ความรู้และพฤติกรรมที่เหมาะสมของผู้มารับบริการ ณ หน่วยบริการปฐมภูมิ ต่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) ในจังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
หลักการและวัตถุประสงค์ : ปัจจุบันมีที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ไปทั่วโลก ทำให้มีผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจำนวนมาก กระทบทั้งด้านเศรษกิจ สังคม และสุขภาพ ดังนั้นการมีความรู้และมีพฤติกรรมที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะช่วยควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้ ทั้งนี้ ยังมีการศึกษาประเด็นดังกล่าวค่อนข้างน้อย ดังนั้น ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาความรู้และพฤติกรรมที่เหมาะสมต่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) ของผู้มารับบริการ ณ หน่วยบริการปฐมภูมิ ในจังหวัดขอนแก่น
แบบวิจัย : การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง
วิธีการศึกษา : คัดเลือกจากกลุ่มตัวอย่างผู้มารับบริการอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มารับบริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิสามเหลี่ยม ระหว่างวันที่ 1 กันยายน ถึง 30 พฤษจิกายน 2654 จำนวน 140 ราย เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามชนิดสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ Frequency, Percentage, 95%CI, Mean (Standard deviation), Chi-squared test และ Multiple logistic regression
ผลการศึกษา : ผู้ที่มารับบริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิสามเหลี่ยม จำนวน 140 คน พบว่ามีความรู้ที่ถูกต้องต่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) คิดเป็นร้อยละ 90.7 (95%CI 85.85-95.58) มีพฤติกรรมที่เหมาะสมคิดเป็นร้อยละ 56.4 (95%CI 48.11-64.74) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีความรู้ที่ถูกต้องต่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) ที่ถูกต้องอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ คือ การรับข้อมูลข่าวสารทางโทรทัศน์
สรุป : 9 ใน 10 ของผู้ที่มารับบริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิมีความรู้ที่ถูกต้องต่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) แต่เพียงครึ่งหนึ่งของผู้มารับบริการมีพฤติกรรมที่เหมาะสมต่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการมีความรู้ที่ถูกต้อง คือ การรับข้อมูลข่าวสารทางโทรทัศน์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร PCFM ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร PCFM ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร PCFM หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสาร PCFM ก่อนเท่านั้น
References
อมร ลีลารัศมี. เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อ COVID-19 จากเชื้อไวรัส SARS-CoV-2. 2019. p. 1–10.
วรรษมน จันทรเบญจกุล. การป้องกัน การติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019. กรุงเทพมหานคร; 2563.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์การระบาดของ Covid-19 ทั่วโลก [อินเทอร์เน็ต]. เข้าถึงเมื่อ May 20,2020, เข้าถึงได้จาก: https://ddcportal.ddc.moph.go.th/portal/apps/opsdashboard/index.html#/20f3466e075e45e5946aa87c96e8ad65
กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุข เพื่อการจัดการภาวะระบาดของโรคโควิด-19 ในข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1). นนทบุรี; 2563.
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.). วัคซีนโควิด -19. 2564. p. 1–34.
Zhong B-L, Luo W, Li H-M, Zhang Q-Q, Liu X-G, Li W-T, et al. Knowledge, attitudes, and practices towards COVID-19 among Chinese residents during the rapid rise period of the COVID-19 outbreak: a quick online cross-sectional survey. Int J Biol Sci [Internet]. cited May 26, 2020;16(10):1745–52. Available from: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/32226294
Clements JM. Knowledge and Behaviors Toward COVID-19 Among US Residents During the Early Days of the Pandemic: Cross-Sectional Online Questionnaire. JMIR public Heal Surveill [Internet]. cited May 26, 2020;6(2):e19161. Available from: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/32369759
Van Nhu H, Tuyet-Hanh TT, Van NTA, Linh TNQ, Tien TQ. Knowledge, Attitudes, and Practices of the Vietnamese as Key Factors in Controlling COVID-19. J Community Health [Internet]. cited May 26, 2020;45(6):1263–9. Available from: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/32894387
Mouchtouri VA, Agathagelidou E, Kofonikolas K, Rousou X, Dadouli K, Pinaka O, et al. Nationwide Survey in Greece about Knowledge, Risk Perceptions, and Preventive Behaviors for COVID-19 during the General Lockdown in April 2020. Int J Environ Res Public Health [Internet]. cited may 26, 2020;17(23). Available from: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/33260789
Glanz K. Health behavior: theory, research, and practice. K (Fifth ed) San Fr CA. 2015;
Janz NK BM. The Health Belief Model: a decade later. Heal Educ Q. 1984;11:1–47.
Rosenstock IM , Strecher VJ BM. Social learning theory and the Health Belief Model. Heal Educ Q. 1988;15:83–175.
แก้วใจบุญ ธกจ, ชัชวรัตน ท. ความรู้และพฤติกรรมของประชาชนเรื่องการป้องกันตนเอง จากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา. 2AD;2563:29–39.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 Coronavirus Disease 2019 (COVID-19). นนทบุรี; 2563.
กรมควบคุมโรค. แนวทางปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือโควิด 19 สำหรับประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง กรมควบคุมโรค. นนทบุรี; 2564.
Luo Y-F, Chen L-C, Yang S-C, Hong S. Knowledge, Attitude, and Practice (KAP) toward COVID-19 Pandemic among the Public in Taiwan: A Cross-Sectional Study. Int J Environ Res Public Health [Internet]. cited Feb 27, 2022;19(5):2784. Available from: https://www.mdpi.com/1660-4601/19/5/2784
ณัฎฐวรรณ คําแสน. ความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19ของประชาชนในเขตอําเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. 2564;1.
ดรัญชนก พันธ์สุมา. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโควิด 19 ของประชาชนในตำบลปรุใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครรา. ศรีนคริทร์เวชสาร. 2564;36:594–604.
Singh PK, Anvikar A, Sinha A. COVID-19 related knowledge, attitudes, and practices in Indian Population: An online national cross-sectional survey. Farrukh MJ, editor. PLoS One [Internet]. cited March 3, 2022;17(3):e0264752. Available from: https://dx.plos.org/10.1371/journal.pone.0264752
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. สำรวจพฤติกรรมการรับชมสื่อเคลื่อนไหวของคนไทย ปี พ.ศ.2562 [อินเทอร์เน็ต]. เข้าถึงเมื่อ March 4, 2022, เข้าถึงได้จาก: https://www.tvdigitalwatch.com/news-nbct-19-11-62/
เพ็ญศรี หงษ์พานิช. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด -19 ของประชาชนจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค. 2564;7.