ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อความล่าช้าในการมาโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันในโรงพยาบาลพาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมา: โรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันเป็นโรคที่พบได้บ่อย และเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลก เนื่องจากเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเสียชีวิตและทุพพลภาพ และพบว่ามีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจำนวนมากขึ้นในทุก ๆ ปี โดยการรักษาโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันให้เกิดประโยชน์สูงสุดผู้ป่วยในเขตอำเภอพานจำเป็นจะต้องมาถึงโรงพยาบาลพานภายในระยะเวลา 3.5 ชั่วโมงนับตั้งแต่เริ่มมีอาการ เพื่อให้มีโอกาสได้รับการพิจารณาให้ยาสลายลิ่มเลือดในกรณีที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบ ซึ่งพบว่าผู้ป่วยในเขตอำเภอพานจำนวนมากกว่าครึ่งมาถึงโรงพยาบาลช้ากว่าระยะเวลาดังกล่าวและเสียโอกาสนี้ไป
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับความล่าช้าในการมาโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันในโรงพยาบาลพาน
วิธีการศึกษา: ศึกษาแบบภาคตัดขวางในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันที่มาที่โรงพยาบาลพานและได้รับการส่งตัวไปเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยรักษาที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ โดยการสืบค้นข้อมูลจากเวชระเบียนย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2564 ถึงวันที่ 1 มกราคม 2565 นำมาวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความล่าช้าในการมาถึงโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันด้วยวิธีการ univariate logistic regression และ multivariate logistic regresstion แสดงผลเป็น odds ratio, 95% confidence interval และ p-value
ผลการศึกษา: จากการศึกษาประชากรกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,791 รายพบว่าผู้ป่วยที่มาถึงโรงพยาบาลได้ภายในระยะเวลา 3.5 ชั่วโมงนับตั้งแต่เริ่มมีอาการมีจำนวนเพียง 653 ราย (36.5%) และมีผู้ป่วยที่เรียกใช้บริการรถฉุกเฉินในการมาโรงพยาบาลเพียง 137 ราย (7.6%) เท่านั้น จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความล่าช้าของการมาโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ การไม่ใช้บริการรถฉุกเฉิน (OR 1.73, p 0.038) การเกิดอาการระหว่างช่วงเวลา 00.01น.ถึง 04.00น. (OR 6.67, p <0.001) การไม่ทราบช่วงเวลาที่เกิดอาการอย่างชัดเจน (OR 47.60, p <0.001) การมาโรงพยาบาลด้วยอาการชัก (OR 0.20, p <0.001) การมาโรงพยาบาลด้วยอาการซึม หรือหมดสติ (OR 0.60, p 0.058) ระดับความรู้สึกตัว (OR 1.10, p 0.008) ผลวินิจฉัยสุดท้ายเป็นโรคหลอดเลือดสมองแตก (OR 0.52, p 0.001) และโรคหลอดเลือดสมองตีบชั่วคราว (OR 0.39, p 0.005)
สรุปผล: ผู้ป่วยจำนวนมากต้องเสียโอกาสในการพิจารณารับยาสลายลิ่มเลือดจากการมาถึงโรงพยาบาลล่าช้ากว่ากำหนดระยะเวลา ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับความล่าช้านี้ ส่วนหนึ่งเป็นปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ ได้แก่ การดื่มสุรา การใช้บริการรถฉุกเฉินให้มากขึ้น การจัดโครงการอบรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเพื่อสร้างความตระหนักและกระตุ้นให้ผู้ป่วยที่มีอาการฉุกเฉินเรียกใช้บริการรถฉุกเฉินให้มากยิ่งขึ้นอาจช่วยให้ผู้ป่วยที่เกิดอาการของโรคหลอดเลือดสมองสามารถมาถึงโรงพยาบาลได้ทันเวลามากยิ่งขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร PCFM ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร PCFM ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร PCFM หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสาร PCFM ก่อนเท่านั้น
References
World Stroke Organization. World Stroke Organization (WSO) annual report 2019 [Internet]. 2019 [cited 2020 Sep 15]. Available from: https://www.world-stroke.org/assets/downloads/WSO_2019_Annual_Report_online.pdf
กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. จำนวนและอัตราผู้ป่วยใน ปี 2559 - 2561 (ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, หลอดเลือดหัวใจ, หลอดเลือดสมอง, COPD) ต่อประชากรแสนคน 100,000 คน (รวมทุกการวินิจฉัยโรค) จำแนกรายจังหวัด เขตบริการสุขภาพ และภาพรวมประเทศ (รวมกรุงเทพมหานคร) [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 15 ก.ย. 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/document/file/info/non-communicable-disease/%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84NCDs2559-2561.xlsx
ทัศนีย์ ตันติฤทธิศักดิ์, บรรณาธิการ. แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันสำหรับแพทย์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: หจก. จีซัคเซสพริ้นติ้ง; 2555.
