ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจขอไถ่ถอนจำนอง ของกลุ่มลูกค้าธนาคารอาคารสงเคราะห์

Main Article Content

วรรณชลี ปัทมะผลิน
เอกชัย อภิศักดิ์กุล

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจไถ่ถอนจำนองไปธนาคารอื่นของกลุ่มลูกค้าสินเชื่อเดิม และศึกษาหาแนวทางลดปริมาณการขอไถ่ถอนจำนองของกลุ่มลูกค้าธนาคารอาคารสงเคราะห์ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงแบบผสมผสาน ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม จำนวน 400 คน และสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึก จำนวน 10 คน สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05


ผลการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 50.50 มีอายุระหว่าง 31-40 ปี ร้อยละ 66.25 สถานภาพโสด ร้อยละ 60.00 จบการศึกษาสูงสุดอยู่ในระดับปริญญาตรี ร้อยละ 77.50 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 34.50 ด้านพฤติกรรมผู้บริโภคพบว่าลูกค้าปัจจุบันมีสินเชื่อกับสถาบันการเงินอื่น ร้อยละ 50.00 วัตถุประสงค์ในการใช้บริการสินเชื่อกับธนาคารอาคารสงเคราะห์คือ เพื่อซื้อ/สร้างที่อยู่อาศัย ร้อยละ 77.80 ส่วนใหญ่ตัดสินใจใช้บริการสินเชื่อกับธนาคาร ธอส. ด้วยตนเอง ร้อยละ 80.50 ความคาดหวังมากที่สุด คือ ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย/ค่าธรรมเนียมลดลง ร้อยละ 49.30 และปัจจุบันใช้บริการธุรกรรมทางการเงินโมบายแบงก์กิ้งเกี่ยวกับชำระค่าสินค้าและบริการ ร้อยละ 42.80 เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์พบว่าปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านราคา ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านบุคลากรผู้ให้บริการมีผลต่อการตัดสินใจ ขอไถ่ถอนจำนอง จากการสัมภาษณ์พบว่า ลูกค้าส่วนใหญ่รู้สึกมั่นใจในธนาคาร และอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าธนาคารอื่น อย่างไรก็ตามอัตราดอกเบี้ยการขอไถ่ถอนจำนองยังค่อนข้างสูง รวมถึง ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ปริมาณลูกค้าเยอะจะทำให้การบริการล่าช้า ดังนั้นธนาคารควรยกระดับกระบวนบริการลูกค้า โดยการทำให้การทำธุรกรรมทุกอย่างให้รวดเร็วและทำให้ง่ายต่อลูกค้า รวมถึงปรับราคาดอกเบี้ย เพิ่มความแข็งแกร่งในการแข่งขันกับธนาคารอื่น ๆ โดยเสนออัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าหรือเทียบเท่ากับธนาคารอื่น ๆ โดยเฉพาะกับลูกค้าที่มีประวัติดีและดอกเบี้ยเป็นศูนย์หรือดอกเบี้ยต่ำ

Article Details

How to Cite
ปัทมะผลิน ว. ., & อภิศักดิ์กุล เ. (2024). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจขอไถ่ถอนจำนอง ของกลุ่มลูกค้าธนาคารอาคารสงเคราะห์ . วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 3(2), 161–180. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RPUBAJOURNAL/article/view/284448
บท
บทความวิจัย