รายงานสอบสวนการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และการควบคุมโรคด้วยมาตรการ Modified Bubble and Seal ณ ฟาร์มไก่ไข่แห่งหนึ่ง ในตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมา : การสอบสวนการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฟาร์มไก่ไข่แห่งหนึ่ง ในตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการสอบสวนโรค หลังจากพบผู้ป่วยคนแรกติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นพนักงานขับรถส่งสินค้าของฟาร์มไก่ไข่ เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างและออกนอกชุมชน
รายงานกรณีศึกษา : ฟาร์มไก่ไข่ มีพนักงานทั้งหมด 303 คน หลังพบผู้ป่วยคนแรก ค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก และติดตามผู้สัมผัส พบผู้ติดเชื้อทั้งหมด 211 คน เป็นพนักงานในฟาร์มไก่ไข่ 144 คน (ร้อยละ47.52 ของพนักงานทั้งหมด) มีการดำเนินการควบคุมโรคในรูปแบบ Modified Bubble and Seal ปรับให้เหมาะสมกับข้อจำกัดด้านระยะเวลา สถานที่ในการกักตัว และการดำเนินธุรกิจ สามารถควบคุมการระบาดได้โดยไม่พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม ใช้เวลา 1 เดือน จนไม่พบผู้ติดเชื้อในฟาร์มไก่ไข่แห่งนี้
สรุป: ฟาร์มไก่ไข่สามารถควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ การมีส่วนร่วมของหน่วยงานเครือข่ายในพื้นที่ การดำเนินมาตรการ Modified Bubble and Seal ที่มีการกำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร PCFM ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร PCFM ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร PCFM หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสาร PCFM ก่อนเท่านั้น
References
WHO. Coronavirus disease (COVID-19) questions and answers (general) Thai version [Internet]. 2021[cited 12 Sep 2021]. Available from: https://www.who.int/thailand/emergencies/novel-coronavirus-2019/q-a-on-covid-19/q-a-on-covid-19-general.
กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 [Internet]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 24 กรกฎาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no568-240764.pdf.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 [Internet]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 24 กรกฎาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.chiangmaihealth.go.th/cmpho_web/coronavirus_situation.php.
ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (Surveillance and Rapid Response Team : SRRT) อำเภอหางดง. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อำเภอหางดง. เชียงใหม่: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหางดง; 2564.
ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (Surveillance and Rapid Response Team : SRRT) อำเภอหางดง. รายงานคัดกรอง เฝ้าระวัง และสอบสวนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อำเภอหางดง กรณีฟาร์มไก่ไข่ ตำบลหนองควาย. เชียงใหม่: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหางดง; 2564.
กรมควบคุมโรค. นิยามผู้สงสัยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรค (Patient Under Investigation : PUI) วันที่ 15 เมษายน 2564 [Internet]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 24 กรกฎาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_srrt/g_srrt_170464.pdf.
กรมควบคุมโรค. แนวทางการควบคุมโรคโดยหลักการ Bubble and Seal [Internet]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 30 กรกฎาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://r8way.moph.go.th/r8wayadmin/page/uploads_file/20210709025424.pdf.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. รายงานสถานการณ์การนำระบบ Bubble and Seal มาใช้บริหารจัดการ ควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในเรือนจำกลางจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่; 2564.
สุปราณี ชุมจันทร, พัฒนาพร กลอมสุนทร, สุพรรณี กุลวงษ. การดําเนิน มาตรการปองกันควบคุมโรคในพื้นที่เฉพาะ (Bubble and Seal) ในสถานประกอบการ จังหวัดมุกดาหาร. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ. 2565 ; 3(3) : 122-123.
กระทรวงพาณิชย์. คู่มือและข้อเสนอแนะ แนวปฏิบัติสำหรับภาคเอกชนสำหรับสถานการณแพรระบาดของโควิด-19 และภัยพิบัติในอนาคต [Internet]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 13 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก:http://www.tpso.moc.go.th/sites/default/files/covid-19_handbook_thai.pdf