คุณลักษณะคณะกรรมการตรวจสอบที่ส่งผลต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กร ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Main Article Content

ชิดชนก มากเชื้อ
ชฎามาศ แก้วสุกใส
ปรัศนีย์ กายพันธุ์

บทคัดย่อ

การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะคณะกรรมการตรวจสอบกับการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 257 ตัวอย่าง จาก 715 บริษัท โดยวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis)  


          ผลการศึกษา พบว่า คุณลักษณะของคณะกรรมการตรวจสอบด้านปฏิบัติตามกฎหมาย ด้านความรับผิดชอบต่อผู้สอบบัญชี และด้านการจัดทำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรด้านการเงิน คุณลักษณะคณะกรรมการตรวจสอบด้านปฏิบัติตามกฎหมาย และด้านความรับผิดชอบต่อผู้สอบบัญชี มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรด้านลูกค้า คุณลักษณะคณะกรรมการตรวจสอบด้านปฏิบัติตามกฎหมาย และด้านความรับผิดชอบต่อผู้สอบบัญชี มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรด้านกระบวนการภายใน และคุณลักษณะคณะกรรมการตรวจสอบด้านความถูกต้องของรายงานทางการเงิน ด้านความรับผิดชอบต่อผู้สอบบัญชี และด้านการจัดทำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรด้านการเรียนรู้และพัฒนา หนึ่งในบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ คือ การรายงานผลการปฏิบัติงาน โดยแสดงความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของระบบการควบคุมภายใน การบริหารความเสี่ยงที่เพียงพอ ซึ่งหากองค์กรมีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสม จะช่วยส่งเสริมให้การปฏิบัติงานสำเร็จผลอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความสามารถในการแข่งขันในภาคธุรกิจ ซึ่งผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นได้ว่าคุณลักษณะของคณะกรรมการตรวจสอบจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กร

Article Details

How to Cite
มากเชื้อ ช. ., แก้วสุกใส ช. ., & กายพันธุ์ ป. (2024). คุณลักษณะคณะกรรมการตรวจสอบที่ส่งผลต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กร ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 3(2), 90–110. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RPUBAJOURNAL/article/view/284444
บท
บทความวิจัย