยใช้ระบบแลกเปลี่ยนรูปภาพสูงกว่าก่อนได้รับการสอน เนื่องมาจากนักเรียนเข้าใจความหมายของรูปภาพและฝึกปฏิบัติตามขั้นตอนได้อย่างถูกต้อง
Downloads
References
Bondy, A.S. & Frost, L.A. (1994). The Picture Exchange Communication System. Focus on
Autistic Behaviour, 9, 1–19.
Bondy, A.S. & Frost, L.A. (2003). A Pictures Worth PECS and Other Visual Communication Strategiesin Autism. Bethesda, MD: Woodbine House.
Georgia, A. M. & Areti, O. (2007). The Application of PECS in a Deaf Child With Autism : A Case Study. Focus on autism and other developmental. disabilities. 22(1),207
Lin, S. (2006). The use of the picture exchange communication system to improve communication skills in a child with multiple disabilities. National Taiwan Normal University, Department of Special Education. Taipei, Taiwan.
Maggie, H. (2010). How the Picture Exchange Communication System (PECS) Assists Children with Autism Acquire Language. Rochester, NY: St. John Fisher College.
Tien. K.C. (2008). “Effectiveness of the Picture Exchance Communication System as a Functional Communication Intervention for Individuals with Autism Spectrum Disorders: A Practice Based Research Synthesis.” Education and Training in Developmental Disabilities March 2008 (Online). blueman.wikispaces.com/file/…/Tien 2008 effectiveness of PECS.pdf,March 1, 2012.
Wansej, S. (2008). Production and use of learning support media through looking for autistic individuals in the home and community. Khon Kaen. Kangnanawittaya.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