ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะเครียดในผู้ป่วยโควิดที่ได้รับการดูแลแบบกักตัวที่บ้าน

Main Article Content

ญาณิศา ศุภศิริสันต์
พชร พุ่มจันทร์

บทคัดย่อ

บทนำ: จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 หลายการศึกษาพบว่าผู้ป่วยโควิด-19 ที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาล มีผลกระทบทางสุขภาพจิตและมีภาวะเครียด ภายหลังมีการปรับเปลี่ยนโดยเพิ่มการรักษาแบบกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) ในผู้ป่วยที่มีอาการน้อยหรือไม่มีอาการ ผู้วิจัยจึงเห็นความสำคัญในการศึกษาความชุกของภาวะเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วย Home Isolation ในประเทศไทย 


วัตถุประสงค์: ศึกษาความชุกของภาวะเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ป่วยโควิด-19 ในหอผู้ป่วยกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) โรงพยาบาลวชิรพยาบาล 


รูปแบบวิจัย: Retrospective descriptive study


วิธีการศึกษา: ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลังผลการประเมิน ST5 และข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ในหอผู้ป่วย ตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม - 8 ตุลาคม 2564 จำนวน 508 คน 


ผลการศึกษา: ความชุกของผู้ป่วยที่มีความเครียดปานกลางและมากคิดเป็นร้อยละ 7.3 โดยส่วนใหญ่มีปัญหาการนอนร้อยละ 42.6 ข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ สถานภาพสมรส และโรคประจำตัว ไม่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของประชากรในการศึกษาครั้งนี้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ความกังวลของผู้ป่วยในสถานการณ์โควิด-19 มีความสัมพันธ์ต่อระดับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) โดยผู้ป่วยที่มีระดับความเครียดปานกลางและเครียดมากมีความกังวลเรื่องสุขภาพมากที่สุด ร้อยละ 48.6
สรุป: ความชุกของผู้ป่วยที่แยกกักตัวที่บ้านมีความเครียดปานกลางและมากมีจำนวนค่อนข้างน้อย ความกังวลของผู้ป่วยในสถานการณ์โควิด-19 มีความสัมพันธ์ต่อระดับความเครียด โดยส่วนใหญ่กังวลเรื่องสุขภาพ ควรมีการนำ ST5 มาเป็นเครื่องมือในการคัดกรองเบื้องต้น เนื่องจากผู้ป่วยประเมินด้วยตนเองได้ ทำให้บุคลากรตระหนักถึงภาวะความเครียดของผู้ป่วย สามารถค้นหาผู้ป่วยที่มีความเครียดสูงได้ทันท่วงทีโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีความกังวลเรื่องสุขภาพและมีปัญหาการนอน และรีบให้การรักษา

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

World health organization. Disease Outbreak News: COVID-19 - China[Internet]. 2020 [cited 2021 Nov 11] Available from: https://www.who.int/emergencies/disease-outbreak-news/item/2020-DON233

James Gallagher. Coronavirus declared global health emergency by WHO[Internet]. 2020 [cited 2021 Nov 11] Available from: https://www.bbc.com/news/world-51318246

World health organization. Disease Outbreak News: COVID-19 – Global[Internet]. 2020 [cited 2021 Nov 11] Available from: https://www.who.int/emergencies/disease-outbreak-news/item/2020-DON305

World health organization. Disease Outbreak News: Novel Coronavirus – Thailand[Internet]. 2020 [cited 2021 Nov 11] Available from: https://www.who.int/emergencies/disease-outbreak-news/item/2020-DON234

ศูนย์บริการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประจำวันที่ 21 สิงหาคม 2564[Internet]. 2021 [cited 2021 Nov 11] Available from: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/ situation/situation-no596-210864.pdf

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางปฏิบัติสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ในการให้คำแนะนำผู้ป่วยและการจัดบริการผู้ป่วยโควิด-19 แบบ Home Isolation ฉบับวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564[Internet]. 2021 [cited 2021 Nov 11] Available from: https://covid19.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=136

Warintip Sawangsri, Nantayoot Hasitawech, Chonticha Yamma, Nattapapon Rattanatrai, Dutsadee Juengsiragulwit. Prevalence of perceived stress and depression and their associated factors among COVID-19 patients in Bangkok. Journal of Mental Health of Thailand 2021;29(2):114-24

Henssler J, Stock F, van Bohemen J, Walter H, Heinz A, Brandt L. Mental health effects of infection containment strategies: quarantine and isolation-a systematic review and meta-analysis. Eur Arch Psychiatry Clin Neurosci. 2021 Mar;271(2):223-234.

Xiong J, Lipsitz O, Nasri F, Lui LMW, Gill H, Phan L, Chen-Li D, Iacobucci M, Ho R, Majeed A, McIntyre RS. Impact of COVID-19 pandemic on mental health in the general population: A systematic review. J Affect Disord. 2020 Dec 1;277:55-64.

Alimoradi Z, Broström A, Tsang HWH, Griffiths MD, Haghayegh S, Ohayon MM, Lin CY, Pakpour AH. Sleep problems during COVID-19 pandemic and its' association to psychological distress: A systematic review and meta-analysis. EClinicalMedicine. 2021 Jun; 36:100916.

Huang C, Huang L, Wang Y, et al. 6-month consequences of COVID-19 in patients discharged from hospital: a cohort study. The Lancet. 397. 10.1016/S0140-6736(20)32656-8.

TMGH-Global COVID-19 Collaborative. Perceived Stress of Quarantine and Isolation During COVID-19 Pandemic: A Global Survey. Front Psychiatry. 2021;12:656664.

Nkire N, Mrklas K, Hrabok M, et al. COVID-19 Pandemic: Demographic Predictors of Self-Isolation or Self-Quarantine and Impact of Isolation and Quarantine on Perceived Stress, Anxiety, and Depression. Front Psychiatry. 2021;12:553468.

Wijitraphan T. Prevalence and factors associated with stress and depression in COVID-19 pandemic among residents of Tung Seaw primacy care clinic, Sanpathong District, Chiang Mai Province. Journal of Mental Health of Thailand 021;29(1):12-21.