ผลการควบคุมระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่ควบคุมโรคได้ดีที่รับยาร้านยาคุณภาพเทียบกับการรับยาที่หน่วยบริการปฐมภูมิวัดหนองแวง
Main Article Content
บทคัดย่อ
ที่มา: โรคความดันโลหิตสูงมีความชุกเพิ่มขึ้นและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน ด้วยโรคระบาดโควิด-19 ก่อให้เกิดปัญหาการเข้าถึงบริการ การดูแลตนเองและควบคุมโรค และระบบบริการ จึงพัฒนารูปแบบการรับยาที่ร้านยาคุณภาพสำหรับกลุ่มที่ควบคุมโรคความดันโลหิตสูงได้ดี และศึกษาเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมโรคได้ดีที่รับยาร้านยาคุณภาพและรับยาที่หน่วยบริการปฐมภูมิวัดหนองแวง
รูปแบบวิจัย: Retrospective cohort study
วัสดุและวิธีการ: ศึกษาข้อมูลย้อนหลังจากฐานข้อมูล JHCIS ของหน่วยบริการปฐมภูมิวัดหนองแวง โดยคัดเลือกผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมโรคได้ดี (BP<140/90 มม.ปรอท) ที่รับยาที่ร้านยาคุณภาพและรับยาที่หน่วยบริการปฐมภูมิวัดหนองแวง เป็นระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565
ผลการศึกษา: ผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมด 146 คน แบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกคือกลุ่มที่รับยาร้านยาคุณภาพ และกลุ่มสองคือกลุ่มที่รับยาหน่วยบริการปฐมภูมิวัดหนองแวง กลุ่มละ 73 คน ข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยสองกลุ่มส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน หลังจากติดตาม 1 ปี พบว่า ผู้เข้าร่วมวิจัยที่รับยาร้านยาคุณภาพมีระดับความดันโลหิตบน (SBP) ลดลงน้อยกว่ากลุ่มรับยาที่หน่วยบริการปฐมภูมิวัดหนองแวง 2.02 มม.ปรอท (95% CI, -2.32 to 6.37; p = 0.358) และผู้เข้าร่วมวิจัยที่รับยาร้านยาคุณภาพมีระดับความดันโลหิตล่าง (DBP) ลดลงมากกว่ากลุ่มรับยาที่หน่วยบริการปฐมภูมิวัดหนองแวง 0.65 มม.ปรอท (95% CI, -3.86 to 2.57; p = 0.693)
สรุป: ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมโรคได้ดีที่รับยาที่ร้านยาคุณภาพและรับยาที่หน่วยบริการปฐมภูมิวัดหนองแวงมีผลการเปลี่ยนแปลงของระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด การกรองของไต ระดับไขมันในเลือด และดัชนีมวลกายที่ 1 ปี ไม่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมโรคได้ดีสามารถรับยาร้านยาคุณภาพได้อย่างคงคุณภาพ
คำสำคัญ: โรคความดันโลหิตสูง ร้านยาคุณภาพ หน่วยบริการปฐมภูมิ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร PCFM ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร PCFM ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร PCFM หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสาร PCFM ก่อนเท่านั้น
References
WHO. More than 700 million people with untreated hypertension [Internet]. 2021 [cited 2021 Aug 21]. Available from: https://www.who.int/news/item/25-08-2021-more-than-700-million-people-with-untreated-hypertension
กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. กรมควบคุมโรค แนะนำประชาชนใส่ใจสุขภาพ วัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง [อินเทอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 15 พ.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=25290&deptcode=brc&news_views=388
ณัฐธิวรรณ พันธ์มุง, อลัสรา อยู่เลิซลบ และสราญรัตน์ ลัทธิ. ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลก ปี 2562. บทความสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 15 พ.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/07/127178/
Zinat Motlagh SF, Chaman R, Sadeghi E, Eslami AA. Self-Care Behaviors and Related Factors in Hypertensive Patients. Iran Red Crescent Med J. 2016;18(6):e35805. PubMed PMID: 27621938
Niriayo YL, Ibrahim S, Kassa TD, Asgedom SW, Atey TM, Gidey K, Demoz GT, Kahsay D. Practice and predictors of self-care behaviors among ambulatory patients with hypertension in Ethiopia. PLoS One. 2019 Jun 26;14(6):e0218947. PuBMed PMID: 31242265
ตวงพร กตัญญุตานนท์, วัชนีย์ จันทร์ปัญญา, สุธีธิดา ปาเบ้า, เสาวณี เบ้าจังหาร และคณะ. พฤติกรรมดูแล สุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง สถานีอนามัยแห่งหนึ่ง ในตำบลบางเมือง จังหวัด สมุทรปราการ. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย. 2560;6:53-62.
อภิชาต สุคนสรรพ์, ระพีพล กุญชร ณ อยุธยา, สุรพันธ์ สิทธิสุข, ไพโรจน์ ฉัตรานุกูลชัย และคณะ. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: ทริค ธิงค์; 2562.
สมรัตน์ ขำมาก. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นางเหล้า อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 15 พ.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/68733
รุ่งนภา คําผาง, ศรีเพ็ญ ตันติเวสส, พัทธรา ลีฬหวรงค์, อารยา ญาณพิบูลย์ และคณะ. การประเมินโครงการนําร่องให้ผู้ป่วยรับยาที่ร้านขายยาเพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาลระยะที่ 2. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.); 2564. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
พยอม สุขเอนกนันท์, บุษบา โทวรรณา, พีรยา สมสะอาด, อภิสรา คำวัฒน์ และคณะ. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยเรื้อรังที่รับยาต่อเนื่องระหว่างร้านยาคุณภาพและศูนย์ แพทย์ชุมชน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2555;3:100-11.
วิลาวัณย์ ทุนดี, ปวิตรา พูลบุตร, สายทิพย์ สุทธิรักษา, ภัทรินทร์ กิตติบุญญาคุณ และคณะ. การบริบาลทางเภสัชกรรมและจ่ายยาต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 ในร้านยา, วารสารเภสัชกรรมไทย 2560;1:192-203.
รพีพรรณ ฉลองสุข, สุรสิทธิ์ ล้อจิตรอำนวย และวิชัย สันติมาลีวรกุล. การศึกษาเปรียบเทียบระบบบริการจ่ายยาตามใบสั่งแพทย์ให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่โรงพยาบาลกับที่ร้านยาคุณภาพ 2550. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2550;3: 249-61.
ชวนชม ธนานิธิศักดิ์, ศุจีรัตน์ ถาดี, สุพิชฌาย์ อังกาบสุวรรณ, เหม่ยเสียน พงศ์วิไลรัตน์ และคณะ. การสำรวจความต้องการช่องทางการเติมยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. วารสารเภสัชกรรมไทย 2561;3:504-14.
HDC datacenter สสจ.ขอนแก่น. ร้อยละผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตได้ดี [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 15 พ.ย. 2565] เข้าถึงได้จาก https://hdc.moph.go.th/kkn/public/standard-report-detail/2e3813337b6b5377c2f68affe247d5f9