ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพด้วยการประยุกต์หลักการการจัดการตนเอง (Self management) ในการลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 5 ตำบลชัยนาท อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท

Main Article Content

ดวงใจ เกริกชัยวัน

บทคัดย่อ

ที่มา: ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปี พ.ศ. 2564 จังหวัด ชัยนาท มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น ร้อยละ 22.44  ต่อมาในปี พ.ศ. 2565 จำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีอัตราป่วยเป็นอันดับ 2 ของคนในจังหวัด ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่ไม่สามารถลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงของประชาชนได้


รูปแบบการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง


วัสดุและวิธีการ: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมลดพฤติกรรมเสี่ยงการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โดยประยุกต์ใช้แนวคิดการจัดการตนเอง ร่วมกับแนวคิดการส่งเสริมสุขภาพ 3อ. 2ส. ได้แก่ การกินอาหารหวาน อาหารเค็ม อาหารที่เป็นของมันของทอด การดื่มเครื่องดื่มประเภทกาแฟ ชา น้ำปั่น เครื่องดื่มชูกำลัง การไม่ออกกำลังกาย การจัดการกับความเครียด การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่  กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 34 คน ที่อาศัยอยู่ที่ หมู่ที่ 5 ตำบลชัยนาท อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถามพฤติกรรมเสี่ยงที่ประยุกต์จากแนวคิด 3อ. 2ส. วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (descriptive statistics) โดยการแจกแจงความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับสถิติเชิงอนุมาน (inferential statistics) เปรียบเทียบก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมด้วยสถิติ paired t-test และ repeated ANOVA


ผลการศึกษา: พบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมเสี่ยงโดยรวมลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกาย (กก./ม.2) และความยาวรอบเอว (ซม.) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ค่าเฉลี่ยความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว (SBP)  ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 ค่าเฉลี่ยความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว (DBP) มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ


สรุป: โปรแกรมลดพฤติกรรมเสี่ยงที่ออกแบบโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการจัดการตนเอง ในการรับประทานอาหารหวาน อาหารเค็ม อาหารที่เป็นของมันของทอด การดื่มเครื่องดื่มประเภทกาแฟ ชา น้ำปั่น เครื่องดื่มชูกำลัง การไม่ออกกำลังกาย การจัดการกับความเครียด การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ สามารถช่วยให้ประชาชนมีพฤติกรรมเสี่ยงลดลงได้


คำสำคัญ: โปรแกรมการจัดการตนเอง พฤติกรรมเสี่ยง ความดันโลหิตสูง

Article Details

How to Cite
1.
เกริกชัยวัน ด. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพด้วยการประยุกต์หลักการการจัดการตนเอง (Self management) ในการลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 5 ตำบลชัยนาท อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท. PCFM [อินเทอร์เน็ต]. 26 ธันวาคม 2024 [อ้างถึง 5 กุมภาพันธ์ 2025];7(4):404-12. available at: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/PCFM/article/view/284258
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

World Health Organization. Global report on hypertension the race against a silent Killer. [Internet]. 2023 [cited 2023 Jan 12]. Available from: https://www.who.int/teams/noncommunicable-diseases/hypertension-report int/news-room/fact-sheets/ detail/noncommunicable-diseases

World Health Organization. Non-communicable diseases. [Internet]. 2023 [cited 2022 Nov 28]. Available from: https://www.who. int/news-room/fact-sheets/ detail/noncommunicable-diseases.

ณัฐธิวรรณ พันธ์มุง, อลิสรา อยู่เลิศลบ, สราญรัตน์ ลัทธิ. ประเด็นการรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลก ปี 2562. ม.ป.ท.; 2562.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาท. รายงานประจำปี 2565 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาท [อินเทอร์เน็ต]. ชัยนาท : สำนักงาน; 2565 [เข้าถึงเมื่อ16 ส.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.cnto.moph. go.th/upload_files/%

อำไพพร ก่อตระกูล, พิสมัย วัฒนสิทธิ์. รายงานการวิจัยความสัมพันธ์ระหว่างค่าสัดส่วนของร่างกายกับภาวะความดันโลหิตสูงในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. สงขลา: คณะพยาบาลศาสตร์ ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2557.

American Heart Association. High blood pressure. [Internet]. 2023 [cited 2022 Oct 20]. Available from: https://www.heart.org/en/health-topics/high-blood-pressure

Wagner EH, Austin BT, Davis C, Hindmarsh M, Schaefer J, Bonomi A. Improving chronic illness care: translating evidence into action. Health Aff (Millwood). 2001;20:64-78.

Kanfer FH, Gaelick-Buys, L. Self-management methods. In: Kanfer FH, Goldtein A, editors. Helping people change: A text book of methods. 4th ed. Bangkok: Pergamon press; 1991. p. 100-19.

กระทรวงสาธารณสุข กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กองสุขศึกษา. แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ตาม 3อ. 2ส. ของประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ฉบับปรับปรุง ปี 2561 [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 10 ก.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nkp-hospital.go.th/th/H.ed/mFile/20180627124613.pdf

Yamane, T. Statistics: an introductory statistics. 2nd ed. New York: Harper & Row; 1967.

พิมพ์ใจ อุ่นบ้าน, สุมิตรพร จอมจันทร์, ณิชชา ทิพย์วรรณ. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. 2564;13:59-72.

ละอองดาว คำชาตา, ชดช้อย วัฒนะ, ธีรนุช ห้านิรัติศัย. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเอง เส้นรอบวงเอว ระดับน้ำตาลในเลือดและความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ที่มีกลุ่มอาการเมตาโบลิก. วารสารพยาบาลสาร. 2560;51:65-76.

อรัญญา วงศ์สวัสดิ์, วัลภา เฟือยงาราช. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลคำตากล้า จังหวัดสกลนคร. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน. 2567;9:480-8.

ณัฐดนัย สดคมขำ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการควบคุมระดับความ ดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดปฐมภูมิ จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต. 2565;2:25-36.

Mariano IM, Amaral AL, Ribeiro P, Puga GM. Single session of exercise reduces blood pressure reactivity to stress: a systematic review and meta-analysis [Internet]. Scientific Report. 2022 [cited 2024 Feb 2024]. Available from: https://www.nature.com/articles/s41598-022-15786-3