ลักษณะการทำงาน ปัญหาอุปสรรคและความต้องการของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวไทย ลักษณะการทำงาน ปัญหาอุปสรรคและความต้องการของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

Main Article Content

อรรถกร รักษาสัตย์
นิยม บุญทัน
จารุวรรณ เถื่อนมั่น
สุพัตรา ศรีวณิชชากร

บทคัดย่อ

ที่มา: เวชศาสตร์ครอบครัว เป็นสาขาเฉพาะทางที่ดูแลผู้ป่วยในทุกช่วงวัยอย่างต่อเนื่อง สร้างสัมพันธ์กับผู้ป่วยและครอบครัว และเป็นส่วนสำคัญในระบบสุขภาพปฐมภูมิ แต่มีภาระงานหลากหลายมากกว่าที่กำหนดไว้ และมีปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานในพื้นที่  การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาลักษณะการทำงาน ปัญหาอุปสรรค และสิ่งสนับสนุนที่ต้องการของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวในประเทศไทย เพื่อเสนอแนวทางผลักดันต่อไป


วัสดุและวิธีการ: ใช้วิธีการศึกษาแบบผสม (mixed methods) โดยใช้ข้อมูลจากราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทยที่เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์จากข้อคำถามปลายเปิด


ผลการศึกษา: แพทย์ 842 คน เพศหญิงร้อยละ 55.3 อายุเฉลี่ย 40.3 ปี มีการกระจุกตัวที่จังหวัดใหญ่ เช่น กรุงเทพมหานคร ร้อยละ 13.7 พบว่าแพทย์มีลักษณะการทำงานที่หลากหลาย ไม่จำเพาะกับปฐมภูมิ ได้ปฏิบัติงานด้านปฐมภูมิ 3 วันต่อสัปดาห์ขึ้นไป ร้อยละ 41.5 ปัญหาอุปสรรคที่สำคัญ คือ ขาดการให้ความสำคัญและสนับสนุนร้อยละ 46.2 ภาระงานมากหลากหลายร้อยละ 31.7 ขาดแคลนบุคลากรร้อยละ 21.9 สิ่งที่ต้องการสนับสนุนคือ ด้านบุคลากรร้อยละ 29.7 การสร้างความเข้าใจให้ความสำคัญกับเวชศาสตร์ครอบครัวร้อยละ 25.2 ค่าตอบแทนร้อยละ 21.5


สรุป: จำนวนแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวไม่เพียงพอ อัตราส่วนต่อประชากรไม่เหมาะสม มีภาระหน้าที่หลากหลาย ขาดการสนับสนุนและให้ความสำคัญ ทำให้งานบริการในระบบสุขภาพปฐมภูมิมีประสิทธิภาพไม่เต็มที่


คำสำคัญ: แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ลักษณะงาน ปัญหาอุปสรรค

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ
Author Biographies

อรรถกร รักษาสัตย์, ศูนย์การุณรักษ์

 

 

นิยม บุญทัน

 

 

สุพัตรา ศรีวณิชชากร , ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย

 

 

References

The Speciality of Family Medicine [Internet]. 2023 [cited 2023 Apr 6]. Available from: https://www.aafp.org/about/dive-into-family-medicine/family-medicine-speciality.html

Tseng LO, Newton C, Hall D, Lee EJ, Chang H, Poureslami I, et al. Primary care family physicians’ experiences with clinical integration in qualitative and mixed reviews: a systematic review protocol. BMJ Open. 2023;13:e067576. PubMed PMID: 37433736

Hashim MJ. Principles of family medicine and general practice - defining the five core values of the specialty. J Prim Health Care. 2016;8:283-7.

