เปรียบเทียบประสิทธิผลระหว่างการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์กับการใช้สารสกัดฟ้าทะลายโจรรักษาผู้ป่วยโควิด 19 ในกลุ่มผู้ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย

Main Article Content

สุพรรษา ศักดิ์ระพี
อริศรา ศิริวิริยะกุล

บทคัดย่อ

ที่มาและวัตถุประสงค์: ผู้ป่วยโควิด 19 ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย การรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ตามแนวทางเวชปฏิบัติของไทยในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม 2564 ได้แนะนำให้ใช้สารสกัดฟ้าทะลายโจรและในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม 2564 ได้แนะนำให้ใช้ยาฟาวิพิราเวียร์เป็นยาหลักในการรักษา จึงศึกษาวิจัยเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการรักษาระหว่างยาทั้งสองในผู้ป่วยโควิด 19 กลุ่มนี้


รูปแบบวิจัย: การศึกษาแบบกลุ่มย้อนหลัง


วิธีการ: ผู้ป่วยโควิดกลุ่มไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อยจำนวน 398 คน ได้รับการรักษาด้วยสารสกัดฟ้าทะลายโจรหรือยาฟาวิพิราเวียร์อย่างใดอย่างหนึ่ง เปรียบเทียบอัตราการหายป่วยและอัตราการเปลี่ยนแปลงทางคลินิก


ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาฟาวิพิราเวียร์รักษาหายคิดเป็นร้อยละ 99.1 ในขณะที่ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยสารสกัดฟ้าทะลายโจรรักษาหายคิดเป็นร้อยละ 95.1 ผู้ป่วยที่ใช้ยาฟาวิพิราเวียร์รักษาหายมากกว่ากลุ่มที่ใช้สารสกัดฟ้าทะลายโจร 1.05 เท่า (P=0.38) โดยอัตราการรักษาหาย พิจารณาจากการกักตัวครบ 14 วันและเข้าเกณฑ์การจำหน่ายผู้ป่วยออกจากหอผู้ป่วยตามแนวทางเวชปฏิบัติของกระทรวงสาธารณสุข อัตราการเปลี่ยนแปลงอาการของผู้ป่วยในวันที่ 5 ในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน ยกเว้นอาการหายใจลำบาก กลุ่มที่ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์มีน้อยกว่ากลุ่มที่ได้สารสกัดฟ้าทะลายโจร 0.29 เท่า (P=0.025)


สรุป: ยาฟาวิพิราเวียร์และสารสกัดฟ้าทะลายโจรให้ผลการรักษาหายไม่ต่างกัน

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

World Health Organization. COVID-19 Clinical management: living guidance [Internet]. 2021[cited 20 July 2021]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/WHO-2019-nCoV-clinical-2021-1

ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฉบับที่ 571 ประจำวันที่ 27 กรกฎาคม 2564 [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 27 กรกฎาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/situation.php

สำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์. อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยการเฝ้าระวังการระบาดการกลายพันธ์ุเชื้อโควิด-19 พบสายพันธุ์เดลต้า 76 จังหวัดในประเทศไทยแล้ว ขณะที่ กทม.พบมากถึง 95.4% [อินเตอร์เน็ต]. 2564[เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://msto.dmsc.moph.go.th/login/showimgdetil.php?id=329

Furuta Y, Komeno T, Nakamira T. Favipiravir (T-705), A broad-spectrum inhibitor of viral RNA polymerase. Proceedings of the Japan Academy, Series B. 2017;93(7):449-463.

Fujii S, Ibe Y, Ishigo T, Inamura H, Kunimoto Y, Fujiya Y et al. Early favipiravir treatment was associated with early defervescence in non-severe COVID-19 patients. Journal of Infection and Chemotherapy. 2021;27(7):1051-1057.

Manabe T, Kambayashi D, Akatsu H, Kudo K. Favipiravir for the treatment of patients with COVID-19: a systematic review and meta-analysis. BMC Infectious Diseases. 2021;21(1).

Karatas E, Aksoy L, Ozaslan E. Association of Early Favipiravir Use with Reduced COVID-19 Fatality among Hospitalized Patients. Infection & Chemotherapy. 2021;53(2):300.

Cai Q, Yang M, Liu D, Chen J, Shu D, Xia J et al. Experimental Treatment with Favipiravir for COVID-19: An Open-Label Control Study. Engineering. 2020;6(10):1192-1198.

