ผลของการใช้แอสไพรินเพื่อป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดแบบปฐมภูมิ ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่โรงพยาบาลบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร
Main Article Content
บทคัดย่อ
ที่มา: การให้แอสไพรินเพื่อการป้องกันปฐมภูมิต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนถึงประโยชน์และความปลอดภัย งานวิจัยนี้จึงศึกษาผลของการได้รับแอสไพรินเปรียบเทียบกับการไม่ได้รับแอสไพรินเพื่อการป้องกันปฐมภูมิต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 รวมทั้งผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น
แบบวิจัย: เป็นงานวิจัยเชิงการรักษา ที่ศึกษาจากเหตุไปหาผลแบบย้อนหลัง
วัสดุและวิธีการ: รวบรวมข้อมูลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป และไม่มีประวัติเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดมาก่อน จากฐานข้อมูลเวชระเบียน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับแอสไพรินและไม่ได้รับแอสไพริน ประเมินผลลัพธ์หลักจากอุบัติการณ์การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นครั้งแรก ส่วนผลลัพธ์ด้านความปลอดภัยประเมินจากอุบัติการณ์การเกิดภาวะเลือดออกรุนแรงเป็นครั้งแรก ติดตามผลลัพธ์ต่าง ๆ จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยมีจำนวนทั้งหมด 682 คน ในช่วงค่ามัธยฐานของระยะเวลาการติดตามผลเท่ากับ 4.9 ปี พบว่าอุบัติการณ์การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นครั้งแรกระหว่างกลุ่มที่ได้รับแอสไพรินและกลุ่มที่ไม่ได้รับแอสไพริน ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (adjusted hazard ratio, 0.93; 95% confidence interval, 0.51-1.71; p = 0.816) ในการวิเคราะห์กลุ่มย่อยพบว่าให้ผลในทิศทางเดียวกัน แต่พบภาวะเลือดออกเพิ่มขึ้นในกลุ่มที่ได้รับแอสไพริน โดยเฉพาะภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร (adjusted hazard ratio, 3.50; 95% CI, 1.47-8.34; p = 0.005)
สรุป: การให้แอสไพรินในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ไม่แสดงผลการป้องกันปฐมภูมิต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด แต่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหาร จึงควรมีการทบทวนแนวทางการใช้แอสไพรินเพื่อการป้องกันปฐมภูมิ
คำสำคัญ: แอสไพริน โรคเบาหวาน การป้องกันปฐมภูมิ โรคหัวใจและหลอดเลือด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร PCFM ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร PCFM ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร PCFM หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสาร PCFM ก่อนเท่านั้น
References
Baigent C, Blackwell L, Collins R, Emberson J, Godwin J, Peto R, et al. Aspirin in the primary and secondary prevention of vascular disease: collaborative meta-analysis of individual participant data from randomised trials. Lancet. 2009;373(9678):1849-60.
Sarwar N, Gao P, Seshasai SR, Gobin R, Kaptoge S, Di Angelantonio E, et al. Diabetes mellitus, fasting blood glucose concentration, and risk of vascular disease: a collaborative meta-analysis of 102 prospective studies. Lancet. 2010;375(9733):2215-22.
Association AD. Standards of Medical Care in Diabetes-2010. Diabetes Care. 2010;33(Supplement_1): S11-S61.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย, กรมการแพทย์, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางการป้องกันและรักษาภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2557. กรุงเทพมหานคร: ศรีเมืองการพิมพ์; 2557. หน้า 73-8.
Bowman L, Mafham M, Wallendszus K, Stevens W, Buck G, Barton J, et al. Effects of aspirin for primary prevention in persons with diabetes mellitus. N Engl J Med. 2018;379:1529-39.
Gaziano JM, Brotons C, Coppolecchia R, Cricelli C, Darius H, Gorelick PB, et al. Use of aspirin to reduce risk of initial vascular events in patients at moderate risk of cardiovascular disease (ARRIVE): a randomised, double-blind, placebo-controlled trial. Lancet. 2018;392(10152):1036-46.
