ความชุกและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีอาการข้อเข่าเสื่อมที่มารับบริการที่หน่วยปฐมภูมิสามเหลี่ยม จังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
ที่มา: โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคที่เป็นปัญหาสำคัญในปัจจุบัน แม้ว่าจะไม่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตแต่เป็นโรคที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันและส่งผลต่อคุณภาพชีวิต เป็นโรคที่มักถูกละเลยการดูแลรักษาเพราะคิดว่าเป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมตามธรรมชาติ และยังไม่มีการคัดกรองข้อเข่าเสื่อมอย่างทั่วถึง ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาความชุกและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีอาการข้อเข่าเสื่อมที่มารับบริการที่หน่วยปฐมภูมิสามเหลี่ยม จังหวัดขอนแก่น เพื่อนำผลการศึกษาไปใช้ในการเฝ้าระวัง ค้นหาแนวทางการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุต่อไป
แบบวิจัย : การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (cross-sectional descriptive study)
วัสดุและวิธีการ: คัดเลือกจากกลุ่มตัวอย่างผู้ที่อายุ 60 ปี ขึ้นไป ที่มารับบริการที่หน่วยปฐมภูมิสามเหลี่ยม จังหวัดขอนแก่น ในช่วงเดือน ตุลาคม ถึงเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 จำนวน 280 ราย เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม มีองค์ประกอบทั้งหมด 3 ส่วน คือ 1) ข้อมูลทั่วไปและความเสี่ยงด้านสุขภาพ 2) แบบประเมินความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม (Oxford Knee Score) 3) แบบสอบถามคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ EQ-5D-5L วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ frequency, percentage, 95%CI, mean (standard deviation), Pearson chi square, odds ratio, multivariable logistic regression analysis
ผลการศึกษา: พบความชุกของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ เท่ากับร้อยละ 38.6 (95%CI 32.83-44.31) และคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ พบว่ากลุ่มที่ไม่พบอาการผิดปกติของโรคข้อเข่าเสื่อมมีค่าเฉลี่ยอรรถประโยชน์และค่าเฉลี่ยสภาวะสุขภาพทางตรงสูงกว่ากลุ่มที่มีอาการข้อเข่าเสื่อมในระดับต่าง ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความเสี่ยงข้อเข่าเสื่อมในกลุ่มผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ปัจจัยด้านเพศ อายุ การมีโรคประจำตัว ประวัติการบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า ประวัติโรคข้อเข่าเสื่อมในครอบครัวและการออกกำลังกายหรือบริหารข้อเข่า
สรุป: อัตราความชุกของข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุพบได้ 1 ใน 3 ของผู้ที่มารับบริการที่หน่วยปฐมภูมิสามเหลี่ยม จังหวัดขอนแก่น และคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพมีแนวโน้มลดลงตามระดับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงควรให้ความสำคัญในการค้นหาแนวทางการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมในกลุ่มผู้สูงอายุต่อไป
คำสำคัญ: โรคข้อเข่าเสื่อม ความชุก ผู้สูงอายุ คุณภาพชีวิต
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร PCFM ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร PCFM ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร PCFM หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสาร PCFM ก่อนเท่านั้น
References
สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม (Guideline for the Treatment of Osteoarthritis of Knee). 2553.
พัทธนันท์ คงทอง. ความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน และระดับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมของผู้สูงอายุ: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนช้าง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา. 2560;9:120-8.
Muraki S, Akune T, Oka H, En-yo Y, Yoshida M, Saika A, et al. Association of radiographic and symptomatic knee osteoarthritis with health-related quality of life in a population-based cohort study in Japan: the ROAD study. Osteoarthritis Cartilage. 2010; 18:1227-34.
ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย. แนวปฏิบัติบริการสาธารณสุข โรคข้อเข่าเสื่อม พ.ศ. 2554 [อินเทอร์เน็ต]. 2554 [เข้าถึงเมื่อ 1 มี.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.rcost.or.th/th/
กลุ่มอนามัยผู้สูงอายุ สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. รายงานการสำรวจสุขภาวะ ผู้สูงอายุไทย ปี 2556 ภายใต้แผนงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ. กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พ.; 2556.
สำนักอนามัยผู้สูงอายุ. รายงานประจำปี 2563 สำนักอนามัยผู้สูงอายุ [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 1 มี.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://eh.anamai.moph.go.th/th/anniversary-report
Artsanthia J, Pomthong R. The trend of Elderly Care in 21st Century Challenging in Nursing Care. Journal of The Royal Thai Army Nurses. 2018;19:39-46.
Koedwan C, Bun In J, Teerasombut C, Kuptniratsaikul V. The prevalence of knee OA in community-based elders. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health. 2020;7:227-39.
Thessingha C, Chaiwong C, Onthaisong CN, Intolo S. The Prevalence and Risk Factors of Knee Osteoarthritis among the Elderly in Northeast Thailand. Journal of Boromrajonani College of Nursing,Surin. 2020;10):80-90.
Nimit-arnun N. The Epidemiological Situation and Risk Assessment of Knee Osteoarthritis among Thai People. Journal of the Royal Thai Army Nurses. 2014;15:185-94.
Charoencholvanich K, Pongcharoen B. Oxford knee score and SF-36: translation & reliability for use with total knee arthroscopy patients in Thailand. J Med Assoc Thai. 2005;88:1194-202. PMID: 16536104.
จันทนา พัฒนเภสัช, มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์. แบบสอบถาม EQ-5D-5L ฉบับภาษาไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 1 มี.ค 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hitap.net/wp-content/uploads/2014/11/Thai5L_brief_Aug2017.pdf
Devlin NJ, Brooks R. EQ-5D and the EuroQol Group: Past, Present and Future. Appl Health Econ Health Policy. 2017;15:127-37.
Pattanaphesaj J. Health-Related Quality of Life Measure (EQ-5D-5L): Measurement Property Testing and Its Preference-Based Score in Thai Population. 2014.
Shane Anderson A, Loeser RF. Why is osteoarthritis an age-related disease? Best Pract Res Clin Rheumatol. 2010;24:15-26.
Woradet S, Chaimay B, Songmoung N, Sukrat W. Prevalence and factors associated with risk of osteoarthritis among elderly people in Pa Phayom District of Phatthalung Province. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health. 2020;7:227-39.
Bosittipichet T. Prevalence of knee osteoarthritis in Elderly in Family Practice Center, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. Journal of Preventive Medicine Association of Thailand, 2017;7:1-10.
Hall J, Laslett LL, Martel-Pelletier J, Pelletier JP, Abram F, Ding CH, Cicuttini FM, Jones G. Change in knee structure and change in tibiofemoral joint space width: a five year longitudinal population-based study. BMC Musculoskelet Disord. 2016 14;17:25. PubMed PMID: 26767503
สุวรรณี สร้อยสงค์, อังคณา เรือนก้อน, ภัณฑิรชา เฟื่องทอง, ผุสดี สระทอง. การพยาบาลผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2562;33:197-210.