Madav S, Tripathi H, Tandan M. Analgesic, anti-pyretic and antiulcerogenic effect of andrographolide. [Internet]. 1995 [cited 1 August 2021]. Available from: https://academic.microsoft.com/paper/2264134889/citedby/search?q=Analgesic%2C%20Antipyretic%20And%20Antiulcerogenic%20Effects%20Of%20Andrographolide&qe=RId%253D2264134889&f=&orderBy=0

ดารารัตน์ รัตนรักษ์, รุจิรา เข็มเพชร, อุษณีย์ พูลวิวัฒนกูล, สิรีธร นิมิตวิไล, อรอนงค์ เหล่าตระกูล, ปิยะวรรณ ศรีมณี. ประสิทธิผลและความปลอดภัยของสารสกัดฟ้าทะลายโจรต่อการร่วมรักษา ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรงน้อย โรงพยาบาลนครปฐม. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2021;40(2).

อัมพร เบญจพลพิทักษ์, ขวัญชัย วิศิษฐานนท์, ธิติ แสวงธรรม, เทวัญ ธานีรัตน์, กุลธนิต วนรัตน์. รายงานสังเขปผลการใช้ยาฟ้าทะลายโจรในการรักษาผู้ป่วย Covid-19. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 2021;19(1):247-251.

คณะทำงานด้านการรักษาพยาบาลและการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ฉบับวันที่ 4 พฤษภาคม 2564 [อินเตอร์เน็ต]. 2564[เข้าถึงเมื่อ 1 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://dmsic.moph.go.th/index/detail/8613

คณะทำงานด้านการรักษาพยาบาลและการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ฉบับวันที่ 25 มิถุนายน 2564 [อินเตอร์เน็ต]. 2564[เข้าถึงเมื่อ 1 กรกฎาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://covid19.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=135

World Health Organization. Clinical management of covid 19 interim guidance May 2020 [Internet]. 2021[cited 10 December 2021]. Available from: https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/332196/WHO-2019-nCoV-clinical-2020.5-eng.pdf

คณะทำงานด้านการรักษาพยาบาลและการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ฉบับวันที่ 21 กรกฎาคม 2564 [อินเตอร์เน็ต]. 2564[เข้าถึงเมื่อ 1 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://covid19.dms.go.th/backend/Content/Content_File/Covid_Health/Attach/25640721115923AM_CPG_COVID_v.16.4.n.pdf

กรมการแพทย์. แนวทางปฏิบัติสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ในการให้คำแนะนำและการจัดการบริการผู้ป่วยโควิด-19 แบบ Home isolation ฉบับวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 [อินเตอร์เน็ต]. 2564[เข้าถึงเมื่อ 1 กรกฎาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://covid19.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=136

Bernard, Rosner. Fundamentals of biostatistics. 5 ed. Duxbury: Thomson learning; 2000.

Ratiani L, Pachkoria E, Mamageishvili N, Shengelia R, Hovhannisyan A, Panossian A. Efficacy of Kan Jang® in Patients with Mild COVID-19: Interim Analysis of a Randomized, Quadruple-Blind, Placebo-Controlled Trial. Pharmaceuticals 2022;15(8):1013.

Hassanipour S, Arab-Zozani M, Amani B, Heidarzad F, Fathalipour M, Martinez-De-Hoyo R. The efficacy and safety of Favipiravir in treatment of COVID-19: a systematic review and meta-analysis of clinical trials. Scientific Reports 2021;11(1).

Joshi S, Vora A, Venugopal K, Dadhich P, Daxini A, Bhagat S, et al.. Real-World Experience with Favipiravir for the Treatment of Mild-to-Moderate COVID-19 in India. Pragmatic and Observational Research 2022;Volume 13:33–41.

Sirijatuphat R, Manosuthi W, Niyomnaitham S, Owen A, Copeland KK, Charoenpong L, et al.. Early treatment of Favipiravir in COVID-19 patients without pneumonia: a multicentre, open-labelled, randomized control study. Emerging Microbes & Infections 2022;11(1):2197–206.

Rattanaumpawan P, Jirajariyavej S, Lerdlamyong K, Palavutitotai N, Saiyarin J. Real-world effectiveness and optimal dosage of favipiravir for treatment of COVID-19: Results from a Multicenter Observational Study in Thailand. Antibiotics. 2022;11(6):805.

Tabarsi P, Vahidi H, Saffaei A, Hashemian SMR, Jammati H, Daraei B, et al. Favipiravir Effects on the Control of Clinical Symptoms of Hospitalized COVID-19 Cases: An Experience with Iranian Formulated Dosage Form. Iran J Pharm Res. 2021;20(4).

Surapat B, Kobpetchyok W, Kiertiburanakul S, Arnuntasupakul V. Use of Favipiravir for the Treatment of Coronavirus Disease 2019 in the Setting of Hospitel. International Journal of Clinical Practice. International Journal of Clinical Practice; 2022;2022:1–8.