ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะเหนื่อยล้าของผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุกระดูกข้อสะโพกหัก

Main Article Content

ณัฐนรี ฉันทวานิช

บทคัดย่อ

ที่มา: กระดูกข้อสะโพกหักในผู้สูงอายุเป็นภาวะที่พบได้มากขึ้นในเวชปฏิบัติ ภาวะเหนื่อยล้าของผู้ดูแล (caregiver burden) เกิดได้และเพิ่มความเสี่ยงที่ผู้ป่วยจะถูกทอดทิ้งหรือถูกทำร้าย การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อภาวะเหนื่อยล้าของผู้ดูแลจะทำให้แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวร่วมกับ สหวิชาชีพดูแลผู้ป่วยได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น


แบบวิจัย: งานวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง


วัสดุและวิธีการ: เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้ดูแลผู้ป่วยกระดูกข้อสะโพกหัก จำนวน 118 คน ด้วยแบบสอบถาม ประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยและผู้ดูแล และคะแนนความเหนื่อยล้าของผู้ดูแล (Zarit burden interview) ฉบับภาษาไทย 22 ข้อ ประเมินผลด้วยสถิติการวิเคราะห์ตัวแปรเดี่ยว


ผลการศึกษา: ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะเหนื่อยล้าของผู้ดูแลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ได้แก่ ผู้ป่วยกลุ่มพึ่งพา คะแนนความปวดมากกว่า 3 จำนวนผู้ป่วยในความดูแลมากกว่า 1 คน ปัญหาด้านค่าใช้จ่าย และไม่มีสมาชิกในบ้านผลัดเวรดูแลผู้ป่วย


สรุป: ควรมีการพัฒนาเชิงระบบเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะเหนื่อยล้าของผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุกระดูกข้อสะโพกหัก เช่น รูปแบบการดูแลเพื่อลดภาวะพึ่งพา การเข้าถึงสวัสดิการสังคม เครือข่ายชุมชนเข้มแข็ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วยอย่างเป็นองค์รวม


คำสำคัญ: ภาวะเหนื่อยล้าของผู้ดูแล ปัจจัย ครอบครัว กระดูกข้อสะโพกหัก

Article Details

How to Cite
1.
ฉันทวานิช ณ. ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะเหนื่อยล้าของผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุกระดูกข้อสะโพกหัก. PCFM [อินเทอร์เน็ต]. 26 ธันวาคม 2024 [อ้างถึง 5 กุมภาพันธ์ 2025];7(4):334-42. available at: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/PCFM/article/view/271251
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

พัชราพร ตาใจ, บุญญภักดิ์ เห่งนาเลน, เยาวลักษณ์ สงวนพานิช. กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ : บทบาทพยาบาลในการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน ก่อนและหลังผ่าตัดกระดูกสะโพก. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 2563;26:116-28.

จิตติมา เอกวิโรจนสกุล. การป้องกันกระดูกหักซ้ำในผู้ป่วยสูงอายุที่เคยกระดูกสะโพกหักในโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 สุพรรณบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2562; 38:39-49.

Haddad BI, Abu Ali M Jamos D, Alnaser I, Qambar O, et al. Quality of life after hip fracture surgery in the elderly: a cross sectional study. Cureus. 2024; 16:52631.

วัจนา ลีลาพัฒนะ, สายพิณ หัตถีรัตน์. เมื่อผู้ดูแลทำไม่ไหวแล้ว (Working with caregiver burnout) [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 17 พ.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.rama.mahidol.ac.th/fammed/th/article/ postgrad/writer23/article_4

Ariza-Vega P, Ortiz-Piña M, Kristensen MT, Castellote-Caballero Y, Jiménez-Moleón JJ. High perceived caregiver burden for relatives of patients following hip fracture surgery. Disabil Rehabil. 2019; 41:311-8.

ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ, รัชนี สรรเสริญ, วรรณรัตน์ ลาวัง. การพัฒนาแบบวัดภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 2554;1:62-75.

Green S. How many subjects does it take to do a regression analysis. Multivariate Behav Res. 1991;26: 499-510.