Powers WJ, Rabinstein AA, Ackerson T, Adeoye OM, Bambakidis NC, Becker K, et al. 2018 Guidelines for the early management of patients with acute ischemic stroke: a guideline for healthcare professionals from the American heart association/American stroke association. Stroke 2018;49:e46-e99. doi: 10.1161/STR.0000000000000158.
Lacy CR, Suh DC, Bueno M, Kostis JB. Delay in presentation and evaluation for acute stroke. Stroke 2001;32:65-69. doi: 10.1161/01.STR.32.1.63.
Ashraf VV, Maneesh M, Praveenkumar R, Saifudheen K, Girija AS. Factors delaying hospital arrival of patients with acute stroke. Ann Indian Acad Neurol 2015;18(2):162–166. PMID: 26019412. doi: 10.4103/0972-2327.150627.
Arulprakash N, Umaiorubahan M. Causes of delayed arrival with acute ischemic stroke beyond the window period of thrombolysis. J Family Med Prim Care 2018;7(6):1248–1252. PMID: 30613505. doi: 10.4103/jfmpc.jfmpc_122_18.
ปิยนุช รักชื่อ, สิริกัลยา พูลผล. ปัจจัยที่มีผลต่อความล่าช้าก่อนถึงโรงพยาบาลในผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันในโรงพยาบาลราชวิถี. J Thai Stroke Soc. 2562;18(1):5-13.
ธภัทร หวานณรงค์, สงคราม โชติกอนุชิต, ยงชัย นิละนนท์. การศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อระยะเวลาในการมาโรงพยาบาลในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน. J Med Assoc Thai 2562;102(5):1-7.
ศรัทธาวุธ วงษ์เวียงจันทร์, จุฬาลักษณ์ โกมลตรี, นิพนธ์ พวงวรินทร์, ยงชัย นิละนนท์. ความตระหนักรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมองและปัจจัยที่ส่งผลต่อระยะเวลาของการมารับการรักษาที่โรงพยาบาล การศึกษาแบบไปข้างหน้า. J Med Assoc Thai 2015;98(3):260-4.
Haki C, Cetiner M, Kaya H. Factors affecting the arrival time to hospital of patients with acute ischemic stroke. Sanamed 2020;15(2):145-51. doi: 10.24125/sanamed.v15i2.419.
Memis S, Tugrul E, Evci ED, Ergin F. Multiple causes for delay in arrival at hospital in acute stroke patients in Aydin, Turkey. BMC Neurol 2008;8:15. doi:10.1186/1471-2377-8-15.
Al Khathaami AM, Mohammad YO, Alibrahim FS, Jradi HA. Factors associated with late arrival of acute stroke patients to emergency department in Saudi Arabia. SAGE Open Med . 2018;6:2050312118776719. PMID: 29844910. doi:10.1177/2050312118776719.
Iyer R. Prevalence and reasons for pre-hospital delay after acute ischemic stroke: data from a single tertiary care centre in Coimbatore, South India. Neurology 2020;94(15):406.
Smith MA, Doliszny KM, Shahar E, McGovern PG, Arnett DK, Luepker RV. Delayed hospital arrival for acute stroke: the Minnesota stroke survey. Ann Intern Med 1998;129(3):190-6. doi:10.7326/0003-4819-129-3-199808010-00005.
Sobral S, Taveira I, Seixas R, Vicente AC, Duarte J, Goes AT, et al. Late hospital arrival for thrombolysis after stroke in Southern Portugal: who is at risk? . J Stroke Cerebrovasc Dis 2019;28(4):900-5. doi:10.1016/j.jstrokecerebrovasdis.2018.12.009.
Khalema D, Goldstein LN, Lucas S. A retrospective analysis of time delays in patients presenting with stroke to an academic emergency department. S Afr J radiol 2018;22:1. doi:10.4102/sajr.v22i1.1319.
Salisbury HR, Banks BJ, Footitt DR, Winner SJ, Reynolds DJM. Delay in presentation of patients with acute stroke to hospital in Oxford. Q J Med 1998;91:635-40. doi:10.1093/qjmed/91.9.635.
Rossnagel K, Jungehülsing GJ, Nolte CH, Müller-Nordhorn J, Roll S, Wegscheider K, et al. Ann Emerg Med 2004;44(5):476-83. doi:10.1016/j.annemergmed.2004.06.019.
Song D, Tanaka E, Lee K, Sato S, Koga M, Kim YD, et al. Factors associated with early hospital arrival in patients with acute ischemic stroke. J Stroke 2015;17(2):159-167. doi:10.5853/jos.2015.17.2.159.
Kim YS, Park SS, Bae HJ, Cho AH, Cho YJ, Han MK, et al. Stroke awareness decreases prehospital delay after acute ischemic stroke in Korea. BMC Neurol 2011;11:2. doi:10.1186/1471-2377-11-2.
Hewedi KM, Mohamed MEDT, Sleem MAYA. Pre hospital and hospital delays after the onset of acute ischemic stroke in a sample of Egyptian patients. Al-Azhar Med J 2019;48(4):311-22. doi: 10.12816/amj.2019.64940.