มุมมองต่อบทบาทการทำงานของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ของผู้มีส่วนร่วมในระบบสุขภาพปฐมภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวเป็นสาขาวิชาชีพเฉพาะทางสาขาหนึ่งที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ ในฐานะ “หมอประจำตัว” ของประชาชน แต่การเลือกเข้าศึกษาต่อในสาขาแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวยังมีข้อจำกัด และการทำงานในบริบทพื้นที่ยังมีความท้าทายสูง จึงมีการศึกษาเกี่ยวกับมุมมองของสหวิชาชีพซึ่งเป็นผู้มีส่วนร่วมในระบบสุขภาพปฐมภูมิต่อการดำเนินงานของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวในระยะเวลาที่ผ่านมา เพื่อช่วยสะท้อนบทบาทของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และนำไปสู่การวางแผนเชิงนโยบายในการผลิตแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวในประเทศไทยต่อไป
จากการศึกษาภาคตัดขวางโดยวิเคราะห์จากฐานข้อมูลของราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวในการประเมินมุมมองต่อบทบาทการทำงานของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวของผู้มีส่วนร่วมในระบบสุขภาพปฐมภูมิ ที่มีประสบการณ์การทำงานร่วมกับหรือรู้จักการทำงานของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี ซึ่งดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2567 ถึง 20 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ทางแบบสอบถามอิเล็กทรอนิกส์ผ่านตัวแทนเขตสุขภาพ 12 เขตทั่วประเทศ พบว่ามีผู้ตอบแบบสอบถาม 275 คน ส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวเป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ที่ต้องมีการฝึกอบรม มีความสำคัญต่อระบบสุขภาพ และเป็นที่ยอมรับในระบบการแพทย์ของประเทศไทย และเห็นด้วยมากต่อบทบาทของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ สร้างผลลัพธ์ในเชิงประจักษ์ให้กับระบบสุขภาพ ทั้งการเพิ่มศักยภาพการบริการเฉพาะด้านในโรงพยาบาล ช่วยให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างสหวิชาชีพ ลดภาระงานของโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิและตติยภูมิ ทั้งยังสร้างคุณค่า และพัฒนาศักยภาพให้กับบริการปฐมภูมิ
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาในมุมของแพทย์ด้วยกัน เห็นว่าแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวเป็นที่ยอมรับในระบบการแพทย์ของประเทศไทยน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับมุมมองจากกลุ่มที่ไม่ใช่แพทย์ และผู้ที่เป็นผู้บริหารและเป็นแพทย์เห็นว่าระบบสาธารณสุขไทยสนับสนุนการทำงานของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวให้ทำงานเต็มศักยภาพในระดับที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับมุมมองจากผู้ที่ไม่ได้เป็นผู้บริหารและไม่ได้เป็นแพทย์
ในมุมมองของผู้มีส่วนร่วมในระบบสุขภาพปฐมภูมิ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวมีบทบาทในการพัฒนา และการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ ช่วยให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี ทั้งต่อผู้ป่วย ต่อระบบบริการสุขภาพทั้งสามระดับ จึงควรมีการสนับสนุนนโยบายการเพิ่มการผลิตแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวตามพรบ.ระบบสุขภาพปฐมภูมิอย่างมีประสิทธิภาพ และสนับสนุนให้มีการสร้างการยอมรับในวงกว้างและการสร้างระบบสนับสนุนเพื่อให้แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวสามารถปฏิบัติงานได้เต็มศักยภาพในระบบบริการปฐมภูมิ
คำสำคัญ: แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ผู้มีส่วนร่วม ระบบสุขภาพปฐมภูมิ การรับรู้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร PCFM ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร PCFM ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร PCFM หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสาร PCFM ก่อนเท่านั้น
References
Starfield B, Shi L. Policy relevant determinants of health: an international perspective. Health Policy. 2002;60:201-18.
Starfield B, Shi L, Macinko J. Contribution of primary care to health systems and health. Milbank Q. 2005;83:457-502.
Muldoon LK, Hogg WE, Levitt M. Primary care (PC) and primary health care (PHC). What is the difference? Can J Public Health. 2006;97:409-11.
Švab I, Cerovečki V. Person-centred care, a core concept of family medicine. Eur J Gen Pract. 2024;30: 2393860. PubMed PMID: 39190294
Morken C, Bruksch-Meck K, Crouse B, Traxler K. Factors Influencing Rural Physician Retention Following Completion of a Rural Training Track Family Medicine Residency Program. Wmj. 2018;117:208-10.
WONCA Europe. The European definition of general practice/family medicine. Barcelona: WONCA Europe. 2002.
สุคนธ์ทิพย์ บุญยัง. ความคาดหวังของผู้รับบริการและทีมหมอครอบครัวต่อบริการของคลินิกหมอครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่. Journal of Health Science of Thailand. 2021;30:262-73.
พณัชกร มีสิทธิ์, หทัยทิพย์ ธรรมวิริยะกุล. บทบาทของแพทย์เวชปฏิบัติครอบครัวและความสุขในการทำงานบริการปฐมภูมิในพื้นที่ภาคใต้. บูรพาเวชสาร. 2017;4:40-8.
Okkes IM, Polderman GO, Fryer GE, Yamada T, Bujak M, Oskam SK, et al. The role of family practice in different health care systems: a comparison of reasons for encounter, diagnoses, and interventions in primary care populations in the Netherlands, Japan, Poland, and the United States. J Fam Pract. 2002;51:72-3.
Akhgar A, Alizadeh M, Khodayari-Zarnaq R, Hossein J. Expected Outcomes from Family Medicine Specialized Graduates in Iranian Health System from the Viewpoints of Stakeholders: A Qualitative Study. Depiction of Health. 2020;11:214-22.