McNeil JJ, Nelson MR, Woods RL, Lockery JE, Wolfe R, Reid CM, et al. Effect of aspirin on all-cause mortality in the healthy elderly. N Engl J Med. 2018; 379:1519-28.
Pawich Paktipat PP, Suratchada Chanasopon, Sirin Bhongchirawattana, Rattayaporn Jaikusol, Penporn Pararat. 5-years Follow-up after primary prevention of cardiovascular events with aspirin in patients with type ii diabetes mellitus. Thai Journal of Pharmacy Practice. 2019;12:151-62.
Wannakon Chuemongkon KB, Kamonwan Tumpoo. Aspirin use for the primary prevention of cardiovascular diseases in type 2 diabetic patients. Srinagarind Medical Journal 2019;34:184-9.
Sritara P, Tatsanavivat P, Tulyadachanon S, Sangwatanaroj S, Yamwong S, Vathesatogkit P. Thai CV risk score [Internet]. 2015 [cited 2023 Oct 1]. Available from: https://med.mahidol.ac.th/cardio_vascular_risk/thai_cv_risk_score/
Saito Y, Okada S, Ogawa H, Soejima H, Sakuma M, Nakayama M, et al. Low-dose aspirin for primary prevention of cardiovascular events in patients with type 2 diabetes mellitus: 10-year follow-up of a randomized controlled trial. Circulation. 2017; 135:659-70.
Grundy SM, Stone NJ, Bailey AL, Beam C, Birtcher KK, Blumenthal RS, et al. 2018 AHA/ACC/AACVPR/AAPA/ABC/ACPM/ADA/AGS/APhA/ASPC/NLA/PCNA Guideline on the Management of Blood Cholesterol: Executive Summary: A Report of the American College of Cardiology/American Heart Association Task Force on Clinical Practice Guidelines. J Am Coll Cardiol. 2019;73(24):3168-209.
Bibbins-Domingo K; U.S. Preventive services task force. aspirin use for the primary prevention of cardiovascular disease and colorectal cancer: u.s. preventive services task force recommendation statement. Ann Intern Med. 2016;164:836-45.
Langsted A, Nordestgaard BG. Smoking is associated with increased risk of major bleeding: a prospective cohort study. Thromb Haemost. 2019;119:39-47.
Mahmoud AN, Gad MM, Elgendy AY, Elgendy IY, Bavry AA. Efficacy and safety of aspirin for primary prevention of cardiovascular events: a meta-analysis and trial sequential analysis of randomized controlled trials. Eur Heart J. 2019;40:607-17.
Guirguis-Blake JM, Evans CV, Perdue LA, Bean SI, Senger CA. Aspirin use to prevent cardiovascular disease and colorectal cancer: updated evidence report and systematic review for the us preventive services task force. JAMA. 2022;327:1585-97.
Thrombosis prevention trial: randomised trial of low-intensity oral anticoagulation with warfarin and low-dose aspirin in the primary prevention of ischaemic heart disease in men at increased risk. The Medical Research Council’s General Practice Research Framework. Lancet. 1998;351(9098):233-41.
Hansson L, Zanchetti A, Carruthers SG, Dahlöf B, Elmfeldt D, Julius S, et al. Effects of intensive blood-pressure lowering and low-dose aspirin in patients with hypertension: principal results of the Hypertension Optimal Treatment (HOT) randomised trial. HOT Study Group. Lancet. 1998;351(9118):1755-62.
Marquis-Gravel G, Roe MT, Harrington RA, Muñoz D, Hernandez AF, Jones WS. Revisiting the role of aspirin for the primary prevention of cardiovascular disease. Circulation. 2019;140:1115-24.
Berger JS. Aspirin for Primary prevention-time to rethink our approach. JAMA Netw Open. 2022;5: e2210144. PubMed PMID: 35471577