โครงการสร้างเสริมสุขภาพทางการได้ยินและพฤติกรรมการฟังอย่างปลอดภัย ในเด็กประถมจังหวัดเชียงใหม่ (การศึกษานำร่อง)

Main Article Content

ณัชชา วิวัฒน์คุณูปการ
สุวิชา แก้วศิริ
ฐิตา ฉันทโชติ
วีระวัฒน์ ฤทธิ์ศร
ชม้ายมาศ ชินรัตน์
วลีรัตน์ ทาทะวงค์
ศรีทนต์ บุญญานุกูล

บทคัดย่อ

ที่มา: การสร้างเสริมสุขภาพทางการได้ยินและพฤติกรรมการฟังอย่างปลอดภัย จะสร้างความตระหนักของการป้องกันการสูญเสียการได้ยิน  ทำให้มีการปรับพฤติกรรมการฟังที่มีผลต่อการได้ยิน และลดอุบัติการณ์ของการสูญเสียการได้ยินจากเสียงดังได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการฟังของนักเรียน 2) ออกแบบโครงการสร้างเสริมสุขภาพการฟังอย่างปลอดภัยในนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565  3) ศึกษาประสิทธิภาพของโครงการนำร่องดังกล่าว


วัสดุและวิธีการ: โครงการนี้ศึกษาพฤติกรรมการฟังของนักเรียนแบบ observational study และการศึกษาประสิทธิภาพของโครงการแบบ experimental study ในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยจัดกิจกรรมสร้างสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อรณรงค์โครงการ และกิจกรรมการให้ความรู้ใน 3 หัวข้อ คือ 1) กายวิภาคของหู 2) ระดับเสียงในสิ่งแวดล้อม และการสูญเสียการได้ยินจากเสียงดังและ 3) การป้องกันอันตรายจากเสียงดัง ใช้แบบประเมินความรู้ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ และพฤติกรรมการฟัง


ผลการศึกษา: ผู้เข้าโครงการ เป็นผู้ปกครอง 228 ราย และเป็นนักเรียน 200 ราย ผู้ปกครองร้อยละ 28.6 มีความกังวลในระดับมากถึงมากที่สุดว่าบุตรหลานอาจสูญเสียการได้ยินจากการฟังเสียงดัง ร้อยละ 63.0 ไม่เคยให้บุตรหลานอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีเสียงดัง และร้อยละ 59.6 ไม่เคยให้บุตรหลานใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงเมื่อต้องอยู่ในที่เสียงดัง นักเรียนร้อยละ 19.5 คิดว่าตนเองได้ยินไม่ชัด ร้อยละ 50.0 ไม่แน่ใจว่าตนเองได้ยินชัดหรือไม่ และร้อยละ 30.0 ไม่อยากใช้ที่อุดหูหากต้องอยู่ในที่เสียงดัง ๆ ร้อยละ 30.0 คิดว่าเป็นไปไม่ได้เลยที่การฟังเสียงผ่านหูฟังจากอุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นเวลานาน ๆ จะทำให้หูตึงได้ ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการของนักเรียนมีแนวโน้มสูงขึ้น แต่ไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


สรุป: โครงการสร้างเสริมสุขภาพทางการได้ยินและพฤติกรรมการฟังอย่างปลอดภัยมีความสำคัญต่อการป้องกันภาวะการสูญเสียการได้ยินจากเสียงดังจากเสียงดังในเด็ก ซึ่งโครงการดังกล่าวควรได้รับการศึกษาต่อไปได้ในระดับชุมชนที่มีประชากรใหญ่ขึ้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและมีผลในการดำเนินงานเชิงนโยบายระดับประเทศต่อไป 


คำสำคัญ: อุปกรณ์ส่วนบุคคลที่ใช้เพื่อการฟัง การฟังอย่างปลอดภัย การสูญเสียการได้ยินจากเสียงดัง การสร้างเสริมสุขภาพการได้ยิน

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

World Health OrganizationPrevention of blindness and deafness 2015 [Internet]. 2017 [cited 2024 Nov 28]. Available from: https://apps.who.int/gb/ebwha/pdf_files/WHA70/A70_34-en.pdf

WHO. Childhood hearing loss Strategies for prevention and care 2016 [Internet]. 2016 [cited 2023 Aug 1]. Available from: https://www.who.int/docs/default-source/imported2/childhood-hearing-loss--strategies-for-prevention-and-care. pdf?sfvrsn=cbbbb3cc_0

การบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ [อินเทอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 1 ส.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nhso.go.th/page/coverage_rights_health_enhancement

Williams WP, J. The statistical distribution of expected noise level output from commonly available personal stereo players. Acoustics Australia. 2010;38:119-22.

Hidecker MJC. Noise-induced hearing loss in school-age children: What do we know? Seminars in Hearing. 2008;29:019-28.

Deshpande SB. Online, Asynchronous hearing education and research project for ethnically diverse adolescents via interprofessional collaboration and electronic service-learning during the COVID-19 Pandemic: A pilot study on the needs and challenges. Am J Audiol. 2021;30:505-17.

Zakaria NA, Maamor N, Abdul Wahat NH. Hearing health information in Malaysian public schools: a step towards addressing a public health concern. Int J Audiol. 2021;60:1009-15.

สมเสาวนุช จมูศรี. การสร้างเสริมสุขภาพในโรงเรียน: การเปลี่ยนแปลงจากอดีตสู่อนาคต. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2014;32:14-22.

สินศักดิ์ชนม์ อุ่นพรมมี. พัฒนาการสําคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ [โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข]. นนทบุรี: บริษัท ธนาเพลส; 2556.

Be healthy, be mobile: a handbook on how to implement mSafeListening [Internet]. 2022 [cited May 2, 2022]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/9789240044784

Neufeld A, Westerberg BD, Nabi S, Bryce G, Bureau Y. Prospective, randomized controlled assessment of the short- and long-term efficacy of a hearing conservation education program in Canadian elementary school children. Laryngoscope. 2011;121:176-81.