ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตรวจพบมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงจากการส่องกล้องคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงในผู้ที่มีผลบวกจากการตรวจเลือดแฝงในอุจจาระของโรงพยาบาลนาหม่อม จังหวัดสงขลา

Main Article Content

วาสนา อชิรเสนา

บทคัดย่อ

ที่มา: มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงเป็นสาเหตุการตายอันดับ 3 ของประชากรไทย กระทรวงสาธารณสุขไทยจึงให้มีการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ในประชาชนช่วงอายุ 50-70 ปี โดยวิธีการตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระ (Fecal  Immunochemical Test; FIT) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 จนถึงปัจจุบัน เมื่อพบผลผิดปกติจะได้รับการคัดกรองโดยวิธีการส่องกล้อง colonoscopy ต่อไป อย่างไรก็ตามยังไม่เคยมีการศึกษาเรื่องมะเร็งลำไส้ใหญ่ในจังหวัดสงขลา งานวิจัยนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตรวจพบมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ในกลุ่มประชากรจังหวัดสงขลาที่มีผลผิดปกติจากการตรวจเลือดแฝงในอุจจาระด้วยวิธี FIT เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตรวจคัดกรองต่อไป


รูปแบบการวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง แบบตัดขวาง


วัสดุและวิธีการ: ศึกษาข้อมูล ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลผลการส่องกล้อง colonoscopy จากฐานข้อมูลเวชระเบียนของโรงพยาบาล และแบบสอบถามในกลุ่มตัวอย่าง วิิเคราะห์์ข้อมูลพื้นฐานโดยใช้้ความถี่ ร้อยละ วิเคราะห์เปรียบเทียบปัจจััยที่สััมพัันธ์์กับผลการพบติ่งเนื้อโดยใช้ไคสแควร์


ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างที่ได้ จำนวน 230 ราย ผลการส่องกล้องพบติ่งเนื้อ 116 ราย ซึ่งตรวจพบว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง 4 ราย ความชุกของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงของประชากรในจังหวัดสงขลาที่มีผลตรวจอุจจาระ FIT  เป็นบวก เท่ากับ 1.19 ต่อแสนประชากร และความชุกของการส่องกล้องพบติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่และไส้ตรง เท่ากับ 34.51 ต่อแสนประชากร  โดยปัจจัยที่สัมพันธ์กับผลการส่องกล้องพบติ่งเนื้อ ได้แก่ เพศชาย กลุ่มที่มีค่าดัชนีมวลกาย (body mass in dex; BMI) เกินมาตราฐาน และผู้ที่ดื่มสุรา  


สรุป: ในประชาชนอายุ 50-70 ปี ที่มีผล FIT  เป็นบวกที่เป็นเพศชาย กลุ่มมีค่า BMI เกินมาตรฐาน  หรือมีประวัติการดื่มสุรา มีโอกาสพบติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่และไส้ตรงจากการส่องกล้อง colonoscopy เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


คำสำคัญ: มะเร็งลำไส้ใหญ่ ติ่งเนื้อลำไส้ใหญ่ การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ความชุก

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

American cancer society. What Is Colorectal Cancer? [Internet]. 2019 [cited 2023 Jan 28]. Available from :https://www.cancer.org/cancer/colon-rectal-cancer/about/what-is-colorectal-cancer.html

Siegel RL, Miller KD, Goding Sauer A, Fedewa SA, Butterly LF, Anderson JC, et al. Colorectal cancer statistics, 2020. CA Cancer J Clin. 2020;70:145-64.

CDC. Use of Colorectal Cancer Screening Tests 2020 Behavioral Risk Factor Surveillance System [Internet]. 2023 [cited 2023 Jan 28]. Available from : https://www.cdc.gov/cancer/colorectal/statistics/use-screening-tests-

WHO IARC (International Agency for Research on Cancer [Internet]. 2023 [cited 2023 Jan 15]. Available from :https://gco.iarc.fr/today/online-analysis- 28 Jan 2003

Chulacancer รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา. ระยะของโรคมะเร็ง (Stage of Cancer) (อินเทอร์เนต). 2565 [เข้าถึงเมื่อ 28 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.chulacancer.net/faq-list-page.php?id=328.)

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านโรคมะเร็ง. คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพ: มะเร็งลำไส้ (Colorectal cancer). 2565 [เข้าถึงเมื่อ 31 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.rama.mahidol.ac.th/cancer_center/th/colorectal

Mayoclinic. [Internet]. Screening Helps Prevent Colorectal Cancer. 2022 [cited 2023 Jan 31]. Available from :https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/colon-cancer/symptoms-causes/syc-20353669

National Cancer Institute [Internet]. Colorectal Cancer Screening (PDQ®)–Health Professional Version 2023 [cited 2023 Jan 28]. Available from :https://www.cancer.gov/types/colorectal/patient/colorectal-screening-pdq

Cancer.gov. Colorectal Cancer-Health Professional Version [Internet]. 2023 [cited 2023 Jan 28]. Available from: https://www.cancer.gov/types/colorectal/patient/colon-treatment-pdq

คณะกรรมการจัดทำแผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ แผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ (พ.ศ. 2561-2565) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2562.

HDC Report. ผลการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงด้วยวิธี FIT อำเภอนาหม่อม ปีงบประมาณ 2561-2565 (อินเทอร์เน็ต). 2565 [เข้าถึงเมื่อ 28 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ska.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php

HDC Report. ผลการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงด้วยวิธี FIT เขตสุขภาพที่ 12 ปีงบประมาณ 2565 (อินเทอร์เน็ต). 2565 [เข้าถึงเมื่อ 27 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php

วุฒิกร วงษ์ศิลาทัย. ผลการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ในผู้ที่มีผลบวกจากการตรวจเลือดแฝง ในอุจจาระด้วยวิธีทางอิมมูโนเคมิคอล ของโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2564;40:193-200.

Alsayid M, Singh MH, Issaka R, Laleau V, Day L, Lee J, Allison J, Somsouk M. Yield of colonoscopy after a positive result from a fecal immunochemical test OC-Light. Clin Gastroenterol Hepatol. 2018;16:1593-1597.e1. PubMed PMID: 29660528

ชัชวาลย์ วชิรเมธารัชต์, เกรียงไกร โกวิทางกูล, สุภัทธรา ขุมดินพิทักษ์, ฉันทิชย์ พูลลาภ, จิตเกษม เวชกามา, ยุทธพงศ์ ชำนาญเกื้อ, และคณะ. การคัดกรองมะเร็งลําไส้ใหญ่และไส้ตรงของจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารโรคมะเร็ง. 2561;31:11-8

Yeh JH, Lin CW, Wang WL, Lee CT, Chen JC, Hsu CC, Wang JY. Positive fecal immunochemical test strongly predicts adenomas in younger adults with fatty liver and metabolic syndrome. Clin Transl Gastroenterol. 2021 Feb 3;12(2):e00305. Erratum in: Clin Transl Gastroenterol. 2021;12(7):e00368. PubMed PMID: 33570858