การพัฒนาและความถูกต้องของเครื่องมือคัดกรองฉบับสั้นสำหรับภาระในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

Main Article Content

Pataweeporn Jabthaisong
พิภพ จิตรนำทรัพย์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


ที่มาและความสำคัญ: โรคหลอดเลือดสมอง เป็นสาเหตุหลักทำให้เกิดภาวะทุพลภาพ ผู้ดูแลอาจเกิดความรู้สึกเป็นภาระในการดูแล และภาวะเหนื่อยล้าจากการดูแลได้ การประเมินภาระในการดูแล และให้การดูแลผู้ดูแลอย่างเหมาะสม จะลดโอกาสการเกิดภาวะดังกล่าว ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ประเมินภาระในการดูแลที่ใช้แพร่หลาย คือ Zarit burden interview ฉบับ 22 ข้อ มีข้อจำกัดเรื่องการใช้เวลาประเมินพอสมควร และยังไม่พบการศึกษาการใช้เครื่องมือนี้ฉบับสั้นในการประเมินภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง


วัตถุประสงค์: เพื่อสร้างเครื่องมือคัดกรองภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและทดสอบคุณภาพเครื่องมือ


รูปแบบการวิจัย: การศึกษาเครื่องมือวินิจฉัย


วิธีการ: สร้างเครื่องมือคัดกรองจากการทบทวนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาระในการดูแลของผู้ดูแล และวิเคราะห์ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างของเครื่องมือคัดกรอง โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ หาจุดตัดคะแนน และทดสอบคุณภาพเครื่องมือ


ผลการศึกษา: ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 85 คน มีภาระในการดูแลร้อยละ 15.29 เครื่องมือคัดกรองที่สร้างขึ้นประกอบด้วย 3 ข้อคำถาม ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคของ เท่ากับ 0.800 จุดตัดคะแนนที่ 7 คะแนน มีค่าความไว ความจำเพาะ ค่าทำนายผลบวก ค่าทำนายผลลบ Likelihood ratios for positive test และ Likelihood ratios for negative test เท่ากับ ร้อยละ 69.2, ร้อยละ 69.4, ร้อยละ 29.0, ร้อยละ 92.6, 2.27 และ 0.78 ตามลำดับ


สรุป: เครื่องมือคัดกรองนี้สามารถคัดกรองได้เบื้องต้น แต่ยังต้องปรับปรุงเพื่อให้ได้เครื่องมือที่มีคุณภาพมากขึ้น


 

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

The top 10 causes of death [Internet]. [cited 2021 April 25]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/the-top-10-causes-of-death

Johnson CO, Nguyen M, Roth GA, Nichols E, Alam T, Abate D, et al. Global, regional, and national burden of stroke, 1990–2016: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2016. Lancet Neurol. 2019 May;18(5):439–58.

นิรชา ภูวธนารักษ์ พบ, ภัควีร์ นาคะวิโร พบ. ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกเป็นภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง Prevalence and Associated Factors of Caregiver Burden among Stroke Patients. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2563;1(10):1–11.

อรพรรณ ฟูมณีโชติ. การดูแลผู้ให้การดูแล. [อินเทอร์เน็ต]. 2560[เข้าถึงเมื่อ 21 ตุลาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก https://meded.psu.ac.th/binla/class04/388_441/Caring_of_the_Caregiver/index.html

Yu Y, Liu Z-W, Zhou W, Chen X-C, Zhang X-Y, Hu M, et al. Assessment of Burden Among Family Caregivers of Schizophrenia: Psychometric Testing for Short-Form Zarit Burden Interviews. Front Psychol. 2018;9:2539.

Whalen KJ, Buchholz SW. The reliability, validity and feasibility of tools used to screen for caregiver burden: a systematic review. JBI Libr Syst Rev. 2009;7(32):1373–430.

Pinyopornpanish K, Pinyopornpanish M, Wongpakaran N, Wongpakaran T, Soontornpun A, Kun P. Investigating psychometric properties of the Thai version of the Zarit Burden Interview using rasch model and confirmatory factor analysis. BMC Res Notes. 2020 Dec 1;13.

นฤมล สุดใจ. การคำนวณขนาดตัวอย่างสำหรับการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการตรวจวินิจฉัย. J Med Health Sci. 27(2):167–82.

Oliva-Moreno J, Peña-Longobardo LM, Mar J, Masjuan J, Soulard S, Gonzalez-Rojas N, et. al. Determinants of Informal Care, Burden, and Risk of Burnout in Caregivers of Stroke Survivors: The CONOCES Study. Stroke. 2018;49(1):140–6.

Oni O, Olagunju A, Okpataku C, Erinfolami A, Adeyemi J. Predictors of caregiver burden after stroke in Nigeria: Effect on psychosocial well-being. Indian J Psychiatry. 2019;61(5):457.

Zhu W, Jiang Y. Determinants of caregiver burden of patients with haemorrhagic stroke in China. Int J Nurs Pract. 2019 Apr;25(2):e12719.

Kruithof WJ, Post MWM, van Mierlo ML, van den Bos GAM, de Man-van Ginkel JM, Visser-Meily JMA. Caregiver burden and emotional problems in partners of stroke patients at two months and one year post-stroke: Determinants and prediction. Patient Educ Couns. 2016 Oct;99(10):1632–40.

ศรีนวล ชวศิริ, ธนากร ธนามี. ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกเป็นภาระของผู้ดูแลหลักของผู้ป่วยเด็กพิการ ในสาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟูเด็ก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. J Thai Rehabil Med. 2018;28(2):54–61.

ธนาสิทธิ์ วิจิตราพันธ์. ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา. 2559;6(1):56–62.

Wu C, Skidmore ER, Rodakowski J. Relationship Consensus and Caregiver Burden in Adults with Cognitive Impairments 6 Months Following Stroke. PM&R. 2019 Jun;11(6):597–603.

สาริกข์ พรหมมารัตน์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาระดูแลของผู้ดูแลผู้สูงอายุ อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 2016;12(1):57–64.

อารยา องค์เอี่ยม, พงศ์ธารา วิจิตเวชไพศาล. การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย.วิสัญญีสาร 2561;44(1):36-42.

ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ, รัชนี สรรเสริญ, วรรณรัตน์ ลาวัง. การพัฒนาแบบวัดภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 2011;4(1):62–75.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย, สภากายภาพบำบัด, สมาคมนักกิจกรรมบำบัด/อาชีวบำบัดแห่งประเทศไทย, สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Clinical Practice Guidelines for Stroke Rehabilitation). ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1. 2550. 56–57 p.

Swets JA. Measuring the accuracy of diagnostic systems. Science. 1988 Jun 3;240(4857):1285–93.