ภาวะหมดไฟในการทำงานและปัจจัยที่สัมพันธ์ของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ครอบครัว

Main Article Content

เกียรติภูมิ สายไทย
พรเพ็ญ อัครวัชรางกูร โก
ชื่นฤทัย ยี่เขียน

บทคัดย่อ

ที่มาและวัตถุประสงค์ ภาวะหมดไฟในการทำงาน หมายถึง การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจที่เกิดจากความเครียดเรื้อรังในการทำงาน ผู้จัดทำมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับของภาวะหมดไฟในการทำงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและแพทย์ประจำบ้าน


แบบวิจัย: เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ พรรณนาและอนุมาน ทำการศึกษาแบบภาคตัดขวาง


วัสดุและวิธีการ: เก็บข้อมูลเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน พ.ศ. 2565 โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงานและแบบวัดภาวะหมดไฟในการทำงาน Maslach Burnout Inventory  วิเคราะห์ข้อมูลเป็นร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องใช้โปรแกรม SPSS version 23 โดยวิธี Multivariate logistic regression model


ผลการศึกษา จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 128 คน พบว่าผู้ร่วมวิจัยส่วนใหญ่มีระดับภาวะหมดไฟด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ในระดับสูง จำนวน 80 คน (ร้อยละ 63.5) ด้านการลดค่าความเป็นบุคคลระดับปานกลาง จำนวน 45 คน (ร้อยละ 35.7) และด้านความสำเร็จส่วนบุคคลระดับสูงจำนวน 96 คน (ร้อยละ 76.2) โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ชั่วโมงการนอนต่อคืน และ สภาพแวดล้อมในการทำงาน


สรุป ผู้ร่วมวิจัยส่วนใหญ่มีระดับภาวะหมดไฟด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์อยู่ในระดับสูง ด้านการลดค่าความเป็นบุคคลในระดับปานกลาง ด้านความสำเร็จส่วนบุคคลในระดับสูง คิดเป็นความชุกภาวะหมดไฟในการทำงานจำนวน 3 คน

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

กมลพร วรรณฤทธิ์. ภาวะหมดไฟในการทำงาน: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล[อินเตอร์เน็ต]. 2562[เข้าถึงเมื่อ 14 มี.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1385.

WHO Departmental news. Burn-out an "occupational phenomenon": International Classification of Diseases[Internet].2019[Cited 17 Dec 2022]Available from: https://www.who.int/news/item/28-05-2019-burn-out-an-occupational-phenomenon-international-classification-of-diseases.

De Hert S. Burnout in healthcare workers: prevalence, impact and preventative strategies. Local Reg Anesth. 2020;13:171-83.

สายรัตน์ นกน้อย. ทิศทางการพัฒนาวิชาการเวชศาสตร์ครอบครัวในประเทศไทย. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว. 2565;5(2):83-92.

Agarwal SD, Pabo E, Rozenblum R, Sherritt KM. Professional Dissonance and Burnout in Primary Care: A Qualitative Study. JAMA Intern Med 2020;180(3):395-401.

นิตยาภรณ์ มงคล. ภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout syndrome): ห้องสมุดโรงพยาบาลศรีธัญญา กรมสุขภาพจิต[อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 14 มี.ค. 2564].เข้าถึงได้จาก: https://www.dmh.go.th/sty_lib/news/articles/view.asp?id=2270.

วรรณพร โรจนปัญญา, วิชช ธรรมปัญญา. ภาวะสภาพจิตใจและความเหนื่อยล้าในการทำงานของอาจารย์แพทย์และเรสสิเดนท์ในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. เชียงรายวรสาร. 2562;11(2):66-73.

ข้อมูลแพทย์ที่ได้รับหนังสืออนุมัติ-วุฒิบัตรจากแพทยสภา ปี พ.ศ. 2507-2563. [อินเตอร์เน็ต]. 2563[เข้าถึงเมื่อ 5 พ.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก https://tmc.or.th/pdf/ข้อมูลแพทย์ที่ได้รับหนังสืออนุมัติ-วุฒิบัตรจากแพทยสภา2563.pdf.

ประกาศราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย. ผลการสอบเพื่อหนังสืออนุมัตและวุฒิบัตรฯ สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว ประจำปี 2563. [อินเตอร์เน็ต]. 2563[เข้าถึงเมื่อ 12 ธ.ค. 2564] เข้าถึงได้จาก: https://thaifammed.org/wp-content/uploads/2020/09/ ประกาศผลสอบ 1.pdf.

Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educ Psychol Meas. 1970;30(3):607-10.

บุญเอื้อ โจว. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเหนื่อยหน่ายในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต] กรุงเทพมหานคร:วิทยาลัยแพทยศาสตร์และวชิรพยาบาล.; 2553.

Maslach C, Jackson SE. The measurement of experienced burnout. J Organ Behav. 1981;2(2):99-113.

วัลลภ วิชาญเจริญสุข. ภาวะหมดไฟในการทำงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้แทนยาบริษัทยาข้ามชาติ[วิทยานิพนธ์

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2557.

Kuder, G. F., & Richardson, M. W. The theory of the estimation of test reliability. Psychometrika,1937; 2(3), 151–160.

จามรี ณ บางช้าง. ความชุกและความสัมพันธ์กับภาวะเหนื่อยล้าในการทำงานของแพทย์ประจำบ้านโรงพยาบาลราชวิถี. กรุงเทพมหานคร: วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย.2562; 64(1): 61-76.

Maslach C, Jackson SE. Burnout in health professions: A social psychological analysis. 1st ed. Hillsdale: Psychology press;1982.

นครินทร์ ชุนงาม. สุขภาพจิตและภาวะหมดไฟในการทำงานของแพทย์ในโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดนครราชสีมา.วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย.2563;28(4):348-59.

Charoentanyarak A, Anothaisintawee T, Kanhasing R, Poonpetcharat P. Prevalence of Burnout and Associated Factors Among Family Medicine Residency in Thailand. J Med Educ Curric Dev. 2020;7:2382120520944920.

ศรันย์ ศรีคำ. ภาวะเหนื่อยล้าในการทำงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของแพทย์ประจำบ้านโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2557;2(59):139-50.

Rodrigues H, Cobucci R, Oliveira A, Cabral, J. V., Medeiros, L., Gurgel, K., Souza, T., & Gonçalves, A. K.

et al. Burnout syndrome among medical residents: A systematic review and meta-analysis. PLoS One. 2018;13(11):e0206840.

Alhaffar BA, Abbas G, Alhaffar AA. The prevalence of burnout syndrome among resident physicians in Syria. J Occup Med Toxicol 2019;14:31.

Wang J, Wang W, Laureys S. Burnout syndrome in healthcare professionals who care for patients with prolonged disorders of consciousness: a cross-sectional survey. BMC Health Serv Res 2020;841.