ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดีของผู้สูงอายุในเขตเมือง โรงพยาบาลวชิรพยาบาล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทนำ: ปัจจุบันทั่วทั้งโลกกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ รวมถึงประเทศไทยที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ.2565 โดยมีจำนวนประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปี สูงถึงร้อยละ 20 โดยหนึ่งในกลุ่มอาการที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ คือ ภาวะนอนไม่หลับ ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพทางกาย และทางจิตใจ การคัดกรอง การส่งเสริม การป้องกัน และการรักษาปัญหาคุณภาพการนอนหลับไม่ดีของผู้สูงอายุ จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก
วัตถุประสงค์: ศึกษาหาความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดีของผู้สูงอายุในเขตเมือง โรงพยาบาลวชิรพยาบาล
วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง เก็บข้อมูลกลุ่มประชากรผู้ป่วยสูงอายุอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่เข้ามารับบริการในคลินิกเวชศาสตร์ครอบครัว และหน่วยปฐมภูมิเขตเมือง โรงพยาบาลวชิรพยาบาล ในเดือนธันวาคม 2565 - กุมภาพันธ์ 2566 จำนวน 287 คน ใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลด้านสุขภาพ และแบบประเมิน Thai-Pittburgh Sleep Quality Index (Thai-PSQI) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี โดยใช้สถิติทดสอบไคสแควร์ หรือการทดสอบของฟิชเชอร์ตามความเหมาะสมของข้อมูล และวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบพหุตัวแปร ใช้การวิเคราะห์ความถดถอยพหุโลจิสติก แสดงค่าขนาดความสัมพันธ์ในรูปแบบ Odds Ratio (OR) และช่วงความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 (95% CI) โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 68.64 ± 7.23 ปี ความชุกของคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดีคิดเป็นร้อยละ 49.8 โดยมีค่ามัธยฐานของ Thai-PSQI เท่ากับ 5 ผู้สูงอายุที่มีการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนภายใน 6 ชั่วโมงก่อนเข้านอนมีโอกาสที่มีคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี (Adjusted OR = 4.19, 95%CI: 1.72 - 10.26, p-value = 0.002) และผู้สูงอายุที่มีภาวะเครียดมีโอกาสที่มีคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี (Adjusted OR = 3.30, 95%CI: 1.77 - 6.15, p-value <0.001)
สรุปผล: ผู้สูงอายุมีคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดีจำนวนมาก บุคลากรทางสาธารณสุขควรมีการคัดกรองภาวะการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ โดยมุ่งเน้นปัจจัยที่เกี่ยวกับการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และปัญหาภาวะเครียด ซึ่งส่งผลต่อปัญหาการนอนหลับ รวมถึงให้การดูแลอย่างเหมาะสมเพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพการนอนหลับที่ดี
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร PCFM ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร PCFM ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร PCFM หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสาร PCFM ก่อนเท่านั้น
References
United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population division. World Population Ageing 2020 Highlights: Living arrangements of older persons. New York: The department; 2020.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2562. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2563.
สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดูแลรักษากลุ่มอากาสูงอายุ. นนทบุรี: บริษัท อิส ออกัส จำกัด; 2558.
Suri K, Sununsirikul K, Tonsuvan K. Quality of Sleep and Associated Factors in Elderly at Urban Community, Nakhon Sawan. Region 3 Medical and Public Health Journal 2022;19(1):15-27.
กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย. คู่มือการนอนหลับเพื่อสุขภาพที่ดี. นนทบุรี: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์ แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา; 2563.
Aunjitsakul W, Pitanupong J, Werachattawan N, Anantapong K. Sleep Quality Among Elderly People Within the Outpatient Department of Songklanagarind Hospital, Thailand: A Cross-sectional Study. Songklanagarind Medical Journal 2017;35:195-204.
Chinvararak C, Tangwongchai S, Dumrongpiwat N. Sleep Quality and Its Associated Factors in the Elderly at Pracha Niwet Village. Journal of the Psychiatric Association of Thailand 2018;63(2):199-210.9.
Thichumpa W, Howteerakul N, Suwannapong N, Tantrakul V. Sleep quality and associated factors among the elderly living in rural Chiang Rai, northern Thailand. Epidemiol Health 2018;40:e2018018.
Aunjitsakul W, Pitanupong J, Werachattawan N. Sleep Quality among Elderly People in Songkhla Province, Thailand: A Two-Stage Cluster Sampling Study. J Med Assoc Thai 2018;101:137-44.
เพ็ชรน้อย ธัญวรรณ. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะนอนไม่หลับในผู้สูงอายุที่มารับบริการในหน่วยปฐมภูมิ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว 2020;3(2):51-73.
Gouthaman R, Devi R. Descriptive study on sleep quality and its associated factors among elderly in urban population: Chidambaram. International Journal Of Community Medicine And Public Health 2019;6:1999.
Luo J, Zhu G, Zhao Q, Guo Q, Meng H, Hong Z, et al. Prevalence and risk factors of poor sleep quality among Chinese elderly in an urban community: results from the Shanghai aging study. PLoS One 2013;8(11):e81261.
Pedraza S, Al Snih S, Ottenbacher KJ, Markides KS, Raji MA. Sleep quality and sleep problems in Mexican Americans aged 75 and older. Aging Clin Exp Res 2012;24(4):391-7.
Su TP, Huang SR, Chou P. Prevalence and risk factors of insomnia in community-dwelling Chinese elderly: a Taiwanese urban area survey. Aust N Z J Psychiatry 2004;38(9):706-13.
Daniel WW. Biostatistics: A Foundation for Analysis in the Health Sciences. 6 ed. John Wiley&Sons, Inc.1995.
ตำราการวิจัยทางคลินิก. ขนาดกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยทางคลินิก. กรุงเทพฯ: คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล; 2554.
Methipisit T, Mungthin M, Saengwanitch S, Ruangkana P, Chinwarun Y, Ruangkanchanasetr P, et al. The Development of Sleep Questionnaires Thai Version (ESS, SA-SDQ, and PSQI): Linguistic Validation, Reliability Analysis and Cut-Off Level to Determine Sleep Related Problems in Thai Population. J Med Assoc Thai 2016;99(8):893-903.
Sitasuwan T, Bussaratid S, Ruttanaumpawan P, Chotinaiwattarakul W. Reliability and validity of the Thai version of the Pittsburgh Sleep Quality Index. J Med Assoc Thai 2014;97 Suppl 3:S57-67.
Buysse DJ, Reynolds CF, Monk TH, Berman SR, Kupfer DJ. The Pittsburgh Sleep Quality Index: A new instrument for psychiatric practice and research. Psychiatry Research 28:193-213, 1989.
Drake C, Roehrs T, Shambroom J, Roth T. Caffeine Effects on Sleep Taken 0, 3, or 6 Hours before Going to Bed. Journal of Clinical Sleep Medicine 2013;09(11):1195-200.