การพยาบาลผู้คลอดที่ติดเชื้อซิฟิลิสและติดสารเสพติด : กรณีศึกษา

Main Article Content

สะอาด พงษ์สุวรรณ

บทคัดย่อ

ที่มา  การติดเชื้อซิฟิลิสในหญิงตั้งครรภ์ มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคซิฟิลิส มีความเสี่ยงที่จะถ่ายทอดเชื้อไปสู่ทารกในครรภ์  เช่นการแท้ง การคลอดก่อนกำหนด ทารกเสียชีวิตในครรภ์ ทารกแรกเกิดพิการจากโรคซิฟิลิส   การแพร่กระจายเชื้อสู่คู่สมรส คู่เพศสัมพันธ์  สูญเสียค่าใช้จ่ายจากการรักษา ส่งผลต่อครอบครัว ต่อประเทศชาติ  ในการดูแลโรคซิฟิลิสขณะตั้งครรภ์ต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆในการดำเนินงานทั้งด้านการรณรงค์ให้ความรู้  ระบบการบริการงานอนามัยแมและเด็ก ระบบการเฝ้าระวังและติดตาม ควบคุมโรคซิฟิลิสในหญิงตั้งครรภ์   


รายงานกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้คลอดที่ติดเชื้อซิฟิลิสและติดสารเสพติด : กรณีศึกษา 2 ราย เป็นหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อซิฟิลิสและติดสารเสพติด  ปกปิดข้อมูลการติดเชื้อ  ไม่ได้รับการรักษา  ขาดการฝากครรภ์ต่อเนื่อง จนกระทั่งคลอด ทารกมีภาวะติดเชื้อซิฟิลิสแต่กำเนิด   นำกระบวนการพยาบาล การประเมินภาวะสุขภาพมาใช้ ทำให้มารดา ทารก ได้รับการดูแลครอบคลุมทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม ในระยะก่อนคลอด คลอด หลังคลอด ตั้งแต่แรกรับจนจำหน่ายกลับบ้าน และส่งต่อในหน่วยงานอื่นเพื่อการดูแลต่อไป


สรุป  โรคซิฟิลิสและการติดสารเสพติดในหญิงตั้งครรภ์ สามารถให้การดูแลด้วยระบบบริการที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้อง เพิ่มความตระหนักรู้ในการป้องกัน  การเข้าถึงบริการเพื่อให้ได้รับบริการที่ต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่งานฝากครรภ์  ห้องคลอด และหลังคลอด ทั้งด้านให้ความรู้  การบริการงานอนามัยแมและเด็ก การเฝ้าระวังและติดตามควบคุมโรคซิฟิลิสในหญิงตั้งครรภ์   


คำสำคัญซิฟิลิสในหญิงตั้งครรภ์  ซิฟิลิสแต่กำเนิด   หญิงตั้งครรภ์ติดสารเสพติด

Article Details

How to Cite
1.
บท
รายงานผู้ป่วย

References

สิริพร มนยฤทธิ์ สถานการณ์การป่วยโรคชิฟิลิส ใน สิริพร มนยฤทธิ์, บรรณธิการ สถานการณ์โรคซิฟิลิส ประเทศไทยปีงบประมาณ พ.ศ. 2561: วิเคราะห์ตามกรอบระบบเฝ้าระวังโรค 5 มิติ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2562 หน้า 3-121

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. รายงานการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเอซไอวีจากแม่สู่ลูก ปี พ.ศ.2554-2562 [อินเทอร์เน็ต] (เข้าถึงเมื่อ 3 ส.ค. 2563)] เข้าถึงได้จาก http//pmtct anamal moph go th/ phims/ LoginPage .aspx

Gordon, M. Nursing diagnosis. Process and application New York: McGraw-Hill 1994.

อังคณา เจริญวัฒนาโชคชัย, บรรณาธิการ. แนวทางระดับชาติเรื่องการกำจัดโรคชิฟิสิสแต่กำเนิดในประเทศไทย

World Health Organization. Report on global sexually transmitted infection surveillance 2018 พ.ศ. 2558. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ตีไซน์; 2558. |nternet]. [cited 2020 Aug 3].Available from: https://apps.who.int/Iris/bitstream/handle/ 10665/277258/9789241565691-eng.pd?ua=1

Cunningham GF, Leveno JK, Bloom LS, Dashe SJ, Hoffman LB, Casey MB, Spong YC. Williams Obstetrics (25th ed.). New york McGRAW-HILL; 2018.

Chayachinda C, Thamkhantho M, Charoenwata-nachokchai A Elimination of congenital Syphilis in thailand: What can be done during antenatal period?. Thai J Obstet Gynaecol. 2016,24(2):66-72

นันทพร แสนศิริพันธ์ และฉวี เบาทรวง ,บรรณาธิการ. การพยาบาลและผดุงครรภ์สตรีที่มีภาวะแทรกซ้อน.พิมพ์ครั้งที่ 2.เชียงใหม่:สมาร์ทโคดติ้ง แอน เซอร์วิส, 2561.

พิมลพรรณ ต่างวิวัฒน์ และฉวีวรรณ ตันพุดซา.แนวทางการกำจัดโรคซิฟิลิสในประเทศไทย. ใน รสพร กิตติเยาวมาลย์ กิตติภูมิ ชินหิรัญ และธันยนันท์ กังวาฬพรโรจน์ บรรณาธิการ. แนวทางการกำจัดโรคซิฟิลิสแต่กำเนิด พศ.2563 พิมพ์ครั้งที่ 1 กทม.: หจก.สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิกแอนด์ดีไซน์ , 2564: 8-10.