ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการมาตรวจคัดกรองโรคเบาหวานของประชากร อายุ 35 ปีขึ้นไปในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสิงหนาท ตำบลสิงหนาท อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ประยุทธ ไตรสารศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการมาตรวจคัดกรองโรคเบาหวานของประชากรอายุ 35 ปีขึ้น กลุ่มตัวอย่างคือ ประชากรที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่ยังไม่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน จากเขตพื้นที่รับผิดชอบใน 3 ชุมชน จำนวน 300 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยการจับสลากรายชื่อจากประชากรที่ต้องรับการคัดกรองโรคเบาหวานในแต่ละชุมชน ๆ ละ 100 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงวิเคราะห์ คือ Chi–square กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05


ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานของกลุ่มตัวอย่างคือ ศาสนา อาชีพ และประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05 ระดับความรู้มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานของกลุ่มตัวอย่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05 และระดับความเชื่อด้านสุขภาพ คือ การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้ความเสี่ยง การรับรู้ประโยชน์ และการรับรู้อุปสรรคมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานของกลุ่มตัวอย่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05

Article Details

How to Cite
ไตรสารศรี ป. . (2024). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการมาตรวจคัดกรองโรคเบาหวานของประชากร อายุ 35 ปีขึ้นไปในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสิงหนาท ตำบลสิงหนาท อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 3(2), 111–126. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RPUBAJOURNAL/article/view/284445
บท
บทความวิจัย