วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ เป็นวารสารวิชาการอิเล็กทรอนิกส์ ที่เป็นสื่อกลางในการสนับสนุน ส่งเสริม และเผยแพร่ ผลงานวิจัยในด้าน บริหาร เศรษฐศาสตร์ บัญชี การเงินและการธนาคาร การบริหารจัดการทั่วไป การท่องเที่ยวการโรงแรมและการบริการ การบริหารการขนส่ง ซัพพลายเชน และโลจิสติกส์  ศาสตร์อื่น ๆ ทีเกี่ยวข้อง ตลอดจนข้อค้นพบใหม่ ๆ ระหว่างนักวิจัย และสังคมภายนอก อีกทั้งมีเป้าหมายในการสื่อสารทางวิชาการอย่างถูกต้อง มีคุณภาพ โปร่งใส และสอดคล้องกับมาตรฐานการตีพิมพ์

          บทบาทหน้าที่สำหรับบุคคลในวารสาร มี 3 กลุ่ม คือ ผู้นิพนธ์ (Author) บรรณาธิการ (Editor) และผู้ประเมินบทความ (Reviewer) ซึ่งได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดในบทบาทและหน้าที่อย่างเคร่งครัด โดยมีรายละเอียดดังนี้

บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการ (Duties of Editors)

          1.บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณา กลั่นกรอง ควบคุมคุณภาพของบทความ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารให้เป็นไปตามขอบเขต วัตถุประสงค์ และมาตรฐานวารสาร

          2.บรรณาธิการไม่เปิดข้อมูลของผู้นิพนธ์ และผู้กลั่นกรองแก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง

          3.บรรณาธิการตัดสินใจคัดเลือกบทความมาตีพิมพ์หลังจากผ่านกระบวนการประเมินบทความแล้ว โดยพิจารณาจาก ความสำคัญ ความใหม่ ความชัดเจน และความสอดคล้องของเนื้อหากับนโยบายวารสาร

          4.บรรณาธิการต้องคัดเลือกบทความที่ยังไม่เคยตีพิมพ์จากที่อื่นมาแล้ว

          5.บรรณาธิการต้องปฏิบัติต่อผู้นิพนธ์ด้วยเหตุผลเชิงวิชาการ พิจารณาบทความด้วยความเที่ยงธรรม ปราศจากอคติต่อบทความและผู้นิพนธ์ อาทิ ด้านสังกัด ด้านเชื้อชาติ ศาสนา เพศ วัฒนธรรม ทัศนคติด้านการเมืองของผู้นิพนธ์ ฯลฯ

          6.บรรณาธิการต้องไม่ปฏิเสธ การตีพิมพ์บทความเพราะความสงสัยหรือไม่แน่ใจ ต้องหาหลักฐานมาพิสูจน์ให้แน่ชัดก่อนก่อน

          7.บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ ผู้ประเมิน และทีมผู้บริหารของคณะวารสาร

          9.บรรณาธิการต้องมีการตรวจสอบบทความในด้านการคัดลอกผลงานของผู้อื่น (Plagiarism) โดยใช้โปรแกรมที่เชื่อถือได้ เพื่อให้แน่ใจว่าบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารไม่มีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น

หากตรวจสอบพบการคัดลอกของผู้อื่นในกระบวนการประเมินบทความ บรรณาธิการต้องหยุดกระบวนการประเมิน และติดต่อผู้นิพนธ์หลักทันที เพื่อขอคำชี้แจง เพื่อ “ตอบรับ” หรือ “ปฏิเสธ” การตีพิมพ์บทความ

          10.บรรณาธิการไม่ควรเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจ

บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Duties of Reviewers)

          1.ผู้ประเมินบทความต้องได้รับระบบปกป้องข้อมูลส่วนตัวของผู้ประเมินบทความ ยกเว้นกรณีที่มีการประเมินบทความแบบเปิด ซึ่งได้แจ้งให้ผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความรับทราบล่วงหน้า

