ผลของการสอนตรวจเต้านมด้วยตนเองโดยวิดีโอสาธิตเปรียบเทียบกับการสอนโดยบุคคล แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา

Main Article Content

พัศรุจ ดาโรจน์
จีรภา กาญจนาพงศ์กุล
ชื่นฤทัย ยี่เขียน

บทคัดย่อ

ที่มา: มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดและมีอัตราการเสียชีวิตมากที่สุดในสตรีไทย จากคำแนะนำการคัดกรองมะเร็งเต้านมสำหรับประเทศไทยโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2555 แนะนำให้ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปทำการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยการตรวจเต้านมด้วยตนเอง


วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลของการสอนตรวจเต้านมด้วยตนเองระหว่างการสอนโดยวิดีโอสาธิตเทียบกับการสอนโดยบุคคล


แบบวิจัย: การศึกษาวิจัยแบบทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม


วิธีการ: ผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นสตรีอายุระหว่าง 20-65 ปี ที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ระหว่างกรกฎาคม พ.ศ. 2564 ถึง มิถุนายน พ.ศ. 2565 แบ่งผู้เข้าร่วมวิจัยจำนวน 40 คน เป็น 2 กลุ่มโดยวิธีการสุ่ม กลุ่มสอนโดยบุคคลได้รับการสอนตรวจเต้านมโดยบุคลากรทางการแพทย์ และกลุ่มวิดีโอสาธิตได้รับการสอนโดยชมวิดีโอสาธิตเรื่องการตรวจเต้านม ทั้งสองกลุ่มตอบคำถามประเมินความรู้ก่อนและหลังการอบรมโดยแบบวัดความรู้เกี่ยวกับการตรวจเต้านมด้วยตนเอง เก็บคะแนนการปฏิบัติด้านการตรวจเต้านมด้วยตนเองหลังการอบรมโดยแบบการประเมินการปฏิบัติการตรวจเต้านมด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Chi-Square Independent t-test และPaired t-test


ผลการศึกษา: คะแนนเฉลี่ยของความรู้หลังการสอนในกลุ่มการสอนโดยบุคคลและวิดีโอสาธิตเท่ากับ 9.05(SD 0.83) และ 8.09(SD 1.07) ตามลำดับ คะแนนเฉลี่ยของความรู้หลังการสอนไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.623) คะแนนเฉลี่ยของการปฏิบัติหลังการสอนในกลุ่มการสอนโดยบุคคลและวิดีโอสาธิตเท่ากับ 8.15(SD 0.59) และ 7.75(SD 1.12) ตามลำดับ คะแนนเฉลี่ยของการปฏิบัติหลังการสอนไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.165)


สรุป: การสอนตรวจเต้านมด้วยตนเองโดยวิดีโอสาธิตมีประสิทธิภาพไม่แตกต่างจากการสอนโดยบุคคล ทั้งในด้านความรู้และการปฏิบัติ วิดีโอสาธิตในการสอนเรื่องการตรวจเต้านมด้วยตนเองสามารถนำมาใช้แทนการสอนโดยบุคคลได้ มีความสะดวกและใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. ทะเบียนมะเร็งระดับประชากร[อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 20 ก.พ. 2564]เข้าถึงได้จาก: http://tcb.nci.go.th/CWEB/cwebBase.do?mode=initialApplication

โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี. สถิติโรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี.ชลบุรีกลุ่มงานดิจิทัลการแพทย์ :โรงพยาบาลชลบุรี;2019

Laoitthi P, Parinyanitikul N. Breast cancer: Epidemiology, prevention and screening recommendations. Chula Med J 2016 Sep - oct;60(5):497-507

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. ข้อเสนอแนะการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย. นนทบุรี: กรมแพทย์กระทรวงสาธารณสุข

Oeffinger KC, Fontham ET, Etzioni R, Herzig A, Michaelson JS, Shih YC, et al. Breast Cancer Screening for Women at Average Risk: 2015 Guideline Update From the American Cancer Society. JAMA 2015 Oct 20;314(15):1599-614

Therese B, Mark H, Ermelinda B, Kristine E, Mary B, William B, et al. Breast Cancer Screening and Diagnosis, Version 3.2018: NCCN Clinical Practice Guidelines in Oncology. Journal of the National Comprehensive Cancer Network J Natl Compr Canc Netw 2018;16(11):1362-89.

Siu AL. Screening for Breast Cancer: U.S. Preventive Services Task Force Recommendation Statement. Ann Intern Med. 2016 Feb 16;164(4):279-96.

Šašková P, Pavlišta D. Samovyšetření prsu. Ano, či ne .Breast self-examination : Yes or no?. Ceska Gynekol. 2016 Winter;81(6):463-9.