Xiao P, Zhou Y. Factors associated with the burden of family caregivers of elderly patients with femoral neck fracture: a cross-sectional study. J Orthop Surg Res. 2020;15:234. PubMed PMID: 32576212

Diameta E, Adandom I, Jumbo SU, Nwankwo HC, Obi PC, Kalu ME. The burden experience of formal and informal caregivers of older adults with hip fracture in Nigeria. SAGE Open Nurs. 2018;4:1-10.

Li C, Miao J, Gao X, Zheng L, Su X, Hui H, et al. Factors associated with caregiver burden in primary caregivers of patients with adolescent scoliosis: a descriptive cross-sectional study. Med Sci Monit. 2018;24:6472–9.

Souza ALR, Guimarães RA, de Araújo Vilela D, de Assis RM, de Almeida Cavalcante Oliveira LM, Souza MR, Nogueira DJ, Barbosa MA. Factors associated with the burden of family caregivers of patients with mental disorders: a cross-sectional study. BMC Psychiatry. 2017;17:353. PubMed PMID: 29070012

พัฒน์ศรี ศรีสุวรรณ. หลักการเวชศาสตร์ครอบครัวสำหรับเวชปฏิบัติ. ใน: พัฒน์ศรี ศรีสุวรรณ, อุษา ตันติแพทยางกูร, ดุสิต จันทยานนท์, บุญเติม แสงดิษฐ, บรรณาธิการ. ตําราเวชศาสตร์ครอบครัว. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า. 2564. หน้า 4-5.

Ramírez-García E, García de la Torre GS, Rodríguez Reyes EJ, Moreno-Tamayo K, Espinel-Bermudez MC, Sánchez-García S. Factors associated with recovered functionality after hip fracture in non-institutionalized older adults: A case-control study nested in a cohort. Clin Interv Aging. 2021;16:1515-25.

García Lázaro M, Montero Pérez-Barquero M, Carpintero Benítez P. The role of malnutrition and other medical factors in the evolution of patients with hip fracture. An Med Interna. 2004;21:557-63.

ปณิตา ลิมปะวัฒนะ. ภาวะเปราะบางและภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย. ใน: ประเสริฐ อัสสันตชัย, สมจินต์ โฉมวัฒนะชัย, สมฤดี เนียนหอม, นิติกุล ทองน่วม, บรรณาธิการ. แนวทางการดูแลรักษากลุ่มอาการสูงอายุ (Geriatric syndromes). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2560. หน้า 39-51.

Rom O, Kaisari S, Aizenbud D, Reznick AZ. Lifestyle and sarcopenia-etiology, prevention, and treatment. Rambam Maimonides Med J. 2012;3(4):e0024. PubMed PMID: 23908848

Steihaug OM, Gjesdal CG, Bogen B, Kristoffersen MH, Hufthammer O, Ranhoff AH. Does sarcopenia predict change in mobility after hip fracture? a multicenter observational study with one-year follow-up. BMC Geriatrics. 2018;18:65. PubMed PMID: 29506481

Min K, Beom J, Kim BR, Lee SY, Lee GJ, Lee JH, et al. Clinical practice guideline for postoperative rehabilitation in older patients with hip fractures. Ann Rehabil Med. 2021;45:225-59.

Tan KP, Ang JK, Koh EBY, Pang NTP, Mat Saher Z. Relationship of Psychological Flexibility and Mindfulness to Caregiver Burden, and Depressive and Anxiety Symptoms in Caregivers of People with Dementia. Int J Environ Res Public Health. 2023;20: 4232. PubMed PMID: 36901243

Van de Ree CLP, Ploegsma K, Kanters TA, Roukema van de Ree CLP, Ploegsma K, Kanters TA, et al. Care-related quality of life of informal caregivers of the elderly after a hip fracture. J Patient Rep Outcomes. 2017;2:23. PubMed PMID: 29757312

วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์, ยศ วัชระคุปต์. ผู้สูงอายุที่ต้องการผู้ดูแลและค่าใช้จ่ายในการดูแลระยะยาว. ใน: วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์, ยศ วัชระคุปต์, บรรณาธิการ. ระบบประกันการดูแลระยะยาว : ระบบที่เหมาะสมกับประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย; 2560. หน้า 39-50.