สถิติการฝึกอบรม [อินเทอร์เน็ต]. ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 6 เม.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://thaifammed.org/training/page-03-1/

กลุ่มประชาสัมพันธ์. สธ.มอบของขวัญปีใหม่ 2564 คนไทยทุกคนมีหมอประจำตัว 3 คน “ดูแลใกล้ตัว ใกล้บ้าน ใกล้ใจ” [อินเทอร์เน็ต]. ประชาสัมพันธ์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข - Public Relations HSS. 2020 [เข้าถึงเมื่อ 6 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://prgroup.hss.moph.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=177:สธ-มอบของขวัญปีใหม่-2564-คนไทยทุกคนมีหมอประจำตัว-3-คน-“ดูแลใกล้ตัว-ใกล้บ้าน-ใกล้ใจ”&catid=12

กลุ่มประชาสัมพันธ์. 3 หมอ “คนไทยทุกครอบครัวมีหมอประจำตัว 3 คน” [อินเทอร์เน็ต]. ประชาสัมพันธ์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข - Public Relations HSS. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 6 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://prgroup.hss.moph.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id= 1175:3-หมอ-“คนไทยทุกครอบครัวมีหมอประจำตัว-3-คน”&catid=17

ธีระ วรธนารัตน์, ภัทรวัณย์ วรธนารัตน์, อารียา จิรธนานุวัฒน์, จารุภา เลขทิพย์, เสาวลักษณ์ ต้องตา. สมรรถนะและบทบาทของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว: การสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบาย. [อินเทอร์เน็ต]. คลังข้อมูลและความรู้ระบบสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข สวรส. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 6 เม.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5047

Yoshida S, Matsumoto M, Kashima S, Koike S, Tazuma S, Maeda T. Geographical distribution of family physicians in Japan: a nationwide cross-sectional study. BMC Fam Pract. 2019;20:147.

คณาจารย์ ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ [อินเทอร์เน็ต]. ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 14 ก.ย. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://w1.med.cmu.ac.th/family/staff-instructor

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 14 ก.ย. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nkp-hospital.go.th/th/findDoctor.php#

รายงานข้อมูล 3 หมอ จังหวัดนครนายก [อินเทอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 14 ก.ย. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://3doctor.hss.moph.go.th/main/rp_ampur?region=4&prov=MjY=&provn=4LiZ4LiE4Lij4LiZ4Liy4Lii4LiB

Chen SH, Chang HT, Lin MH, Chen TJ, Hwang SJ, Lin MN. Family Medicine Academic Workforce of Medical Schools in Taiwan: A Nationwide Survey. Int J Environ Res Public Health. 2021;18(13):7182.

พณัชกร มีสิทธิ์, หทัยทิพย์ ธรรมวิริยะกุล. บทบาทของแพทย์เวชปฏิบัติครอบครัวและความสุขในการทำ งานบริการปฐมภูมิในพื้นที่ภาคใต้. บูรพาเวชสาร. 2560;4:40-8.

สายรัตน์ นกน้อย. ทิศทางการพัฒนาเวชศาสตร์ครอบครัวและการดูแลสุขภาพปฐมภูมิ ตอนที่ 1 : เข้าใจที่มา ผ่านประวัติศาสตร์. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว. 2022;5:146-62.

Lankarani KB, Honarvar B, Shahabi S, Zarei F, Behzadifar M, Hedayati M, et al. The challenges of urban family physician program over the past decade in Iran: a scoping review and qualitative study with policy-makers. J Prev Med Hyg. 2023;64:E232-64.

Behzadifar M, Behzadifar M, Heidarvand S, Gorji HA, Aryankhesal A, Taheri Moghadam S, et al. The challenges of the family physician policy in Iran: a systematic review and meta-synthesis of qualitative researches. Fam Pract. 2018;35:652-60.

Manca DP, Varnhagen S, Brett-MacLean P, Allan GM, Szafran O, Ausford A, et al. Rewards and challenges of family practice: Web-based survey using the Delphi method. Can Fam Physician. 2007;53:277-86.

Wiwanitkit V. Family medicine in Thailand: System, training, and obstacles. Med J Dr Patil Univ. 2016;9:4.

Lee FJ, Brown JB, Stewart M. Exploring family physician stress: helpful strategies. Can Fam Physician. 2009;55:288-9.e6. PubMed PMID: 19282541