Bonsu AB, Ncama BP. Evidence of promoting prevention and the early detection of breast cancer among women, a hospital-based education and screening interventions in low- and middle-income countries: a systematic review protocol. Syst Rev. 2018 Dec 14;7(1):234.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. แนวทางการตรวจคัดกรอง วินิจฉัย และรักษามะเร็งเต้านม. นนทบุรี: กรมแพทย์กระทรวงสาธารณสุข; 2555

โครงการประเมินประสิทธิผลการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีไทย ภายใต้การสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จย่าต้านภัยมะเร็งเต้านม ในช่วงปีที่ผ่านมา.วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2560

Christensen L, Rasmussen CS, Benfield T, Franc JM. A Randomized Trial of Instructor-Led Training Versus Video Lesson in Training Health Care Providers in Proper Donning and Doffing of Personal Protective Equipment. Disaster Med Public Health Prep. 2020 Aug;14(4):514-20.

Herron EK, Powers K, Mullen L, Burkhart B. Effect of case study versus video simulation on nursing students' satisfaction, self-confidence, and knowledge: A quasi-experimental study. Nurse Educ Today. 2019 Aug;79:129-34.

Saiboon IM, Qamruddin RM, Jaafar JM, Bakar AA, Hamzah FA, Eng HS, Robertson CE. Effectiveness of teaching automated external defibrillators use using a traditional classroom instruction versus self-instruction video in non-critical care nurses. Saudi Med J. 2016 Apr;37(4):429-35.

Kenneth J, m.c. schraefel, Mikkel B, Lar L.Effect of video-based versus personalized instruction on errors during elastic tubing exercises for musculoskeletal pain : A randomized controlled trial.BioMed research international.2014 Mar 10;2014

Mohd Saiboon I, Jaafar MJ, Ahmad NS, Nasarudin NM, Mohamad N, Ahmad MR, Gilbert JH. Emergency Skills Learning on Video (ESLOV): a single-blinded randomized control trial of teaching common emergency skills using self-instruction video (SIV) versus traditional face-to-face (FTF) methods. Medical teacher. 2014 Mar 1;36(3):245-50.

เรวดี เพชรศิราสัณห์, นัยนา หนูนิล. ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการตรวจเต้านมด้วยตนเองสำหรับ สตรีวัยผู้ใหญ่. Ramathibodi Nursing Journal. 2010;16(1):54-69.

Paiboon M, Chardee K, Lekawanvised S, Pongpakatip S, Aphinives P. Promotion of Breast Self-Examination Behavior among Female Personnels of the Outpatient Department, Srinagarind Hospital. Srinagarind Medical Journal. 2013;28(1):115-9.

ปวณา ยนพันธ์, จุฬารักษ์ กวีวิวิธชัย, นรีมาลย์ นีละไพจิตร. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสื่อประสมเพื่อส่งเสริมการตรวจเต้านมด้วยตนเองในนักศึกษาสายอาชีพ; Computer-Mediated Multimedia Breast Self-Examination Programme for Vocational Students. Thai Journal of Nursing Council. 2017 Feb 24;31(4):91-103.

สายใหม ตุ้มวิจิตร, นาถสุดา โชติวัฒนากุลชัย, ฉวี มากพุ่ม, สุลี ทองวิเชียร. ผลของโปรแกรมพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ผ่านทางบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของนักศึกษาหญิงในระดับปริญญาตรี. Journal of Nursing Science Chulalongkorn University 2014;26:37-49

กันยา นันต๊ะแก้ว, แววดาว คำเขียว, ประกาย ดาวสุทธิ, อุไร วรรณสาสังข์. ผลของโปรแกรมการสนับสนุน และให้ความรู้ต่อความรู้และพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองในนิสิตพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยา. Thai Journal of Nursing Council. 2016 May 31;31(2):69-80.

สรารัตน์ ตระกูลรัมย์, จารุวรรณ ไตรทิพย์สมบัติ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของ สตรีอายุ 45-54 ปีในเขตชุมชนบ้านห้วยจรเข้ตำบลหินดาดอำเภอด่านขุนทดจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา. 2018 Sep 30;24(2):46-56.

วาสนา หลาบหนองแสง, อ.ดร.เขมิกา ยามะรัต.ปัจจัยที่มีผลต่อการตรวจเต้านมด้วยตนเองในสตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด.กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552

สำนักงานส่งเสริมสุขภาพกรมอนามัย.รายงานผลการประเมินพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีไทย ภายใต้โครงการสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จย่า ต้านภัยมะเร็งเต้านม ปี พ.ศ.2561.กรุงเทพ:กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ;2561