การประเมินผลการแยกโรคคอหอยอักเสบและทอนซิลอักเสบเฉียบพลันโดยใช้เครื่องมือทำนายโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อ Group A Streptococci ณ โรงพยาบาลบ้านบึง จังหวัดชลบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
ที่มา: เพื่อประเมินผลการใช้เครื่องมือทำนายโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อ Group A Streptococci (GAS) ได้แก่ McIsaac Modification of Centor Scoreสำหรับแยกโรคคอหอยอักเสบและทอนซิลอักเสบเฉียบพลัน
วัสดุและวิธีการ: เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนาในช่วงระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ที่โรงพยาบาลชุมชนบ้านบึง จ.ชลบุรี การศึกษารวบรวมข้อมูลลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยนอกที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคคอหอยอักเสบและทอนซิลอักเสบเฉียบพลันจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของโรงพยาบาล
ผลการศึกษา: จำนวนครั้งของผู้ป่วยนอกที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคคอหอยอักเสบและทอนซิลอักเสบเฉียบพลัน และผ่านเกณฑ์คัดเลือกผู้ป่วยที่กำหนดไว้ คือ 2,362 ครั้ง งานวิจัยใช้ตัวอย่าง 340 คน เมื่อใช้เครื่องมือ McIsaac Modification of Centor Score ประเมิน
ผู้ป่วยโดยกำหนดคะแนนการตัดสินใจสั่งใช้ยาปฏิชีวนะ คือ ≥4 แต้ม พบว่าจำนวนครั้งทีผู้ป่วยมีคะแนนถึงเกณฑ์การตัดสินการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะ คือ 1 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 0.29 และร้อยละ 82.14 ในการสั่งจ่ายชนิดยาปฏิชีวนะเป็นการใช้ยาปฏิชีวนะที่ถูกแนะนำให้ใช้ตามแนวทางการดูแลรักษาโรคนี้ ซึ่งได้แก่ amoxicillin, azithromycin และ roxithromycin แต่พบระยะเวลาการสั่งใช้ยาเหมาะสมร้อยละ 17.86
สรุป: โรงพยาบาลชุมชนที่เป็นสถานที่วิจัยเลือกใช้ชนิดของยาปฏิชีวนะส่วนใหญ่เป็นตามที่ถูกแนะนำให้ใช้ตามแนวทางการดูแลรักษาโรคคอหอยอักเสบและทอนซิลอักเสบเฉียบพลัน แต่ยังมีการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะไม่สอดคล้องตามคำแนะนำของแนวทางการรักษามาตรฐานในโรคทั้งในแง่ข้อบ่งใช้ยา และระยะเวลาการใช้ยา หากนำ The Centor or modified Mclsaac Score มาใช้จะสามารถลดการจ่ายยาปฏิชีวนะได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
คำสำคัญ: การแยกโรคคอหอยอักเสบเฉียบพลัน ทอนซิลอักเสบเฉียบพลัน เครื่องมือทำนายโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อ GAS
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร PCFM ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร PCFM ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร PCFM หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสาร PCFM ก่อนเท่านั้น
References
สำนักยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. แนวทางการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล. โรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจส่วนบนและอวัยวะใกล้เคียง ท้องร่วงเฉียบพลัน แผลเลือดออก [อินเทอร์เน็ต]. 2554 [เข้าถึงเมื่อ 22 ต.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://newsser.fda.moph.go.th/rumthai/userfiledownload/asu173dl.pdf
ปราชญา บุตรหงษ์, ระพีพรรณ ฉลองสุข. การเปรียบเทียบการใช้ยาอย่างสมเหตุผลระหว่างโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชและโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 22 ต.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/TBPS/article/view/237342/165664
Poowaruttanawiwit P, Srikwan R, Wannalerdsakun S. Review of an update on differential diagnosis between acute pharyngitis and tonsillitis. Thai Journal of Pharmacy Practice 2020;1:37-49.
Sykes EA, Wu V, Beyea MM, Simpson MTW, Beyea JA. Pharyngitis: Approach to diagnosis and treatment. Can Fam Physician. 2020;66:251-7.
Chayakul C, Jongtrakun P, Vananukul V. Rational drug use hospital manual. Bangkok: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand; 2015.
Thavornwattanayong W. Rational drug use in community pharmacy. RDU Pharmacy. Bangkok: Rational Drug Use in Community Pharmacy Academic; 2017.
Thamlikitkul V. Rational antibiotic use in bacterial infection in sub-district health promoting hospital manual. Bangkok: Thailand Antimicrobial Resistance Containment and Prevention Program; 2015.
National Institute for Health and Care Excellence (NICE). Sore throat (acute): Antimicrobial prescribing [Internet]. 2018 [cited 2021 Oct 24]. Available from: www.nice.org.uk/guidance/ng84
พรชนิตว์ หมื่นหน้า, ชาญกิจ พุฒิเลอพงศ์. การให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อในแผลจากสุนัขและแมวกัด/ข่วน. [อินเทอร์เน็ต]. วารสารเภสัชกรรมไทย ปีที่11 เล่มที่ 3. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 22 ต.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/171608/123244
สมาคมโรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤตในเด็ก ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย. โรคคออักเสบ/ทอนซิลอักเสบเฉียบพลัน. แนวทางการดูแลรักษา โรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็ก พ.ศ. 2562 [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 22 ต.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://thaipedlung.org/Media/media-20190624142216.pdf
Pelucchi C, Grigoryan L, Galeone C, Esposito S, Huovinen P, Little P, et al. Guideline for the management of acute sore throat. Clin Microbial Infect. 2012;18:1-27.
McIsaac WJ, White D, Tannenbaum D, Low DE. A clinical score to reduce unnecessary antibiotic use in patients with sore throat. CMAJ. 1998;158: 75-83.
Vasudevan J, Mannu A, Ganavi G. McIsaac Modification of Centor Score in Diagnosis of Streptococcal Pharyngitis and Antibiotic Sensitivity Pattern of Beta-hemolytic Streptococci in Chennai, India. Indian Pediatr. 2019;56:49-52.
Fine AM, Nizet V, Mandl KD. Large-scale validation of the Centor and McIsaac scores to predict group A streptococcal pharyngitis. Arch Intern Med. 2012;172:847-52.
Willis BH, Coomar D, Baragilly M. Comparison of Centor and McIsaac scores in primary care: a meta-analysis over multiple thresholds. Br J Gen Pract. 2020;70:245-54.
Greer RC, Intralawan D, Mukaka M, Wannapinij P,Day NPJ, Nedsuwan S, Lubell Y. Retrospective review of the management of acute infections and the indications for antibiotic prescription in primary care in northern Thailand. BMJ Open. 2018;8:e022250. PubMed PMID: 30061442
Ratanapornsompong K, Poowaruttanawiwit P, Rachapradit N, Srihirun J, Kosum T, Wannalerdsakun S. Developing a low-cost diagnostic device for differentiating between acute pharyngitis and acute tonsillitis in community pharmacy setting. Thai Journal of Pharmacy Practice. 2020;2:560-76.