          2.ผู้ประเมินบทความต้องได้รับระบบที่ทำให้เกิดความมั่นใจได้ว่าบทความที่ส่งเข้ามาทำการประเมิน ได้รับการปกปิดความลับในระหว่างขั้นตอนการพิจารณาประเมิน

          3.ผู้ประเมินบทความต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาแก่บุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ

          4.ผู้ประเมินบทความต้องคำนึงถึงคุณภาพบทความ พิจารณาบทความภายใต้เหตุผลเชิงวิซาการพิจารณาบทความด้วยความเที่ยงธรรม ปราศจากอคติต่อบทความและผู้นิพนธ์ อาทิ ด้านสังกัด ด้านเชื้อชาติ ศาสนา เพศ วัฒนธรรม ทัศนคติด้านการเมืองของผู้นิพนธ์ ฯลฯ

          5.หลังจากได้รับบทความจากบรรณาธิการวารสาร และผู้ประเมินบทความตระหนักว่าตัวเองอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ เช่น เป็นผู้ร่วมโครงการ หรือรู้จักผู้นิพนธ์เป็นการส่วนตัว หรือเหตุผลอื่น ๆ ที่ทำให้ไม่สามารถให้ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะอย่างอิสระได้ ผู้ประเมินบทความควรแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบ และปฏิเสธการประเมินบทความนั้น ๆ

          6.ผู้ประเมินบทความต้องรับทราบคำแนะนำในทุกประเด็นที่บรรณาธิการวารสารคาดหวัง และต้องรับทราบการปรับปรุงคำแนะนำที่ทันสมัยอยู่เสมอ ซึ่งสามารถอ้างอิง หรือเชื่อมโยงกับระเบียบดังกล่าว

          7.ผู้ประเมินบทความ ควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาความสำคัญของเนื้อหาในบทความที่จะมีต่อสาขาวิชานั้น ๆ คุณภาพของการวิเคราะห์ และความเข้มข้นของผลงาน

          8.ผู้ประเมินบทความไม่ควรใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความวิจัย

          9.หากผู้ประเมินบทความทราบว่ามีส่วนใดของบทความที่มีความเหมือน หรือซ้ำซ้อนกับผลงานชิ้นอื่น ๆ ผู้ประเมิน        บทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบด้วย

บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Duties of Authors)

          1.เนื้อหาทั้งหมดของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารผู้นิพนธ์มีการคิด ค้นคว้า ทบทวน วิเคราะห์ สรุป เรียบเรียง และอ้างอิงข้อมูลโดยผู้เขียนเองกองบรรณาธิการไม่มีส่วนร่วมรับผิดชอบใด ๆ

          2.ผู้นิพนธ์ต้องได้รับความเห็นชอบในการส่งบทความจากผู้ร่วมนิพนธ์ (ถ้ามี)

          3.ผู้นิพนธ์ต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ของต้นฉบับในทุกกรณี

          4.ผู้นิพนธ์ที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคน ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง

          5.บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารนี้ต้องไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น หากตรวจพบว่า มีการตีพิมพ์ซ้ำช้อน ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์แต่เพียงผู้เดียว ในการละมิดลิขสิทธิ์ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของวารสารห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร

          6.ผู้นิพนธ์ต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูล หรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ

          7.ผู้นิพนธ์ต้องตรวจสอบจนมั่นใจว่ารายละเอียดทุกส่วนในบทความวิจัยที่จะตีพิมพ์ในวารสารถูกต้องและต้องเป็นไปตามหลักจริยธรรมสากลที่ได้รับการยอมรับ

          8.ผู้นิพนธ์ต้องยอมรับคำวิจารณ์ และสามารถชี้แจงตอบกลับได้โดยมีข้อมูลสนับสนุนการวิจัยอย่างครบถ้วนสมบูรณ์

          9.ผู้นิพนธ์ต้องอ้างอิงผลงานวิจัยของผู้อื่น หากมีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานของตัวเองจะต้องจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความตามรูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงใน “การเตรียมบทความ”

          10.ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความวิจัยให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดใน “การเตรียมบทความ”