ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ของประชาชนเขตศูนย์แพทย์ชุมชนเมือง 2 โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

Chanut O-lantanasate

บทคัดย่อ

ที่มา: ความชุกของภาวะซึมเศร้าช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ในต่างประเทศแตกต่างจากประเทศไทยที่มีความชุกน้อยกว่ามาก จึงสนใจศึกษาเพื่อทราบขนาดของปัญหาปัจจุบัน และวางแผนในการดูแลต่อไป


วัตถุประสงค์: เพื่อทราบความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19


แบบวิจัย: เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง ในศูนย์แพทย์ชุมชน มีผู้เข้าร่วมจำนวน 367 คน ช่วงวันที่ 1 เมษายน ถึง 30 มิถุนายน 2565 ใช้เครื่องมือเป็นแบบประเมินภาวะซึมเศร้าด้วยแบบประเมิน 9 คำถาม (PHQ-9) วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Multiple Logistic Regression


ผลการศึกษา: ความชุกของภาวะซึมเศร้าเป็นร้อยละ 11.99 ปัจจัยที่สัมพันธ์ คือ รายจ่ายต่อเดือน 10,000 บาทขึ้นไป การมีหนี้สิน การออกกำลังกายในช่วงการระบาดโรคโควิด-19 การเป็นผู้ดูแลหลักในครอบครัว รวมถึงมีความกังวลในกรณีชุมชนมีผู้ติดเชื้อและมาตรการควบคุมการติดเชื้อของรัฐบาล


สรุป: การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 มีผลต่อความชุกของภาวะซึมเศร้า ควรมุ่งเน้นการคัดกรองและเฝ้าระวังภาวะซึมเศร้าในสถานการณ์ดังกล่าว

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Lu R, Zhao X, Li J, Niu P, Yang B, Wu H, et al. Genomic characterization and epidemiology of 2019 novel coronavirus: implications for virus origins and receptor binding. Lancet 2020; 395(10224):565-574.

United Nations. The Social Impact of COVID-19 [Internet]. 2020 [cited 2022 February 9]. Available from: https://www.un.org/development/desa/dspd/2020/04/social-impact-of-covid-19.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์ผู้ติดเชื้อ COVID-19 อัพเดทรายวัน. [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2565]. เข้าถึงได้จากจาก: https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard.

สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา. เกาะติดสถานการณ์ นครราชสีมา COVID-19. [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2565]. เข้าถึงได้จากจาก: https://covid-19.nakhonratchasima.go.th/frontpage.

คำสั่งจังหวัดนครราชสีมา. มาตรการในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) สำหรับพื้นที่ควบคุมของจังหวัดนครราชสีมา (ฉบับที่ 2). [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2565]. เข้าถึงได้จากจาก: https://covid-19.nakhonratchasima.go.th/files/com_announce/2022-01_c0952e98419cb6d.pdf.

Bäuerle A, Teufel M, Musche V, Weismüller B, Kohler H, Hetkamp M, et al. Increased generalized anxiety, depression and distress during the COVID-19 pandemic: a cross-sectional study in Germany. J Public Health (Oxf) 2020;42(4):672-678.

Shah SMA, Mohammad D, Qureshi MFH, Abbas MZ, Aleem S. Prevalence, psychological responses and associated correlates of depression, anxiety and stress in a global population, during the coronavirus disease (COVID-19) pandemic. Community Mental Health J 2021;57(1):101-110.

ธนาสิทธิ์ วิจิตราพันธ์. ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดและภาวะซึมเศร้าในสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19 ของประชาชนเขตคลินิกหมอครอบครัวบ้านทุ่งเสี้ยว อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2564; 29(1): 12-21.

วรินทิพย์ สว่างศรี, นันทยุทธ หะสิตะเวช, ชลธิชา แย้มมา, ณัฐปพน รัตนตรัย, ดุษฎี จึงศิรกุลวิทย์. ความชุกของการรับรู้ความเครียด ภาวะซึมเศร้า และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยโรคโควิด 19 เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2564; 29(2): 114-124.

สำนักส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต. แนวทางการใช้เครื่องมือด้านสุขภาพจิตสำหรับบุคลากรสาธารณสุข ในโรงพยาบาลชุมชน (คลินิกโรคเรื้อรัง) ฉบับปรับปรุง. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2558.

ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฉบับที่ 210วันที่ 31 กรกฎาคม 2563 เวลา 12.00 น. [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2565]. เข้าถึงได้จากจาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no210-310763.pdf.